กรณีศึกษา : ประเทศไทยอันดับ 4 การละเมิดลิขสิทธิ์ไอทีภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกส์


การละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาโดยเฉพาะโปรแกรมซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของการพัฒนาซอฟแวร์ในประเทศไทย เราได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับ 4 ของประเทศที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์สูงสุด ขณะที่อินเดียนำหน้าด้านไอทีไม่มีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์เหมือนในประเทศไทย

การละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาโดยเฉพาะโปรแกรมซอฟแวร์คอมพิวเตอร์  ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของการพัฒนาซอฟแวร์ในประเทศไทย  เราได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับ 4 ของประเทศที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์สูงสุด  ขณะที่อินเดียนำหน้าด้านไอทีไม่มีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์เหมือนในประเทศไทย   ย่อมทำให้การพัฒนาซอฟแวร์สามารถกระทำได้อย่างราบรื่น  เกิดมูลค่าเพิ่มและกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ 

 ถ้าเรายังปล่อยให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟแวร์  และมองการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นซอฟแวร์แห่งชาติ   คนของเราเองก็จะไม่พัฒนาซอฟแวร์เพื่อการค้า   ประเทศก็จะไม่มีนักพัฒนาซอฟแวร์คนไหนอยากพัฒนาและอุตสาหกรรมซอฟแวร์ก็ไม่สามารถเติบโตได้ในประเทศไทย   คนไทยเองแม้ก็อปปี้โปรแกรมมาใช้   แต่ก็ไม่สามารถพัฒนาโปรแกรมตนเองเพื่อขายให้ใครได้   ผลกรรมก็จะตกอยู่กับประเทศที่ไม่สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟแวร์ได้   เพราะคำถามแรกคือ  "ถ้าผมพัฒนาซอฟแวร์แล้วมีคนก็อปปี้เอาไปขาย   ผมจะพัฒนาไปทำไม"

 

เดลินิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

นายดรุณ ซอว์นีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) กล่าวว่า หลังเข้ารับหน้าที่ติดตามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยได้ 6 ปี พบว่า แนวโน้มการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยมีอัตราลดลงเล็กน้อย โดยซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์มากที่สุดได้แก่ ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ ซอฟต์แวร์สำหรับสำนักงาน, อะโดบี ซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการจัดการรูปภาพ ส่วนซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์มากที่สุดเป็นของค่าย ไซแมนเทค แมคอาฟี นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์ดิคชันนารีภาษาไทยที่คนไทยคิดค้นเองก็ถูกละเมิดลิขสิทธิ์มาก รวมทั้งซอฟต์แวร์เพื่อการออกแบบอย่าง ออโต้แคด ออโต้เดสก์ ซึ่งมีราคาแพง ใช้ในอุตสาหกรรมการออกแบบ อาทิ โรงงานผลิตรองเท้า และรถยนต์
 
นายดรุณ กล่าวว่า จากผลสำรวจของไอดีซี ระบุว่า ประเทศไทยมีการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ที่ 80% หรือคิดเป็นคอมพิวเตอร์ 100 เครื่อง มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ 80 เครื่อง อยู่ในอันดับ 4 ของประเทศที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์สูงในเอเชียแปซิฟิก รองจากประเทศจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยตั้งเป้าการดำเนินคดีกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างจริงจังในประเทศไทยจะส่งผลให้การละเมิดลิขสิทธิ์ในปีหน้าลดลง
 
ทั้งนี้ บีเอสเอและกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก.ปศท.) ดำเนินคดีกับผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา แล้ว 88 คดี  ซึ่งจับกุมการละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 50% คาดสิ้นปีจะสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ 120 คดี คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 250 ล้านบาท โดยเน้นจับกุมบริษัทขนาดกลางถึงขนาดใหญ่เป็นหลัก.
 

หมายเลขบันทึก: 143436เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2007 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เพิ่งทราบนะครับ
  • ว่าบ้านเราน่ากลัวจนติดอันดับ
  • ขอบคุณครับ

จริงๆแล้วการละเมิดลิขสิทธ์โปรแกรมต่างๆนั้น การแก้ปัญหาควรแก้ให้ครอบคุม ปัจจุบันเรามีแต่กฎหมายเอาผิดผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย แต่ไม่มีกฎหมายเอาผิดผู้ซื้อ ซึ่งผู้ซื้อนี้ละที่ทำให้ผู้ขายยังไม่ยอมหยุดเพราะสามารถสร้างผลกำไรมากมาย ดังนั้นภาครัฐควรกำหนดกฎหมายเอาผิดผู้ซื้อด้วย อย่างกรณีศึกษาการค้าประเวณีที่อเมริกาจะเอาผิดผู้ซื้อด้วย ทำให้การค้าประเวณีในอเมริกาเริ่มลดลง ดังนั้นประเทศไทยควรปรับปรุงกฎหมายใหม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท