คนรู้ใจ
นาย ธนัฐตรัยภพ ลางคุลานนท์

เรื่องที่ 1 ไข้เลือดออก ผสม เลปโตสไปโรสิส


ไข้เลือดออก ผสม ไข้ฉี่หนู(เลปโตสไปโรสิส)

เรื่องที่ 1 การตายแบบบูรณาการ

        ผมเป็นนักวิชาการสาธารณสุข ครั้งหนึ่งได้รับข้อมูลจากอาจารย์แพทย์ที่เคารพนับถือ  ท่านเล่าให้ฟังว่า การเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก กับ การเจ็บป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรสิส(ไข้ฉี่หนู) ในระยะแรกของการป่วยนั้น จำแนกแยกจากกันเพื่อให้ระบุการวินิจฉัยลงไปนั้นทำได้ยาก

        ก็มีไข้เหมือนกัน กว่าไข้จะลดก็เข้าไปวันที่ 3 ถ้าตัวเย็นลงแต่ไม่สดชื่นเท่าที่ควรจะเป็น แถมผลเจาะเลือดฮีมาโตคริตมีค่าสูงเกินปกติ แพทย์ถึงจะระบุได้ว่าน่าจะไข้เลือดออก รักษาที่โรงพยาบาลไม่ทันอาจตาย

        ส่วนเลปโตสไปโรสิสนั้น ก็ไข้เหมือนกันอีก 5 วันถ้าไม่ได้รับยาที่ถูกต้องก็ตายอีก

        ลองคิดดูว่า ถ้าเผื่อเป็นทั้งสองอย่างในวาระเดียวกัน พอจะเรียกว่าตายแบบบูรณาการได้หรือไม่

        เวปอื่นๆเรื่องไข้เลือดออก เรื่องเลปโตสไปโรสิส มีให้หาข้อมูลดาษดื่น ผมจะไม่พูดซ้ำและไม่ได้ทำลิ้งค์ให้(มือหัดใหม่ ทำเป็นจะฝากลิ้งค์ของอาจารย์แพทย์ท่านไว้ให้ศึกษา)  มาเรื่องถนัดของผมเถอะครับ  คือเรื่องการควบคุมโรคไข้เลือดออก

        ครั้งหนึ่ง เจ้านายจังหวัดท่านสั่งให้นักวิชาการ.... เข้าไปดูในพื้นที่ซิว่า ทำไมไข้เลือดออกมันถึงไม่หยุดไม่หย่อนลงซะที   ผมเข้าไปในพื้นที่แล้วพบเห็นสภาพ จึงรายงานมาให้เจ้านายท่านทราบดังนี้

1. ที่นายท่านได้รับรายงานค่าดัชนีลูกน้ำยุง จากพื้นที่ก่อนหน้าที่ผมได้เข้ามานั้น คงใช้ไม่ได้แล้วล่ะขอรับ (ค่าดัชนีลูกน้ำยุง ได้จากการสำรวจดูว่า ในแต่ละหลังคาเรือนมีลูกน้ำยุงอยู่หรือไม่เท่าใด) เพราะไม่ต้องฉายไฟฉายลงไปหาให้ยาก แค่เอานิ้วมือจุ่มลงไป ลูกน้ำยุงมันก็มาแทะนิ้วผมเล่นอย่างสนุกสนานแล้ว

2.ชาวบ้านไม่สนใจ รอคอยให้หมอ(อนามัย)มาจัดการ "ก็หน้าที่หมอเนอะ" 

3.ผู้นำชุมชน อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุข) ไม่ได้จัดแบ่งภารกิจ ไม่มีผังหลังคาเรือนที่รับผิดชอบให้ควบคุมลูกน้ำ ป้าดโท้......เจ้าพากันทำอะไรอยู่หนอ

4.สถานีอนามัยรอคอยให้อำเภอมาช่วย  (ก่อนหน้าผมเข้ามา มีอีกทีมหนึ่งจากหน่วยหนึ่งเข้ามากันแล้ว พอทีมผมมาก็แสดงความไม่พอใจ ไปฟ้อง......ว่า ผมล๊อบบี้คำสั่ง ว่าซ้าน........ ผมอยากจะบอกอยู่หรอกว่า  ผมล็อบบี้คำสั่ง หรือล็อบบี้เจ้านายไม่เป็นเหมือนคุณหรอกครับ เขียนคำว่าล็อบบี้นี่ก็ยังไม่แน่ใจเลยว่าจะเขียนถูกหรือเปล่า ทำไมไม่ไปถามเจ้านายเองว่า ทำไมเลือกให้ผมเข้ามา  ก็โรคมันยังไม่สงบลงซะทีนี่ขอรับ(เว้ย) นายเลยส่งผมเข้ามาแทนทีมคุณ   หาได้เสนอหน้ามาเองไม่ ยังไม่นับว่ามาถามเสียดสีผมอีกว่า รู้จักบ้านคนนั้นคนนี้ไม๊อีก โท่โถ... ผมเพิ่งเข้ามาคืนเดียวเองจะไปรู้หมดเหมือนที่คุณเข้ามาตั้งสองอาทิตย์แล้วได้จั่งใดครับ บ้าน 4 หมู่ๆละเป็นร้อยหลังคานะขอรับ

5.องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เคยประสานเขา ผมเคยแจ้งในที่ประชุมอำเภอไปหลายเพลาบ่อยมากจนเบื่อตัวเองแล้วว่า....อันว่าองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ที่นี่มีทั้งเทศบาล มีทั้งอบต. เนื่องจากเขตติดๆกันน่ะ เข้ายังไม่รู้เหตุไม่รู้สถานะการณ์ ขอบอกว่า กฏหมายให้เขาเป็นใหญ่ในพื้นที่ มีหน้าที่ป้องกันและควบคุมโรคให้สงบ คุณใหญ่แค่ไหนก็ไม่เท่าเขาหรอก ทำไม่ไม่เข้าไปประสานกับเขา

6.โรงพยาบาลที่เป็นพี่เลี้ยงแถวโซนนี้ คุณก็ไม่ไปขอความร่วมมือเขาเลย

ทั้ง 6 ประการนี้ ผมเข้ามาพบ ต้องสะสางไปทีละข้อ ผมไม่พูดในที่นี้ว่าทำอย่างไร เพราะผมเชื่อว่าทุกคนก็ทำได้  ในที่สุดเมื่อได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย โรคระบาดครั้งนี้ก็สงบลงโดยเร็ว ด้วยองค์ประกอบนี้สามารถดัดแปลงใช้ควบคุมโรคติดต่อในชุมชนได้หลายโรคนะ    สิ่งที่ผมประทับใจจากการสงครามกับลูกน้ำยุงในครั้งกระนั้น ถ่ายทอดเป็นKMให้ท่านที่สนใจได้รับรู้ดังนี้

1. น้ำใจคน คนใจร้าย ขี้อิจจา  ฯลฯ มีจริงนอกจอ  ไม่ได้มีแต่ในTV.น้ำเน่า น้องๆที่จบมาใหม่กรุณาอย่าเอาเป็นเยี่ยงอย่าง ให้มันหมดไปกับหนังเกาหลีเถอะ  และระมัดระวังอย่าไปสุงสิง หรือถ้าคิดว่าเป็นพวกเขาไปเลยเขาจะไม่ทำร้าย......ฮ่าฮ่า....ผมก็เคยคิดอย่างนั้น  แต่ต่อมาผมเห็นแล้ว ไม่ใช่หรอกน้อง           ..........เรื่องนี้ต้องบันทึกไว้ เพราะผมมาเรียนป.โท.บริหารสาธารณสุข มข.นี่ ระบุว่ามันเป็นเรื่องความขัดแย้งภายในองค์การครับ ผู้บริหารต้องรับทราบและหาทางแก้ไข ไม่ปล่อยไว้เพราะองค์การจะไม่รอด นี่อาจารย์ที่สอนเขาว่าอย่างนั้น

2.อปท.เขาดีมากๆเลย เอาใจใส่อย่างยิ่ง ตัวนายก ทั้งเทศบาล ทั้งอบต. มาร่วมกันกำกับดูแล ช่วยชาวบ้านกำจัดลูกน้ำ แจกวัสดุกำจัดลูกน้ำกันเห็นๆ หลายค่ำหลายคืนต่อๆกัน เจ้านายก็คงดีใจที่เห็นเขาเข้าพื้นที่ด้วย อย่ามาอ้างได้ไม๊ว่าเขาไม่ได้เตรียมงบ  

3.อันว่า อสม.นั้น เขาเป็นผู้เสียสละ ทำงานให้แก่เพื่อนร่วมชุมชนหมู่บ้าน ทำไมพวกหมอชอบไปสั่งงานเขาแวะๆ  ลองพาเขาคิดเองทำเองบ้าง เชิดชูยกย่องให้เกียรติเขาต่อหน้าชุมชน ต่อหน้าแขกผู้ใหญ่ผู้โต ชุมชนจะได้เข้มแข็ง ดูแลตัวเองให้พ้นภัยไข้เลือดออกได้เอง เพราะมันเป็นเรื่องที่ชาวบ้านทำได้เองอยู่แล้ว แค่กำจัดลูกน้ำเฉยๆ โบสถ์เป็นหลังเบ้อเร่อเขายังสร้างขึ้นมาได้น้อ

4.หมออนามัยควรร่วมกับอปท. ติดตามดูแลให้ต่อเนื่อง เพราะโรคไข้เลือดออกนี้มักจะมาเยี่ยมทุกปี ตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานจนเกษียณคากัน มันก็ลูกน้ำหน้าเก่าๆ ......จะสงสารมันไปถึงไหน

5.ป้องกันดีกว่าปล่อยให้ป่วยให้ตาย ซุมบ้านนี้มีตายแล้วด้วยยังเฉยๆป้อไปป้อมากันอยู่ ป้าด......

6.หน้าที่ก็คือหน้าที่ ได้ไปทำถือว่ามี"ขวัญ"แล้ว ทำเสร็จโรคสงบถือว่ามี"กำลังใจ"แล้ว   อย่าไปถามหาขวัญกำลังใจกันอีกเลย  มันได้อยู่แล้วดังที่บอกนั่นแหละท่าน.....  ส่วนนายท่านจะพิจารณาให้ใครพิเศษอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เป็นอำนาจเป็นดุลยพินิจของท่าน  ก็รู้อยู่ ทำใจให้สบายเป็นสุขกว่า บางคนบอกผมว่า ตั้งแต่ทำงานราชการมานี่ ไม่เคยได้2ขั้นซักที.........มาบ่นให้ผมฟังผมก็ช่วยอะไรไม่ได้หรอก  เอาอย่างนี้ดีไม๊ครับ ลองทำอย่างคนที่เขาได้ทุกปีดูซิ ถ้าคุณทำได้เหมือนเขาคุณก็คงได้บ้างแหละน่า.....

7. การปฏิบัติงานควบคุมโรคต้องทำตามหลักวิชาการ และในบรรยากาศประสานงานทุกฝ่าย ไม่มีพระเอก มีแต่ทีม

เรื่องการตายแบบบูรณาการยังไม่จบ ต่ออีกนิดได้ว่า ที่ตำบลหนึ่ง อำเภอหนึ่ง จังหวัดหนึ่ง มีเหตุตายแบบบูรณาการนี้แหละ เข้าไปสอบสวนพบว่าผู้ตายเป็นเด็กนักเรียนประมาณ ป.4 สุขภาพเดิมก็ไม่ค่อยดีอยู่แล้ว Caseนี้ผมอยากบันทึกไว้แบบนี้

1. สุขภาพไม่ดี พัวไฮยีนแบบนี้ มาจากการดูแลไม่ดี ไม่เอาใจใส่จากผู้ปกครอง   นั่นก็ใช่  แต่ปัญหาสังคมต้องสังคมแก้ไขด้วย  ระบบการดูแลเด็กวัยเรียนต้องได้รับการปัดฝุ่น มาดูกันใหม่ทั้งหมู่บ้านว่า มีเด็กต้องดูแลกี่คน แต่ละคนมีปัญหาอะไร แก้ไขป้องกันบรรเทาอย่างไร หน่วยงานหรือใครบ้างจะมีส่วนร่วมกันนอกจากหมอ  น่าจะเรียกได้ว่า นำข้อมูลCommunity folder มาทำแผนสุขภาพหมู่บ้าน  (ผมว่าป่านนี้ตำบลนี้ก็คงมีแผนร่วมแบบนี้แล้วล่ะ ตำบลจะมีแผน มีการทำงานตามแผนเพราะ"หัว"ขยับนั่นเอง)

2.มีศูนย์วิชาการเข้ามาร่วมสอบสวนโรคด้วย เมื่อเด็กตายแล้ว ก็ดีอยู่หรอกครับ แต่จังหวัดนั้น....เป็นที่ตั้งของศูนย์วิชาการมากมาย ผมเชื่อว่าถ้าทำแผนร่วมกันแต่ต้นปี หน่วยงานทุกระดับ คงจะมาร่วมกันทำงานก่อนจะมีคนตายนะครับ  (เวลาทัวร์คือเวลาทำแผน)

3.การส่งสัญญาณจากพื้นที่ ถึงจุดรับแจ้งเหตุรับบริการ มีอยู่หรือไม่ ดีเพียงใด Caseนี้ควรศึกษาว่า ส่ง(Refer)ช้าเพราะอะไร จะแก้ไขอย่างไร  จะป้องกันความเสี่ยงนี้ด้วยแผนใด ในชีวิตราชการอย่างพวกเราระดับใกล้เกษียณ   ลอกที่เขาคุยกันมาทำเลยก็ได้ครับ เขาเขียนไว้หมดแล้วล่ะว่าแต่ละCaseที่ตายทำไมส่งช้า  เหลือแต่เอามาทำให้จริงจัง จริงใจ ต่อเนื่อง ผมเขียนคำว่าจริงใจนั้น ผมไม่ได้เขียนเล่น ผมเขียนเพื่อให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา คิดว่าถ้าลูกเราต้องตายเพราะเหตุส่งช้ามันควรปรับปรุงแก้ไขป้องกันประตูไหนบ้าง  รับรองดูดี  แต่ถ้ายังมาพูดกับผมว่า ก็เด็กมันพัวไฮยีน แม่ไม่ดูแล ไปซื้อยากินเขาบอกกลับมาบ้านก็ได้  บอกผมอยู่อย่างนี้ รับรองครับ คอยต่อโลงไว้เลย มีตายอีกแน่ๆ

เอาแค่นี้คงพอสรุปได้ว่า ระดับใด ควรทำอะไร ปัญหาในมีอะไร ปัญหานอกมีอะไร และจะบริหารอย่างไร

ขอให้โชคดีและสุขภาพดีครับ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 143268เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2007 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท