ผลการทำรายงานการเรียนรู้ จาก Best practice ฉบับที่ 1 บทเรียนที่ได้จากการอ่าน “สวรรค์เมืองปาย”


นักศึกษาส่วนใหญ่ สรุปประเด็นได้ชัดเจน ได้คะแนนเต็ม (5 คะแนน สำหรับ 1 รายงาน) เกินครึ่งของนักศึกษาที่เข้าเรียน

 

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2550  ผมได้เริ่มสอนวิชา

การจัดการทรัพยากรที่ดินแบบบูรณาการ

ซึ่งได้เปิดประเด็น ปรับเปลี่ยนแผนการสอนให้สอดคล้องกับความถนัดและความต้องการ และการเรียนรู้ของนักศึกษา

 จากผลการประเมินการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่แล้วว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ผมมีเอกสารประกอบการสอนอยู่ใน Internet Gotoknow

ที่ผมได้มอบหมายให้ไปอ่านเป็นเรื่องๆ ทั้งเชิงวิชาการ และเชิงสรุปบทเรียนที่เกิดขึ้นในห้องเรียน และเกิดขึ้นจากการค้นคว้าทางวิชาการ ซึ่งผมนำข้อมูลดังกล่าวขึ้นบันทึกใน Gotoknow ทุกวัน

โดยคาดหวังว่า นักศึกษาจะเข้าไปอ่านและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบันทึกของผม และแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ และนักวิชาการท่านอื่นๆ ที่เข้ามาแสดงความเห็นไว้ ในบันทึกประจำวันที่ผมเขียนไว้  

ปรากฏว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เข้าไปอ่าน Gotoknow แต่ผมก็ไม่ได้กำหนดคาดคั้นให้ทำรายงานส่งตามเอกสารที่เขียนไว้

ซึ่งทำให้กระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาไม่ทันกับกระบวนการสอนที่ต้องเป็นไปตามเวลา

 ดังนั้น เมื่อประเมินผลการเรียนการสอน ผมได้ทราบว่า

นักศึกษาไม่อ่านเอกสารและประเมินผลว่าไม่มีเอกสารให้อ่าน

ทำให้ผมประหลาดใจมาก 

ในภาคการศึกษานี้

จึงผมจึงกำหนดให้นักศึกษาเข้าไปอ่าน และวิจารณ์บันทึกที่เขียนไว้เป็นเรื่องๆ

เป็นเบื้องต้น

และคาดหวังว่า เมื่อนักศึกษาเข้าไปอ่านแล้ว ก็จะต่อยอดถึงการอ่านบันทึกอื่นๆ ของนักวิชาการท่านอื่น ๆ หรือบันทึกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่ผมเขียนไว้ก่อนหน้านี้

 

ดังนั้น ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2550

ผมได้ให้การบ้านนักศึกษาไปอ่านเรื่อง สวรรค์เมืองปาย (Utopia Utopai)

 

ในมุมมองของการจัดการทรัพยากร ที่ดิน และสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

 

ปรากฏผลว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ สรุปประเด็นได้ชัดเจน ได้คะแนนเต็ม (5 คะแนน สำหรับ 1 รายงาน) เกินครึ่งของนักศึกษาที่เข้าเรียน

มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังไม่แสดงผลการเรียนรู้ที่ชัดเจนนัก

 

สำหรับคนที่ทำคะแนนได้อย่างโดดเด่น แต่ก็ไม่สามารถให้คะแนนเต็มได้ แบบ TOP 20 คือ

1.     นายอนุวัฒน์  เจิมปรุ 

2.     นางสาวสุภาภรณ์  อารีย์เอื้อ  

3.     นางสาวขนิษฐา  ดำรงชาติ

4.     นายวรวุฒิ  พลวงค์ษา 

5.     นางสาวสุนารี  ผางน้ำคำ    

6.     นายสมชาย  ไชยบุตร  

7.     นางสาวกรรณิการ์  สิงห์จันทร์

8.     นางสาวสาวิตรี  หาญเสนา

9.     นางสาวดวงตา  สันขุนทด

10. นางสาวฉัตรแก้ว  เอี่ยมเอ็ม

11. นางสาวนาจรีย์  วิลัยปาน

12. นางสาวขนิษฐา  ดำรงชาติ

13. นางสาวนงนุช  แสงหิน

14. นายจักรพรรณ  บุดทะสุ

15. นายอาทิตย์  ถามูลเรศ

16. นางสาวภิญญาพร  จันทร์ลอย

17. นางสาวอรนุช  เดียมขุนทด

18. นางสาวนาตยา  อาญาเมือง

19. นายทินกร  ดอนเตาเหล็ก

20. นางสาวกอบแก้ว  สิงหเนตรวัฒน์ 

 

และอีกจำนวนไม่ต่ำกว่า 50 คน

ที่แสดงถึงประเด็นการเรียนรู้ที่ชัดเจน และถ้าเป็นผลการสอบขั้นสุดท้าย น่าจะได้ A ทั้งหมด 

และในกรณีของ นางสาวรุ่งฤดี  เนาว์โนนทอง  นั้น ตั้งใจเขียนมากเกินไป ซึ่งถ้าทำข้อสอบไล่ ในเวลาที่กำหนด อาจทำข้อสอบไม่ทัน

จึงขอสะกิดไว้ว่า ให้เขียนสรุปสั้น ๆ กระชับ และเข้าใจง่าย ในคราวต่อไปซึ่งมีผลคะแนนดังนี้ 

ผู้ลงทะเบียน  163                

คนผู้ส่งรายงานทั้งหมด     144   คน  

ได้  5  คะแนน จำนวน 138 คน 

 ได้  4  คะแนน จำนวน  5  คน 

ได้  3  คะแนน จำนวน  1  คน

ได้  0  คะแนน  (ขาดส่งรายงาน)   19     คน
 

จึงขอชื่นชมกับผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชานี้

 

สำหรับผู้ที่ได้คะแนนต่ำกว่า 5 ก็ขอให้ปรับปรุงตัวเองอีกเล็กน้อย ก็คงจะได้ 5 เช่นกัน

 แต่สำหรับผู้ที่ไม่ส่งรายงาน

ก็ขอเตือนว่า นอกจากจะเสีย 10% จากคะแนนเต็มแล้ว

ท่านก็ยังอาจจะทำข้อสอบไม่ได้อีกต่างหาก

และผมขอแจ้งล่วงหน้าไว้ว่า จะไม่มีการอะลุ่มอล่วยกับนักศึกษาดังกล่าวในช่วงปลายภาคเรียนแต่อย่างใด 

จึงแจ้งมาเพื่อทราบ

สำหรับรายงานฉบับที่ ๒ การจัดน้ำในพื้นที่เมิองปาย ที่จะต้องส่งก่อนเข้าเรียน ในวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

ถ้าท่านอ่านเรื่องใด กรุณาจดบันทึกหมายลำดับที่ท่านอ่าน (ปรากฏที่มุมขวาของทุกบันทึก เช่น อ่าน: 231 แปลว่า ท่านเป็นผู้อ่านลำดับที่ 231 ที่จะต้องเขียนกำกับไว้ในทุกรายงาน ) เพื่อเป็นการยึนยันหลักฐานการอ่านของท่านในบันทึกต่างๆ

แต่ผมก็จะตามท่านทางระบบ internet ได้อีกทางหนึ่ง

จึงขอแจ้งมา ณ ที่นี้ ครับ

หมายเลขบันทึก: 145072เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

กระบวนการน่าสนใจดีมากครับท่านอาจารย์

ผมกำลังออกแบบการเรียนรู้แบบนี้กับ นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรหนึ่งของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อใช้ Blog Gotoknow เป็นเครื่องมือในการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้

คิดว่าจะทำให้การแลกเปลี่ยนแบบนี้จะทำให้ นศ.สนุกกับการเรียนรู้ที่แตกต่างออกไป

Pครับ

นักศึกษาส่วนใหญ่ทำรายงานได้ดี

อาจจะเป็นเพราะวิธีใหม่ เร้าใจการค้นคว้า

ผมจะตามดูกลุ่มที่สามารถหากินนอกบ้านเป็น ครับ

ขอบคุณครับที่เป็นกำลังใจและกองหลังมืออาชีพครับ

ที่ให้ระบุลำดับ ที่เข้ามาอ่านน่ะครับให้ระบุไว้บนกระดาษใช่ไหมครับ เช่น ผมเข้ามาอ่านคนที่119 ให้เขียนที่กระดาษรายงายที่ส่ง ถ้า ไม่ใช่ กรุณา อธิบายในห้องเรียนด้วยน่ะครับ

ครับ อธิบายแล้วครับ

หวังว่าทุกคนคงเข้าใจนะครับ

 แล้วถ้าผมไม่ได้บอกลำดับการอ่านแต่ผมบอกเรื่องที่ผมอ่านได้มั๊ยครับ

เฉพาะเรื่องใหม่ๆครับ

ป้องกันการสับสนและ ลักไก่ครับ

ทุกอย่างเพื่อนการเรียนรู้ของนักศึกษาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท