ลปรร.การออกข้อสอบอัตนัย (๒)


ทุกคนบอกว่าได้ประโยชน์ ได้ทั้งจากผู้ที่มาเล่าประสบการณ์และจากเพื่อนที่มาเรียนรู้ด้วยกัน

ตอนที่ ๑

เมื่อพวกเราทั้ง ๓ คนเล่าประสบการณ์ของตนเองจบ ก็เริ่มมีคำถามและการแลกเปลี่ยนจากผู้มาเรียนรู้ เริ่มจากอาจารย์ถู (Mr. Keqin Tu) ซึ่งเป็นอาจารย์ภาษาจีน ถามว่า “จะทำอย่างไรให้การสอบของตนเองดีกว่าเดิม” อาจารย์ถูเล่าว่าในการวัด speaking skills ได้ใช้ oral examination มี individual presentation, role play, simulations การประเมินมี ๕ เกณฑ์คือ punctuality, grammar, relevance, coherence และ application

อาจารย์ David John Weatherby ก็ร่วมแลกเปลี่ยนด้วยว่า ตนเองดู holistic ability ถ้าสื่อสารแล้วเข้าใจก็ OK อาจารย์หลายคนแสดงความคิดเห็นต่อวิธีการประเมินผลที่เล่ากันมา เช่น ความตรงต่อเวลาอาจเหมาะสำหรับวัด responsibility การวัดหลายๆ เรื่อง ควรให้คะแนนแต่ละเรื่องไม่เท่ากัน อาจารย์อัญชลีก็บอกว่าการวัดทักษะการพูดการเขียนมีการใช้ rating scale ด้วย

อาจารย์ Akita (Mr. Hidetsugu Akita) ที่สอนภาษาญี่ปุ่นเล่าว่าตนเองวัดจาก accuracy, fluency, confidence, achievement และ time management

 

 อาจารย์ชาวต่างชาติที่ร่วมกิจกรรมอย่าง active

ถึงเวลาของ ดร.ทิพย์วัลย์ สุทิน วิทยากรที่เชิญให้มาเติมความรู้ทฤษฎี อาจารย์ทิพย์วัลย์เริ่มต้นด้วยคำถามให้ทุกคนตอบว่า ทำไมจึงออกข้อสอบอัตนัย และออกแล้วมีปัญหาอะไรไหม คำตอบ เช่น
- อยากให้นักศึกษาแสดงความเข้าใจในบทเรียนออกมา ปัญหาคือโจทย์อาจไม่เป็นที่เข้าใจ มีทั้งที่ตอบขาด ตอบเกิน
- แต่ไหนแต่ไรมาแล้ว สถาปัตย์ใช้อัตนัย อาจเป็นเพราะความคุ้นเคย และเป็นเรื่องเกี่ยวกับการวิเคราะห์ การใช้งานวัสดุ ถ้าเป็นปรนัยมักจะเป็น sequence การทำงาน ปัญหาที่พบคือคนที่มีปัญหาเชิงวิเคราะห์จะเขียนวกวน
- อยากประมวลความรู้ของเขา คิดว่ามีส่วนดี คือถ้าไม่เลวร้ายที่สุดยังมีคะแนนให้
- เคยเป็น TA ที่อื่นมาก่อน เคยถูกสอนว่าข้อสอบต้องมีส่วนที่ challenge เพื่อแยกเด็ก
- จากประสบการณ์ที่เป็นนักศึกษา รู้สึกว่าข้อสอบปรนัยไม่ยุติธรรมสำหรับคนที่อ่านมาเยอะ
- ที่เลือกออกอัตนัยเพราะปรนัยออกยาก ปัญหา-ในส่วนที่ออกเกี่ยวกับทฤษฎี ออกห้วนเกินไป คำตอบจึงหลากหลาย
- ประสบการณ์เก่า ใช้ทั้ง ๒ แบบ ที่เลือกออกอัตนัยเพราะไม่ต้องการวัดความจำเพียงอย่างเดียว ต้องการให้เปรียบเทียบ อยากให้ลองวิเคราะห์ ข้อดีคือนักศึกษามีโอกาสได้เปิดสมอง เราก็ได้เปิดความคิดของตนเองด้วย ปัญหาคือตอบมาแล้ว เขาเข้าใจโจทย์เราไหม เด็กตอบไม่ตรงคำถามอาจเป็นเพราะคำถามไม่ดี
- ออกทั้ง ๒ แบบ ที่ออกอัตนัยเพราะต้องการให้เขาเชื่อมโยงและมีที่ต้องแสดงวิธีการคำนวณ เราได้เอาคำตอบมาปรับการสอน ปัญหาคือตรวจยาก บางทีไม่ตรงประเด็น คำพูดคิดได้หลายทาง
- ข้อสอบเป็นยาขมสำหรับพละศึกษา “ทำได้ทุกอย่าง ยกเว้นข้อสอบ” มักสอบภาคปฏิบัติ ให้น้ำหนักสูง ข้อสอบจะถามเรื่องกฎ กติกา ก็ออกปรนัย ถ้าเกี่ยวกับ sport injury จะมีทั้งอัตนัยและปรนัย เหตุที่เลือกอัตนัยเพราะอยากทราบความคิดเห็น หลักการวิเคราะห์
- เพิ่งออกข้อสอบ mid-term ที่เลือกอัตนัยเพราะต้องการประเมินความเข้าใจของนักศึกษา พบว่านักศึกษาบางคนสามารถประมวลความรู้และอธิบายให้เข้าใจได้ดี
- ไม่ได้ใช้อัตนัยมาก แต่เห็นว่าควรใช้วัด analytical and critical skills ในด้านภาษา ออกยาก

 

 ดร.ทิพย์วัลย์ สุทิน

อาจารย์ทิพย์วัลย์เตรียมเอกสารเป็น handout ของ PowerPoint มาให้ผู้ฟังด้วย ถ้าพูดไม่จบก็สามารถไปอ่านเพิ่มเติมได้เอง สิ่งที่ได้พูดถึงในห้องได้แก่ ลักษณะของข้อสอบอัตนัย วิธีการสร้างข้อสอบ การตรวจให้คะแนน คุณสมบัติที่จำเป็นของข้อสอบที่ต้องมีความตรง ความเที่ยง ความยาก-ง่าย และอำนาจจำแนก

อาจารย์ทิพย์วัลย์ให้ข้อคิดว่าอย่าภูมิใจที่ข้อสอบยาก ข้อสอบที่ยากไม่ใช่ข้อสอบที่ดีเสมอไป ถ้าทั้งเด็กเก่ง-เด็กอ่อนทำไม่ได้ แสดงว่าไม่มีอำนาจจำแนก ถ้าข้อสอบยากและคนอ่อนเดาถูก แสดงว่าอำนาจจำแนกติดลบ ข้อสอบที่ดีๆ สามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนา นอกจากนี้ยังได้เปรียบเทียบจุดมุ่งหมายทางการศึกษาของบลูม ให้เห็นว่าคำศัพท์เดิมและคำศัพท์ใหม่ที่ใช้นั้นเป็นอย่างไร สุดท้ายได้นำตัวอย่างข้อสอบในรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบมาให้ผู้มาเรียนรู้ช่วยกัน comment

ก่อนจบกิจกรรมทุกคนได้พูดว่าได้อะไรบ้างจากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทุกคนบอกว่าได้ประโยชน์ ได้ทั้งจากผู้ที่มาเล่าประสบการณ์และจากเพื่อนที่มาเรียนรู้ด้วยกัน เช่น
- ได้เยอะ สามารถเอาไปปรับปรุง คราวหน้าจะมาเรียนรู้เพิ่มเติม
- ได้หลักการแนวทางไปพัฒนาการเรียนการสอน
- ได้ความรู้เพิ่มเติม แต่สิ่งที่ได้มากกว่าคือประสบการณ์ จะเก็บเอาไปปรับปรุง นอกห้องนี้จะถามได้อีกหรือเปล่า
- ได้ทราบรายละเอียด ได้ guideline ไปออกข้อสอบ
- ได้ประสบการณ์ ได้แลกเปลี่ยน ที่สำคัญคือได้ข้อควรระวังในการออกข้อสอบ ได้เทคนิคการตรวจข้อสอบ
- ได้ความรู้และ guideline ได้ประสบการณ์จากอาจารย์ท่านอื่นๆ

บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้เป็นไปอย่างสบายๆ เป็นบรรยากาศเชิงบวก ทุกคนที่มามีความเป็นมิตรและเปิดใจกว้าง ไม่มีการถกเถียงเรื่องถูก-ผิด เป็นบรรยากาศของการเรียนรู้จากกันและกัน ดิฉันมีความสุขมากและมองเห็นช่องทางที่ KM การเรียนการสอนสามารถก้าวต่อไปได้

วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

หมายเลขบันทึก: 144971เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์เขียนเล่าเรื่องละเอียดดีจังเลย  อ่านแล้วได้ความรู้ม๊ากๆ  ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท