ปะการังเทียม


การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล(ปะการังเทียม)ด้วยตู้รถไฟ ในโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส

  สืบเนื่องจากราษฎรบ้านละเวง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานีได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานความช่วยเหลือจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถให้ทรงพิจารณาช่วยฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ เนื่องจากปัจจุบันได้ลดลงเป็นอันมาก ซึ่งพระองค์ท่านทรงให้จัดตั้งโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาสและในโครงการดังกล่าวมีกิจกรรมการฟื้นฟูระบบนิเวศสัตว์น้ำโดยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (ปะการังเทียม) ซึ่งใช้วัสดุจำพวกคอนกรีต ท่อระบายน้ำ ซากเรือ หรือวัสดุขนาดใหญ่ที่ไม่ใช้งานแล้ว และในปี 2545 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้น้อมถวายตู้รถสินค้าเก่าที่ไม่ใช้งานแล้ว จำนวน  210  ตู้ และกรมทางหลวงได้มอบท่อคอนกรีตระบายน้ำที่ใช้งานแล้วจำนวน 707 ท่อสำหรับนำมาจัดวางเป็นปะการังเทียมกรมประมงได้ดำเนินการกิจกรรมดังกล่าวร่วมกับหลายหน่วยงาน เช่น กปร. การรถไฟแห่งประเทศไทย  กรมทางหลวง กองทัพเรือ  กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ในการดำเนินงานจัดวางตู้รถไฟทั้งหมด 208 ตู้ที่จังหวัดปัตตานีและจัดวางท่อคอนกรีตระบายน้ำจำนวน 707 ท่อที่จังหวัดนราธิวาส  (ตู้รถไฟอีกจำนวน 2 ตู้ ได้มอบให้โครงการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 เนื่องในพระราชพิธีเปิดโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเล อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่บ้านละเวงอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี) โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ลำเลียงตู้รถไฟส่งมอบให้กับกองทัพเรือที่ท่าเรือพานิชย์  สัตหีบ  จังหวัดชลบุรี ซึ่งกองทัพเรือส่งมอบต่อให้กรมประมงและช่วยขนย้ายลงเรือลำเลียงที่จ้างเหมาบริษัทเอกชนดำเนินการ ใช้งบประมาณจาก กปร. เป็นเงินทั้งสิ้น 5,616,430 บาท  เพื่อลำเลียงไปยังจังหวัดปัตตานีโดยเริ่มจัดวางในทะเลครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2545 จำนวน 110 ตู้  และ จัดวางครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2545 อีกจำนวน 98 ตู้
                การจัดวางท่อคอนกรีตระบายน้ำของกรมทางหลวงที่จังหวัดนราธิวาสกรมประมงดำเนินการจัดวางโดยใช้เรือแพลำเลียงเขากวางของกรมประมง ได้ดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2544 (หลังพระราชพิธีเปิดโครงการฯ) ส่วนครั้งที่ 2 ดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อ 18 มีนาคม 2545 ซึ่ง กปร. สนับสนุนงบประมาณดำเนินการทั้งสิ้นเป็นเงิน 275,600 บาท
                จากการติดตามผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่ามีปลาจำนวนมากเข้ามาอยู่อาศัยในบริเวณที่จัดสร้าง ที่พบมากคืปลาหางแข็ง ปลากะพง ปลากะรัง ปลาช่อนทะเล และปลาสากเหลืองชาวประมงพื้นบ้านขนาดเล็กเข้ามาทำการประมงมากราย โดยเฉพาะเครื่องมือเบ็ดในส่วนของการจมตัวของตู้รถไฟพบว่าไม่มีการจมตัวเพิ่มจากเดิม สำหรับการติดตามทางด้านคุณภาพน้ำบริเวณกองตู้รถไฟอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งชาวประมงทะเลพื้นบ้านต้องการให้มีการจัดสร้างเพิ่มเติม เพราะมีสัตว์น้ำมาอยู่อาศัยมากขึ้น เป็นแหล่งทำการประมงที่ดี
รูปตัวอย่าง:http://gotoknow.org/file/group805/Image9.jpg

แหล่งที่มา:http://www.fisheries.go.th/marine/ArtificialReef/ArtificialReef.htm

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14405เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2006 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท