ชุดความรู้ตั้งกลุ่มการเงิน


กลไกชุมชนและกองทุนสวัสดิการเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อให้สมาชิกไม่คิดโกง

งานสัมมนาที่วัดป่ายางวันที่29-30ต.ค.ก็มีเสียงบ่นว่าคนของรัฐตราหน้าว่ากลุ่มสัจจะเป็นกลุ่มเถื่อน

เรื่องนี้มีประวัติมายาวนาน
ผมเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญปี2540รับรองการรวมตัวกันของชุมชนเพื่อทำกิจกรรมส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน(มิใช่ธุรกิจระหว่างบุคคลและนิติบุคคล-ความเห็นของอ.แหววเข้าใจว่าคงเป็นมุมมองของนักกฏหมายเพราะอ.ฐาปนันท์ นิติศาสตร์มธ.เหมือนกันบอกว่าไม่มีชุมชนอยู่ในตัวบทกฏหมาย)

ที่จริงการรวมกลุ่มช่วยเหลือกันยืนอยู่บนหลักการ สหกรณ์ แต่สหกรณ์ในกฏหมายไทยคือ กลุ่มที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเท่านั้น จึงมีคำเรียก
สหกรณ์ภาคประชาชน ทดแทน

มีหน่วยงานรับรองสถานะภาพองค์กรชุมชนคือ สถาบันพัฒนาองค์กร(พอช.) และที่พยายามต่อสู้ทางกฏหมายคือพรบ.สภาองค์กรชุมชน

หลักการทางกฏหมายคุ้นเคยกับแนวคิดปัจเจกถือเอาการต่อสู้ทางคดีความเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันได้เพิ่มแนวคิดยุติธรรมชุมชนโดยใช้กลไกทางสังคมช่วยจัดการซึ่งได้ผล(โดยรวม)ดีกว่า
ผมเข้าใจว่าแนวคิดการรวมกลุ่มทางการเงินเพื่อช่วยเหลือกันก็ใช้กลไกทางสังคมเป็นกลไกสำคัญ
ครูชบประกาศว่า กลุ่มจะไม่ฟ้องร้อง ใครโกง(ได้)ก็โกงไป
ครูชบใช้กลไกชุมชนและกองทุนสวัสดิการเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อให้สมาชิกไม่คิดโกง
วิธีการสำคัญคือ
1)ตั้งกองทุนสวัสดิการที่แบ่งกำไรอย่างน้อยครึ่งหนึ่งควบคู่กันไปกับเงินออมของสมาชิก
2)ตั้งกองทุนสวัสดิการลดรายจ่ายวันละ1บาทหรือกองบุญวันละ1บาทเคียงคู่กับกองทุนสวัสดิการสัจจะเพื่อเป็นแรงจูงใจให้เป็นคนดีตามกรอบระเบียบของกลุ่ม ด้วยการ
2.1)การกู้ป้องกันโดยใช้เงินหุ้นหรือเงินสัจจะของตนเองค้ำ และมี2คนช่วยค้ำตามหลักการ ที่พิเศษคือ
2.2)ในวันทำการเมื่อมีการส่งคืนเงินกู้รายเดือน ถ้าผู้กู้คนใดไม่ส่ง จะไม่ปล่อยกู้ในเดือนนั้น คนค้ำต้องไปตามเงินกู้มาคืน ถ้าไม่ได้ ผู้ที่ต้องการกู้ต้องยอมเฉลี่ยจ่ายคืนเงินกู้ที่ค้างส่งในเดือนนั้นแล้วไปตามเก็บเงินจากคนค้างเอง

วิธีการนี้ให้ความสำคัญกับกลุ่มสูงมาก กลุ่มมีความสำคัญที่สุด ปัญหาจากเงินค้างจึงไม่มี สมาชิกต้องดูแลกันเอง ต้องจัดการกันในระบบสังคม/ชุมชน

3)เรื่องบัญชีต้องชัดเจนเป็นระบบทุกเดือน
สามารถปิดบัญชีรับจ่าย(บัญชีเงินสด)และปิดงบทดลองในแต่ละเดือนได้โดยเร็วที่สุด(ในวันนั้นหรือวันรุ่งขึ้นโดยให้กรรมการร่วมเรียนรู้เรื่องบัญชีด้วย)
ด้วยวิธีการเหล่านี้ หากมีสมาชิกมากพอและทำกิจกรรมต่อเนื่องระยะหนึ่งก็จะมีเงินกองทุนเพิ่มพูนขึ้นเป็นพลังที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม
จากการออม-กู้ ลดรายจ่าย/ทำบุญ-จัดสวัสดิการโดยใช้กลไกทางสังคมจัดระบบก็จะช่วยให้ชุมชนพอฟื้นตัวได้ จะเป็นพลังในการทำเรื่องอื่นๆต่อไป

โดยสรุปคือ
1)ระบบคิดเรื่องการออม-กู้ ลดรายจ่าย/ทำบุญ-จัดสวัสดิการ
2)วิธีการ เน้นการพึ่งตนเอง จูงใจด้วยสวัสดิการ 
พึ่งพา/ดูแลกันภายใน ความมั่นคงของกลุ่มต้องมาก่อน 
3)ผู้นำ การเรียนรู้ร่วมกันของคณะกรรมการและสมาชิก

หมายเลขบันทึก: 144182เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2007 18:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

 ในวันทำการเมื่อมีการส่งคืนเงินกู้รายเดือน ถ้าผู้กู้คนใดไม่ส่ง จะไม่ปล่อยกู้ในเดือนนั้น คนค้ำต้องไปตามเงินกู้มาคืน ถ้าไม่ได้ ผู้ที่ต้องการกู้ต้องยอมเฉลี่ยจ่ายคืนเงินกู้ที่ค้างส่งในเดือนนั้นแล้วไปตามเก็บเงินจากคนค้างเอง

   อันนี้ น่าสนใจดีคะ ไว้ไปลองนำเสนอกับ กลุ่มสัจจะ ที่สุรินทร์ ดูบ้าง

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

 ถ้าหวังผลการเปลี่ยนแปลงในหมู่สมาชิก คงต้องใช้ KM กับสมาชิกหรือเปล่าคะ

สวัสดิการที่มีผลในเชิงคุณภาพชีวิต  คงต้องมองที่การนำเงินไปใช้   มากกว่าดูแค่การกู้และการคืนเงินกู้

เคยมีการจัดการความรู้ในหมู่สมาชิกที่กู้ยืมไหมคะ  ว่า พวกเขาเอาเงินไปใช้ทำอะไรกันบ้าง   (หรือเป็นเรื่องส่วนตัวเกินไป)   เงินเหล่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองระยะสั้น ระยะยาวอย่างไร   จะทำให้เงินเหล่านั้นเกิดประโยชน์ก่อตนและเพื่อนร่วมชุมชนมากขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร

เรื่องพัฒนาจิตใจนั้น คิดว่าสำคัญค่ะ  แต่จะดูยังไงดี    ??  เศรษฐศาสตร์จะเสนอให้มองสิ่งที่มองไม่เห็น ผ่านพฤติกรรมที่ประพฤติปฎิบัติ  

ให้แต่ละคนบอกว่า  ตัวเองเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตอย่างไรบ้าง  ให้ช่วยกันบอกว่า  เห็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งดีๆอะไรเกิดขึ้นในชุมชนบ้าง

..เป็นการคิดโจทย์แบบคนวิจัย แต่ไม่ค่อยถนัดการจัดการความรู้มากนัก  แถมยังเป็น "คนนอก" อีก..เข้าใจผิดประการใดขอโทษด้วยค่ะ...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท