กระทกรก


ดอกไม้ในวรรณไทย

กระทกรก <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center">กระทกรก</p>..กระทกรกกระลำพอสมอไข่ผักหวานตาลดำลำใยมะเฟืองไฟไข่เน่าสะเดานาวรรณคดี : “ขุนช้างขุนแผน” ตอนขุนแผนลุแก่โทษผู้ประพันธ์ : สุนทรภู่ชื่อพฤกษศาสตร์ : Passiflora foetida, L.ชื่อสามัญ : Stinking - Passion Flower.ชื่อวงศ์ : Passifloraceaeชื่ออื่น ๆ : หญ้ารกช้าง กระโปรงทอง เถาสิงโตกระทกรกเป็นไม้ประเภทเถาเลื้อย เถาเล็กสีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยว แยกเป็น ๓ แฉกคล้ายใบตำลึง ยาวประมาณ ๖ - ๗ ซ.ม. แผ่นใบมีขนละเอียดปกคลุมจับนุ่มมือออกเป็นข้อ ๆ ละใบสลับข้างกัน ก้านใบมีขนเห็นได้ชัด หูใบมีลักษณะเป็นแผ่น ปลายจักแหลม ๆ ขนาบอยู่ที่ฐานก้านใบ ระหว่างฐานใบกับลำต้นมีมือเกาะลักษณะเป็นเส้นม้วนงอ สำหรับเกาะให้เลื้อยขึ้นไปตามรั้วหรือต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง ดอกเป็นดอกเดี่ยว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒ - ๓ เซนติเมตร มีกาบใบเป็นฝอยร่างแห ๓ กาบ กลีบเป็นเส้นฝอยละเอียดสีขาว วงในเป็นสีม่วง บอกในช่วงเช้าดอกออกตามซอกระหว่างก้านใบกับลำต้น เมื่อดอกโรยจะติดผล ผลมีลักษณะกลมเป็นพู มีกาบใบเจริญเติบโตตามผลหุ้มผลไว้ผลหนึ่ง ๆ มีหลายเมล็ด ออกดอกตลอดปี ผลรับประทานเล่นได้การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดปลูก 

คำสำคัญ (Tags): #ดอกไม้
หมายเลขบันทึก: 144093เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2007 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท