ใช้ KM เป็นเครื่องมือเรียนรู้เรื่องคุณธรรมจริยธรรม


ใช้ storytelling

ใช้ KM เป็นเครื่องมือเรียนรู้เรื่องคุณธรรมจริยธรรม

การเข้าไปอ่านทบทวนบันทึกเรื่องการใช้ KM เป็นเครื่องมือคุยกับลูก   ทำให้ผมคิดขึ้นได้ว่า สามารถใช้ KM เป็นเครื่องมือจัดการเรียนการสอนวิชาจริยธรรม หรือจรรยาบรรณในวิชาชีพได้

เรื่องนี้จำได้ว่าสมัยผมเป็นคณบดีคณะแพทย์มีการเถียงกันมาก ว่าจริยธรรม/จรรยาบรรณสอนได้หรือไม่    หรือว่ามีทางเดียวคือทำให้ดูเป็นตัวอย่าง หรือ role model   

มี อจ. จำนวนมากบอกว่าจริยธรรมเป็นเรื่องสอนในชั้นเรียนไม่ได้    สอนได้อย่างเดียวคือปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่าง   

แต่ตำราของ WHO บอกชัดเจน ว่าสอนได้    จัดเรียนในห้องเรียนได้   โดยต้องใช้วิธีการหลายอย่าง    อย่างหนึ่งคือนำ Case Studies มาเสนอและอภิปรายร่วมกัน

ถึงตอนนี้ผมนึกออกว่าอีกวิธีหนึ่งคือใช้ KM    ทำ storytelling ให้ทั้ง นศ. และ อาจารย์ เล่าเรื่องที่แสดงตัวอย่างที่ดีของการปฏิบัติที่แสดงความมีจริยธรรม/จรรยาบรรณสูง    และช่วยกันแสดงความเห็นว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีผลต่อตัวละครในเรื่อง ต่อวงการวิชาชีพ/องค์กา และสังคมวงกว้าง อย่างไร

อาจารย์ท่านใดมีประสบการณ์การสอนจริยธรรม/จรรยบรรณวิชาชีพ แบบนี้ โปรดนำมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

วิจารณ์ พานิช

๔ กพ. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 14407เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2006 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2012 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

จริงๆ แล้วไม่อยากแสดงความคิดเห็นเพราะเกรงในบารมีของอาจารย์วิจารณ์ แต่ปากผมก็อยู่ไม่ค่อยเป็นสุขนัก แต่นั่นแหละประโยชน์คือผมได้คิดเรื่องดีๆ จากเรื่องราวของอาจารย์

1.  อ่านของอาจารย์แล้วต้องขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ทำให้ผมคิดเรื่อง "การจัดการความรู้เพื่อสอนจริยธรรมของพระพุทธเจ้า" ได้

2. ทำให้ผมนึกถึงการสอบสวนความรู้ (ไม่แน่ใจว่าจะเป็นการจัดการความรู้หรือไม่) เกี่ยวกับคุณค่าของจีวรที่ภิกษุใช้ สุดท้ายคือนำไปโบกเป็นฝาผนัง หรือ แม้แต่ การที่จูฬปันถก ได้รับผ้าเช็ดหน้าผืนหนึ่งจะพระพุทธเจ้า นำมาลูบคลำ จนเกิดการเรียนรู้

3. การสอนจริยธรรม ผมคิดว่าน่าจะสอนกันได้ นอกจากการทำให้ดู การเล่าเรื่อง ยังมี การระดมความคิด การวิเคราะห์นิทาน กาตูนที่สร้างสรร การวิเคราะห์ภาพเชิงคุณค่า การดูละคร ฯลฯผมว่า น่าจะอยู่ที่ผู้สอนมากกว่าว่าจะสอนเรื่องอะไร มีวิธีการอย่างไร

ด้วยความเคารพยิ่ง

อ่านแล้วนึกถึงกรณีของการขายหุ้นของชินคอร์ปที่มีคำศัพท์ใหม่ๆที่ดิฉันคนรุ่นใหม่สงสัยและอยากรู้ว่าจริงๆแล้วมันคืออะไร เช่นไม่ผิดตามธรรมจริยา(คำอธิบายของท่านอธิบดีสรรพากร)ไม่ได้ประชดแต่สับสนจริงๆ
ผมก็คิดอยู่เหมือนกัน น่าจะใช้ km สอนคุณธรรมยริยธรรมได้นะครับ แต่จะให้เริ่มเขียนบันทึกลงบนกระดาษก่อน เพราะโรงเรียนยังมีคอมพิวเตอร์ไม่มากนะ ต้องลงมือปฏิบัติก่อนครับ

ได้อ่านเรื่องราวแล้วแสดงว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่ใช่เรื่องแปลกในสังคม แม้จะเป็นคนสอนทางสิ่งแวดล้อมแต่จะมีเรื่องราว เรื่องของจริยธรรมสอดแทรกได้ทุกครั้งในการเรียนการสอน เพราะเห็นว่าไม่ใช่เรียนอยู่ในวิชาจริยธรรม หรือจรรยาบรรณเท่านั้น

เพราะสิ่งแวดล้อมจะดีได้สังคมต้องดีก่อน สังคมจะดีได้คนต้องดีก่อน คนจะดีได้คนที่ทำหน้าที่สอนคนให้เป็นคนต้องดีก่อน

นักศึกษาที่ได้สอนมี 2 กลุ่มคือ 1)กลุ่มนักศึกษาที่เรียนวิชาเอกด้านสิ่งแวดล้อม 2)นักศึกษาที่เรียนในวิชาพื้นฐาน ลักษณะการสอนเรื่องจริยธรรมก็จะต่างกันตามลักษณะของนักศึกษาที่เรียน หากเรียนในวิชาเอกก็จะเน้นยำในเรื่องจริยธรรมของการเป็นนักสิ่งแวดล้อม หากเป็นนักศึกษาพื้นฐานก็จะเน้นจริยธรรม คุณธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม สิ่งที่นำมาลองใช้ในการสอนเช่นการยกพุทธสุภาษิต หรือคำกลอนที่โดนใจมาแลกเปลี่ยนในห้องเรียน ซึ่งนักศึกษาก็จะให้ความสนใจไม่เท่ากันบางคนสนใจมาก บางคนไม่สนใจเลย ไม่เป็นไรอย่างน้อยยังมีคนให้ความสนใจ เพราะบัวมี 4 เหล่า จะทำรับเท่ากันคงเป็นไปไม่ได้ แต่ก็ต้องพยายาม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท