วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

เพชรสังฆาตCissus quadrangularis Linn.VITACEAE


สมุนไพรไทย

เพชรสังฆาตCissus quadrangularis Linn.VITACEAEชื่ออื่น ขั่นข้อ สันชะควด สามร้อยต่อ พืชสมุนไพรแก้ริสีดวงทวาร 

วันนี้คณะเดินทางไปเที่ยวชมสวน ท.ทหาร ที่บริเวณค่ายประเสริฐสงคราม จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบ้านพักของ จสอ.สมัย จันทะดวง ผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพรมากมายที่มองเห็นเป็นไม้เถาเลื้อยบนหลังคา เรือนเพาะชำมีรากอากาศย้อยลงมาอย่างสวยงาม มันคือต้นเพชรสังฆาตนั่นเองเจ้าของบ้านบอกว่า ใช้ในการรักษาโรคริดสีดวงทวาร อย่างชะงัดนักรูปลักษณะของเพชรสังฆาต ไม้เลื้อยลำต้นรูปสี่เหลี่ยมเป็นครีบผิวเรียบมีรอยคอดบริเวณข้อ ใบเดี่ยว ออกข้อละ 1 ใบ บริเวณปลายเถาตรงข้ามใบมีมือเกาะ รูปสามเหลี่ยมหรือรูปไข่ กว้าง 3 - 8 ซม. ยาว 4 - 10 ซม. ขอบใบหยักมนเนื้อใบค่อนข้างหนา ดอกช่อ ออกตรงข้ามใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกด้านนอกสีเขียวแกมเหลืองโคนกลีบมีแถบสีแดงกลีบด้านในสีขาวแกมเขียว ผลเป็นผลสดรูปกลม สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา เถา - ใช้เถาสดกินแก้ริดสีดวงทวาร วันละ 1 ปล้องจนครบ 3 วัน โดยหั่นบางๆ ใช้เนื้อมะขามเปียก หรือเนื้อกล้วยสุกหุ้มกลืนทั้งหมด เพราะในเถาสดมีผลึกแคลเซียมออกซาเลตมาก อาจทำให้คันคอ หลังจากที่เจ้าของบ้านกล่าวจบแขกที่มาเยือนขอทดลองทันที เคี้ยวเข้าไปหนึ่งคำรสชาติมันๆพอกลืนเข้าไปคันคอ ระคายคออย่าบอกใคร กินอะไรก็ไม่หายประมาณ 4-5 ชั่วโมงกินเกลือ อมลูกอมยังไม่หาย แต่เจ้าของบ้านบอกและรับรองว่า ริดสีดวงทวารหายจริง วัชรินทร์ เขจรวงศ์

208 หมู่ที่ 2 บ้านสามแยก ตำบลเหนือเมือง

อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 45000 โทร.0-86850-2416 โทรสาร.0-4351-8449                              [email protected],[email protected]

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรสิงขร101
หมายเลขบันทึก: 143632เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2007 08:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณมากค่ะ เพราะมันทรมารมาค่ะ กินยาแล้วก็ไม่ดีขึ้นเลย ขอบคุณค่ะ

รายงานการติดตามพัฒนาการลูกหมีแพนด้า อายุ 4 วัน

วันที่ 31 พฤษภาคม 2552 เวลา 16.00 น.

                        ทีมงานดำเนินการแยกลูกหมีแพนด้าเพื่อตรวจสุขภาพ และชั่งน้ำหนัก พบว่าสามารถแยกลูกได้ง่าย ใช้เวลาประมาณ 10 -15 นาที ลูกหมีร้องเล็กน้อย น้ำหนักปัจจุบัน 260 กรัม เพิ่มจากเดิมจำนวน 25 กรัม ขนาดความยาวจากปลายจมูกถึงโคนหาง 18 เซนติเมตร เพิ่มจากเดิมจำนวน 0.5 เซนติเมตร ความยาวจากโคนหางถึงปลายหางจำนวน 6 เซนติเมตร เพิ่มจากเดิม 0.5 เซนติเมตรเช่นกัน ส่วนความยาวของขาทั้งสี่ข้างเท่าเดิมคือ  6.5 เซนติเมตร ลูกมีแพนด้ามีสุขภาพแข็งแรงมา ดิ้นรุนแรง และร้องเสียงดัง พบการเปลี่ยนแปลงของสีบริเวณใบหู รอบตา ขาทั้งสี่ข้าง และปลายจมูกเริ่มมีสีเทา ถือว่ามีพัฒนาที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก

 

 

 

โครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้าในประเทศไทย สวนสัตว์เชียงใหม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท