วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

ชุดนึ่งข้าวเหนียว โดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเป้า


ภูมิปัญญาไทย
  • ชุดนึ่งข้าวเหนียว โดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเป้า หมู่ที่ 7 ตำบลหนองขาม อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ตามโครงการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด                                

  •  นายปรีชา เชาว์ตระกูล เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า  ตานนโยบายของนายนพพร จันทรถง    ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด  เป็นแผนธุรกิจที่ทำขึ้น ตามโครงการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการนำเสนอข้อมูลการผลิตชุดนึ่งข้าวเหนียวสำเร็จรูป “กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเป้า” หมู่ที่ 7 ตำบลหนองขาม อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจุบันการผลิตสินค้าออกสู่ตลาดจะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการใช้ มีการนำรูปแบบการผลิตแบบ Economy of scale มาใช้ในการผลิตแบ่งงานกันทำตามความชำนาญของแต่ละกลุ่มองค์กร เกิดเป็นเครือข่ายขึ้นในพื้นที่ โดยมีเกษตรกรที่เป็นสมาชิกในแต่ละกลุ่มองค์กรได้รับประโยชน์ ในการเพิ่มรายได้และสร้างอาชีพด้วยซึ่งในแผนธุรกิจฉบับนี้ได้รวบรวมกำลังการผลิตของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเป้าและกลุ่มองค์กรเครือข่ายที่ทำการผลิตสินค้าประกอบด้วย                 นายปรีชา เชาว์ตระกูล กล่าต่อไปอีกว่า ปัจจุบันกระแสการบริโภคข้าวเหนียวมีเพิ่มมากขึ้น แต่อุปกรณ์และวิธีการนึ่งข้าวเหนียวยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภค และเป็นการขยายตลาดมวยนึ่งข้าวให้เป็นที่รู้จัก จึงได้จัดทำเป็นชุดนึ่งข้าวเหนียวสำเร็จรูปขึ้น เพื่อแนะนำการนึ่งข้าวเหนียวให้เป็นที่รู้จักและเป็นการขยายตลาดให้กับข้าวเหนียว อีกด้วย โดยมีประวัติขององค์กรดังนี้ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเป้าเริ่มจัดตั้งเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2520 ตั้งอยู่เลขที่ 22 หมู่ที่ 7 ตำบลหนองขาม อำเภออาจสามารถ จัดหวัดร้อยเอ็ด มีจำนวนสมาชิก 68 ราย ดำเนินกิจกรรมสานมวยนึ่งข้าวและเข่งปลาทูจำหน่าย การบริหารจัดการองค์กร ในรูปแบบคณะกรรมการบริหารกลุ่ม นางอำคา ประทุมมาตย์ ประธาน, นางสะอาด นิสวงษ์ รองประธาน, นางอมรรัตน์ อ้อยทา เลขานุการ, นางทองดี ศิริวัฒน์ เหรัญญิก, นางสุวรรณ ประทุมมาตย์ ประชา, นางรัตนา ยอดศรี เหรัญญิก                นางอำคาประทุมมาตย์ ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเป้า กล่าวถึงแนวทางการบริหารงานกลุ่มว่าการแบ่งปันค่าตอบแทน 1.คณะกรรมการ 10% 2.สมาชิก 60% 3.ทุนสำรอง 20% 4.ค่าบริหารจัดการ 10% จุดเด่น 1.กลุ่มมีความเข้มแข็ง สามัคคี มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ชัดเจน 2.มีการลงบัญชีเป็นปัจจุบัน 3.ไม่มีผลิตคู่แข่งในพื้นที่ 4.มีเครือข่ายในการผลิตสินค้า 5.ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐบาลตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของจังหวัด ลักษณะผลิตภัณฑ์ชุดนึ่งข้าวเหนียวสำเร็จรูป ประกอบด้วยอุปกรณ์ในการนึ่งข้าวเหนียว มี 2 แบบ 1.ชุดหม้อดิน ประกอบด้วย หม้อดิน มวยนึ่งข้าว ข้าวเหนียว ผงใบเตยสมุนไพร ราคาจำหน่าย ขายปลีก ชุดละ 300 ขายส่ง จำนวน 100 ชุดขึ้นไป ราคาชุดละ 255 บาท ข้อดี ทำให้ข้าวมีกลิ่นหอม ใช้ได้ดีในพื้นที่เป็นน้ำเค็ม 2.ชุดหม้ออลูมิเนียม ประกอบด้วย หม้อนึ่งอลูมิเนียม มวยนึ่งข้าว กระติบข้าว ข้าวเหนียว ผงใบเตยสมุนไพร ราคาจำหน่าย ขายปลีก ชุดละ 350 บาท ขายส่ง ชุดละ 295 บาท ข้อดี ข้าวสุดเร็ว น้ำหนักเบาทนทาน                ลักษณะการบรรจุ การบรรจุมี 2 ลักษณะ 1.บรรจุด้วยต้นกกแบบถัก เป็นรูปทรงกระบอก สานเป็นรูปตาข่าย สามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ด้านใน ฉลากระบุวิธีการใช้ 2.บรรจุด้วยเสื่อกกเย็บ เป็นรูปทรงกล่อง เปิดฝาด้านบน ไม่สามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ด้านใน จึงถ่ายรูปผลิตภัณฑ์ติดไว้ที่ฉลาก ระบุวิธีการใช้                นางอำคา ประทุมมาตย์ กล่าวอย่างมั่นใจในศักยภาพของการทำงานว่า กลุ่มมีแผนงานแผนการตลาดที่ชัดเจน มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สำรวจตลาดเพื่อหาข้อมูลความต้องการของกลุ่มลูกค้า การเปิดตลาดใหม่ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์  วางจำหน่ายตามซูเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านจำหน่าย OTOP  ที่สำคัญคือการประชาสัมพันธ์และโฆษณาสินค้า ในแผนการผลิตปี 2549 ชุดนึ่งข้าวเหนียวสำเร็จรูป เดือนมีนาคม 300 ชุด เดือนเมษายน 300 ชุด เดือนพฤษภาคม 400 ชุด เดือนมิถุนายน 400 ชุด เดือนกรกฎาคม 400 ชุด เดือนสิงหาคม 500 ชุด เดือนกันยายน 500 ชุด                ประธานกุล่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเป้ากล่าวต่อไปอีกว่า แผนการลงทุน ต้นทุนในการผลิตชุดนึ่งข้าวเหนียวสำเร็จรูป (ชุดหม้อดิน) สามารถนึ่งข้าวเหนียวได้ ตามการประเมิณต้นทุนดังนี้ 1.ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม ราคา 15 บาท, 2.มวยนึ่งข้าวขนาดกลาง ราคา 28 บาท, 3กระติบข้าว ราคา 40 บาท, 4.หม้อดิน ราคา 28 บาท, 5.ผงสมุนไพร ราคา 2 บาท, 6.ฉลาก ราคา 5 บาท, 7.บรรจุภัณฑ์ ราคา 80 บาท, 8.กาว,ฟิลม์หด, วัสดุรองก้น ราคา 16 บาท ต้นทุนวัตถุดิบรวม 214 บาท ค่าบริหารจัดการ 19% 41 บาท รวมต้นทุนในการผลิต 255 บาท                 ส่วนต้นทุนในการผลิตชุดนึ่งข้าวเหนียวสำเร็จรูป (ชุดหม้ออะลูมิเนียม)ดังนี้ 1.ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม ราคา 15 บาท, 2.มวยนึ่งข้าวขนาดกลาง ราคา 28 บาท, 3.กระติบข้าว ราคา 40 บาท, 4.หม้ออะลูมิเนียม ราคา 60 บาท, 5.ผงสมุนไพร ราคา 2 บาท, 6.ฉลาก ราคา 5 บาท, 7.บรรจุภัณฑ์ ราคา 80 บาท, 8.กาว ฟิลม์หด วัสดุรองก้น ราคา 16 บาท ต้นทุนวัตถุดิบรวม 246 บาท ค่าบริหารจัดการ 20% 49 บาท รวมต้นทุนในการผลิต 295 บาท                นางอำคา ประทุมมาตย์ กล่าวว่า กลุ่มมีการวางแผนงบประมาณ ปี 2549 (ไม่รวมค่าจัดการ) ชุดนึ่งข้าวเหนียวสำเร็จรูป เดือนมีนาคม 64,200 บาท เดือนเมษายน 64,200 บาท เดือนพฤษภาคม 85,600 บาท เดือนมิถุนายน 85,600 บาท เดือนกรกฎาคม 85,600 บาท เดือนสิงหาคม 107,000 บาท เดือนกันยายน 107,000 บาท พร้อมประมาณการรายได้ ปี 2549 ชุดนึ่งข้าวเหนียวสำเร็จรูป เดือนมีนาคม 76,500 บาท เดือนเมษายน 76,500 บาท เดือน พฤษภาคม 102,000 บาท เดือนกรกฎาคม 102,000 บาท เดือนสิงหาคม 127,500 บาท เดือนกันยายน 127,500 บาท                ประมาณการผลตอบแทน(รวมค่าบริหารจัดการ) ปี 2549 ชุดนึ่งข้าวเหนียวสำเร็จรูป เดือนมีนาคม 12,300 บาท เดือนเมษายน 12,300 บาท เดือนพฤษภาคม 16,400 บาท เดือนมิถุนายน 16,400 บาท เดือนกรกฎาคม 16,400 บาท เดือนสิงหาคม 27,500 บาท เดือนกันยายน 27,500 บาท                แผนการบริหารเงินทุน                แผนที่ 1 ในการรับซื้อวัสดุอุปกรณ์จากกลุ่มเครือข่าย กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเป้า มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียน จำนวน 100,000 บาท ในปีที่ 1 ระยะเวลาส่งคืนไม่ต่ำกว่า 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 3/ปี จึงจะสามารถดำเนินการผลิตได้                แผนที่ 2 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเป้าจัดทำข้อตกลงกับกลุ่มเครือข่ายในการชำระเงินภายหลัง หรือ จ่ายก่อน 50%                 แผนที่ 3 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเป้าสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ 2 ครั้ง ใน 1 เดือน เพื่อลดปริมาณการใช้เงินลงในแต่ละงวด                ระยะเวลาคืนทุน เงินกู้ 100,000 บาท ระยะเวลา 5 ปี ดอกเบี้ย ร้อยละ 3 บาท/ปี                ระยะเวลาคืนทุน 6 เดือน ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ 1.ความต้องการของตลาด 2.คุณภาพผลิตภัณฑ์ระหว่างเครือข่าย 3.การประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จัก 4.การประสานงานระหว่างกลุ่มเครือข่าย 5.การส่งสินค้าตรงเวลา 6.ราคาเหมาะสม 7.การชำระเงินสินค้าตรงเวลา 8.การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนบางส่วนแก่กลุ่มองค์กรหลักและกลุ่มเครือข่าย                ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ข้าวเหนียว มวยนึ่งข้าว เสื่อกก หม้อดิน กระติบข้าว และผงใบเตยสมุนไพร 2.สร้างรายได้ให้กับเกษตร 304 รายๆละ 2,000 บาท / เดือน 3.เป็นการขยายตลาดให้เป็นที่รู้จัก         

  •        ข้อมูลกลุ่มเครือข่ายการผลิต                 1.บรรจุภัณฑ์สลาก 1.1กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสองชั้น หมู่ 13 ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวนสมาชิก 50 ราย ผลิตภัณฑ์ กล่องบรรจุแบบทรงกลมแบบถัก กำลังการผลิต 1,000 ใบ / เดือน ราคาขายส่ง 80 บาท / ใบ กำไรสุทธิ (รวมค่าแรง) 30 บาท / ใบ 1.2 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้างแก่ง ตำบลเชียงขวัญ กิ่งอำเภอเชียงขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวนสมาชิก 15 ราย ผลิตภัณฑ์ กล่องบรรจุแบบกล่องสี่เหลี่ยมตัดเย็บ กำลังการผลิต 3,000 ใบ/เดือน ราคาขายส่ง 80 บาท/ ใบ กำไรสุทธิ (รวมค่าแรง) 25บาท/ใบ                2.กระติบข้าว 2.1กลุ่มจักสานกระติบข้าว บ้านโพธิ์คำ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวนสมาชิก 15 ราย ผลิตภัณฑ์ กระติบข้าว ราคาขายส่ง 40 บาท/ใบ กำไร 25 บาท/ใบ 2.2กลุ่มจักสานกระติบข้าว บ้านเป้า, บ้านหนองขาม อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวนสมาชิก 10 ราย ผลิตภัณฑ์ กระติบข้าว กำลังการผลิต 2,000 ใบ/เดือน ราคาขายส่ง 28 บาท/ใบ กำไร 15บาท/ใบ                3.ข้าวเหนียว 3.1ศูนย์ผลิตข้าวชุมชน อำเภออาจสามารถ, อำเภอเมืองร้อยเอ็ด ราคาขาย 15บาท/กิโลกรัม                4.ผงสมุนไพร 4.1 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรรักษ์สมุนไพรบ้านชุมพร อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวนสมาชิก 20 ราย ผลิตภัณฑ์ ผงสมุนไพร กำลังการผลิต 7,200 ซอง/เดือน ราคาขายส่ง 2 บาท/ซอง กำไร 1 บาท/ซอง                5.หม้อดิน 5.1 กลุ่มปั้นดินเผา หมู่ 1, 2, 3, 4 กิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวนสมาชิก 24 ราย ผลิตภัณฑ์ หม้อดิน ราคาขายส่ง 60 บาท/ ใบ กำไร 15 บาท/ใบ 5.2 กลุ่มปั้นดินเผา บ้านไทยเจริญ ตำบลหนองขาม อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวนสมาชิก 53 ราย ผลิตภัณฑ์ หม้อดิน กำลังการผลิต 4,000 ใบ/เดือน ราคาขายส่ง 28 บาท/ใบ กำไร 15บาท/ใบ

  • สามารถสั่งจองจากกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเป้า หมู่ที่ 7 ตำบลหนองขาม อำเภออาจสามารถ หรือที่นายชัยศักดิ์ สวนสีดา เกษตรอำเภออาจสามารถ หรือที่นายสมเกียรติ รัตนเมธาธร นายอำเภออาจสามารถ หรือที่นางสาวยวงเพชร อิฐรัตน์ สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด โทร.0-4356-9004-5

  • นางอำคา ประทุมมาตย์ ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านเป้า กล่าวว่า ทางด้านการตลาดชุดมวยนึ่งข้าวขณะนี้กรมส่งเสริมการเกษตรนำไปวางที่ห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพมหานคร และศูนย์แสดงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ภายในตัวเมืองร้อยเอ็ด ถนนเปรมประชาราษฎร์ นอกจากนั้นวางที่ห้องโชว์สินค้า OTOP ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด และที่อาคารสถาบันเกษตรกร ถนนแจ้งสนิท หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ถนนแจ้งสนิท อำเภอธวัชบุรี โทร.0-5010-7947 คุณปุ๊กกี้ เป็นการพัฒนาสินค้าต่อเนื่องของเกษตรกรสู่สากล ทั้งการบรรจุภัณฑ์ เพิ่มมูลค่านางอำคา ประทุมมาตย์ กล่าวอีกว่า สำหรับไม้ไผ่ที่กลุ่มนำมาใช้ผลิตทั้งจากการปลูกเองตามหัวไร่ปลายนา และซื้อตามชุมชน ใกล้เคียง พื้นที่ตำบลบ้านขามส่วนใหญ่มีอาชีพต่อเนื่องจากการทำนา มาสู่งานจักสาน สร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง การจักสานมวยนึ่งข้าวชาวบ้านเป้าถือเป็นอาชีพที่มีความชำนาญ มือใหม่ จักสานได้ 2-3 ใบ มือชั้นครู 5-7 ใบ ส่วนหม้อดินที่เป็นฐานนึ่งข้าวเหนียว ประชาชน ชุมชนมีการดำเนินการด้านเครื่องปั้นดินเผา ฝีมือดีเยี่ยมงานในชุมชนสร้างชุมชน ส่วนหม้ออะลูมีเนี่ยม หาซื้อจากตลาดสด หากซื้อเป็นชุดใหญ่ราคาส่ง กลุ่มมีกำไร การผลิตเป็นชุดนึ่งข้าวเหนียว กลุ่มสามารถผลิตได้อย่างน้อย 100 ชุดหรือมากกว่า หากมีตลาดต้องการรับรองว่า ปัจจัยการผลิตพร้อม แรงงานเพียงพอ ขอให้ส่งเข้ามารับรองว่าฝีมือดีเยี่ยม จากกลุ่มฯบ้านเป้า อำเภออาจสามารถ   

  • วัชรินทร์ เขจรวงศ์

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรสิงขร
หมายเลขบันทึก: 143371เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2007 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สินค้าราคาถูกจริงๆ อยากนำไปขายต่อจัง

สวยมากค่ะ..ทำให้รู้สึกว่าเป็นชุดนึ่งข้าวเหนียวที่น่าเก็บเอาไว้โชว์มากกว่านำเอาไปใช้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท