วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

ตำบลสระบัวนำหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้


เศรษฐกิจพอเพียง
ตำบลสระบัวนำหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้
                  ตำบลสระบัวนำหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ วันนี้(19 ก.พ.50)นายพินิจ พิชยกัลป์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วยคณะเดินทางไปที่    บริเวณศาลาวัดบ้านสระบัว ตำบลสระบัว อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ มีนายวิทูล ใจหาร กำนันตำบลสระบัว กำนันแหนบทองคำ ปี2550 พร้อมผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าส่วนราชการ ประชาชน ให้การต้อนรับ เป็นการตรวจเยี่ยมประชาชนเพื่อการพัฒนาการเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหัวใจของปรัชญาของการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯคือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรอบรู้ และคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน 1.กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา 2.คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติบน"ทางสายกลาง"และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน 3.คำนิยาม ความพอเพียงต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อมๆกันดังนี้ -ความพอประมาณ หมายถึงความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ -ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ -การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล 4.เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานกล่าวคือ -เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน และความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ เงื่อนไขคุณธรรม จะน้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทนมีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต 5.แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี นายพินิจ พิชยกัลป์ กล่าวว่า จากการกล่าวรายงานของกำนันวิทูล ใจหาร ถือว่าเป็นกำนันแหบนทองคำ ปี 2550 นำการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทั้ง 17 หมู่บ้าน การเพาะเห็ดฟาง การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม กลุ่มออมทรัพย์ การปลูกหอมแบ่ง ร้านค้าชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ ไร่นาสวนผสม ปุ๋ยชีวภาพ การเลี้ยงกบการทำขนม มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ นายกพลลพ จันทร์ศรีระมี นายก อบต.สระบัว เกษตรอำเภอ พัฒนาการอำเภอ กศน.ภาคเอกชนที่สร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชาวทุ่งกุลาร้องไห้ ผู้ว่าราชการหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า การเดินทางเข้ามาตรวจเยี่ยมประชาชนเพื่อการประเมินผลงานของนักปกครองท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ต่างแสดงให้เห็นว่างานพัฒนาอาชีพของประชาชนในพื้นที่แดนไกลอย่างตำบลสระบัว อำเภอปทุมรัตต์ พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ นำหลักปรัชญามาใช้อย่างได้ผลอย่างดียิ่ง จะเห็นได้จากผลผลิตจากครอบครัวเกษตรกร อาทิ หอมปลูกตลอดทั้งปี จากหนองหญ้ารังกา การเพาะเห็ดฟาง บ้านสระบัว ไร่นาสวนผสมบ้านเขวาโคก บ้านเขวาพัฒนา หรือการทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดบ้านเขวาทุ่ง การเลี้ยงกบบ้านปอภาร ผลผลิตที่นำมาจำหน่ายในวันนี้ย่อมแสดงถึงความพอเพียง ความพอประมาณ ความมีเหตุ มีภูมิคุ้มกัน สร้างรายได้ภายในครอบครัว อย่างมีความสุข ผู้ที่ร่วมคณะกับ  ปลัดจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ต.ท.วัชรินทร์ สัตยาคุณ แทน ผบ.ภ.ตร.จว.ร้อยเอ็ด นางจิรภา ธีระกนก แทนสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด นายมงคล ปัตลา แทนพัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด นายสุรพันธ์ เงินหมื่น ผู้ทรงคุณวุฒิ นายบุญเต็ม ศรีศาลา ผู้ทรงคุณวุฒิ นายวัชรินทร์ เขจรวงศ์ จากชมรมสื่อสร้างสรรค์จังหวัดร้อยเอ็ด นายประดิษฐ์ ศรีประสิทธิ์ จ่าจังหวัดร้อยเอ็ด และนายสุวัฒน์ เบ้าจังหาร ผช.จ่าจังหวัดร้อยเอ็ด ผลงานนักพัฒนา ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สาธารณสุข การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม การพัฒนาอาชีพ มีผลงานที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับของสังคมอย่างยิ่ง  วัชรินทร์ เขจรวงศ์208 หมู่ที่ 2 บ้านสามแยกตำบลเหนือเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ดจังหวัดร้อยเอ็ด 45000 โทร.0-86850-2416 โทรสาร.0-4351-8449[email protected],[email protected] http://www.watcharin101.net/
คำสำคัญ (Tags): #เกษตรสิงขร
หมายเลขบันทึก: 143577เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2007 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท