ดมยาสลบท่าคว่ำ...ทำผ่าตัดคอ


อยากรู้ไหมว่า...จะผ่าตัดท่าคว่ำบริเวณด้านหลังคอ...จะอยู่ท่าไหนกัน

หลายท่านอ่านแล้วคิดในใจว่า  ตัดคอไม่ต้องพึ่งทีมดมยาสลบหรอก...อีโต้อันเดียวก็คอขาดแล้ว....

ฉันมิได้หมายถึงคอคุณพ่อบ้านที่ชอบกลับดึกๆดื่นๆ  หรือคอคุณแม่บ้านที่พูดทั้งวันไม่หยุด....   แต่ฉันหมายถึง กระดูกคอของผู้ป่วยที่เคลื่อนจากสาเหตุใดก็ตามที่เซ็ทมาทำผ่าตัดบริเวณคอด้านหลัง

เป็นความยากลำบากในการใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อควบคุมการวางยาสลบ  เพราะขณะเปิดปากเพื่อสอดท่อช่วยหายใจต้องไม่ให้กระดูกคอเคลื่อน.....    เราต้องใช้คนช่วยจับหน้าให้ตรง นิ่ง ไม่แหงนหน้าจนกระดูกคอเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทมากขึ้น   คนสอดท่อช่วยหายใจต้องมืออาชีพ ..... มิใช่ผู้ฝึกหัดใหม่ๆ...ไม่งั้นป่วยเบาะๆ เบาๆ จะเป็นป่วยหนัก...ชาแขนขาน้อยอาจจะกลายเป็นชาทั้งตัวก็จะเดือดร้อนกันไปทั้งหมด   หรืออาจจะพิจารณาใช้เทคนิคอื่นตามความเหมาะสม

 

ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักนอนเตียงที่เรียกว่า striker frame  เรียกว่าพอหลับสลบก็สามารถจับพลิกเป็นคว่ำเหมือนปลาในตะแกรงที่ถูกพลิกไปมาแต่ตัวไม่ขยับเขยื้อน 

ผู้ป่วยนอนคว่ำโดยมีผ้านุ่มรองรับแรงบริเวณหน้าผาก  และคาง บริเวณตา จมูก  และปากโล่ง  อิสระ  ไม่มีอะไรกดทับ  ป้ายตาและปิดพลาสเตอร์ (ภาพนี้พลาสเตอร์ถูกลอกออกโดยบังเอิญขณะตรวจสอบการกดทับค่ะ)

อาจารย์วิสัญญีแพทย์เริ่มการดมยาสลบเสร็จก็เฝ้าผู้ป่วยไปด้วย...สอน นศพ.ไปด้วยค่ะ

การเฝ้าระวังของทีมดมยาสลบจะมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในเรื่องของการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจ...โดย

·        พลาสเตอร์ติดท่อช่วยหายใจเหนียวแน่น  ไม่หลุดง่าย  บางคราวใช้ ทิงเจอร์ เบนซอยด์ (Tr. Benzoid) ทารอบปาก  พอหมาดๆก็ใช้เทปผ้าเหนียวติดทับ  จะติดแน่นอยู่ได้นาน   แต่ต้องระมัดระวังอาจแพ้ทิงเจอร์ เบนซอยด์ พองได้...

·        หากไม่มีข้อห้ามก็สามารถให้ยาลดการหลั่งของน้ำลาย(atropine)ได้ตั้งแต่ก่อนคว่ำ... ก่อนพลิกคว่ำควรดูดเสมหะ  น้ำมูกน้ำลายที่มีมากขึ้นจากการกระตุ้นตอนใส่ท่อช่วยหายใจออกให้เกลี้ยงเสียก่อน   จะได้ไม่ไหลเลอะเทอะทำให้พลาสเตอร์ลอกหลุดได้ง่ายเช่นกัน....

........จากนั้นก็เริ่มกระบวนการผ่าตัด

   การเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยก็ใช้มาตรฐานทางวิชาชีพเช่นเดียวกันกับการผ่าตัดทั่วๆไปค่ะ...

 

·        การใส่ใจกับการปรับขนาดและเติมยาอย่างเหมาะสม  เมื่อการผ่าตัดยังดำเนินอยู่เป็นสิ่งสำคัญ  เพื่อไม่ทำให้ผู้ป่วยไอขณะผ่าตัดเพราะเส้นประสาทที่สำคัญอาจจะโดนเครื่องมือผ่าตัด  เกิดภาวะแทรกซ้อนได้

 

·        การประเมินการถอดท่อช่วยหายใจ   ต้องพูดคุย  สื่อสารกันในทีมให้มั่นใจว่าการถอดท่อออกไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย  บางคราวจำเป็นต้องคาท่อช่วยหายใจไว้ก่อน  บางรายตื่นจากการสลบดีแล้วก็สามารถถอดท่อได้เลย

.......ผู้ป่วยรายนี้เราเพิ่ม Esophageal stethoscope (เป็นอุปกรณ์ที่สอดผ่านปากเข้าไปตำแหน่งหลอดอาหาร)  ใช้เฝ้าติดตามเสียงการหายใจและการเต้นของหัวใจไปพร้อมๆกันได้ตลอดการผ่าตัดค่ะ...เรียกว่าหากท่อช่วยหายใจหลุด  หักพับ  หรือหัวใจเต้นผิดปกติก็จะทราบได้ทันที....หากฟังอยู่ตลอดเวลา.......

 ในสมัยใหม่ที่มีเครื่องวัดคลื่นระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจออกเป็นตัวช่วยดูการหายใจที่มีตลอดเวลาได้  บางท่านไม่เห็นความสำคัญของ esophageal stethoscope  ...แต่โดยส่วนตัว  ผู้เขียนยังชอบใช้เพราะสามารถได้ยินเสียงเสมหะในหลอดลมและบอกปริมาณลมที่เข้าได้ดี

เห็นแบบนี้แล้วก็ไม่น่ากลัวอันตรายจากการดมยาสลบท่าคว่ำอย่างที่คิดค่ะ

 

ทีมดมยาสลบ....น้อง(สวย)สุดใจ...ดูมีความสุขมากๆในการทำงานค่ะ

....ดูทีมแพทย์ผ่าตัดซีคะ  น่ารักจะตายไป.....

(ขอขอบคุณ :  http://jakewalksagain.com/stories.html ที่มีภาพตัวอย่างเตียงให้ดูค่ะ)

หมายเลขบันทึก: 142546เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2007 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับคุณติ๋ว

มาเก็บเกี่ยวความรู้ครับ ตอนเป็นเด็กเมื่อผู้ใหญ่ถามว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ก็บอกว่าอยากเป็นนายแพะ เพราะตอนเด็กขี้โรคไปหาหมอโดนจับฉีดยาบ่อย เลยอยากเป็นนายแพะจะได้ฉีดยาคนอื่น อิอิ

สวัสดีค่ะ ท่านบัณฑูร

  • เห็นท่านสนุกกับการบันทึกก้พลอยมีความสุขไปด้วยค่ะ
  • ตอนนี้ดิฉันไม่ค่อยได้ออกนอกบ้านบันทึกสักเท่าไหร่ค่ะ..ต้องขอประทานโทษท่านที่ไม่ได้ไปเยี่ยมยาม
  • อยากนำภาพ...นายแพะทีมผ่าตัด..มาฝากท่านค่ะ..แต่เอาไฟล์ขึ้นไม่ได้สักที (ตอนนี้ net ค่อนข้างแย่ค่ะ)
  • ขอบคุณท่านค่ะที่มาให้กำลังใจกันเสมอค่ะ

สวัสดีค่ะ ยินดีที่ได้เข้ามาคุนด้วยอีกนะคะ ขอบคุณสำหรับความรู้ทาง ออนไลน์

สวัสดีค่ะ คุณหนึ่ง

  • ขอบคุณค่ะที่เข้ามาทักทายให้กำลังใจกันค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท