dent


ประเภทของวัสดุอุดคลองรากฟัน
(Root Canal Filling Material)
จากอดีตจนถึงปัจจุปันมีวัสดุอุดคลองรากฟันมากมายหลายชนิดให้เลือกใช้ในลักษณะต่าง ๆ กัน ตั้งแต่เป็น
  1. แท่งแข็ง เช่น silver cone
  2. กึ่งแข็ง semisolid material เช่น กัตตาเปอร์ชา
  3. คลายแห้งเปียก paste type เช่น ROCANAL Hydron

  ที่นิยมใช่อย่างกว้างขวางมาเป็นเวลานานกว่า 100 ปี และให้ผลสำเร็จของการรักษามากว่า ร้อยละ 90 คือ กัตตาเปอร์ชาเนื่องจากเป็นสารที่ค่อนข้างเฉื่อย จึงไม่ก่อให้เกิดอัตรายร้ายแรงต่อเนื้อเยื่อปลายรากเมื่อมีการอุดกิน วิธีการใช้ไม่ยุ่งยากให้ความแนบสนิทกับผนังคลองรากฟันพอสมควร ทำให้นิ่มและอ่อนตัวได้โดยใช้ความร้อน ในกรณีต้องการความแนบสนิทของวัสดุอุดคลองรากฟันกับผนังคลองรากฟันเพื่มหรือ เมื่อต้องการที่จะให้วัสดุอุดเข้าไปในบริเวณที่มีลักษณะขรุขระของคลองราก นอกจากนี้ยังสามารถรื้อออกได้ง่ายโดยการกรอ ใช้ความร้อนหรือสารเคมี เช่น xylene และ chloroform เป็นต้น ในกรณีที่ต้องการจะรักษาใหม่เนื่องจากเกิดความล้มเหลวของการรักษา หรือในกรณีที่ต้องทำเดือยเพิ่มเข้าไปในคลองรากฟันเพื่อการใส่ฟันในภายหลัง

1.กัตตาเปอร์ชา

2.ซิลเวอร์โคน

3.Paste as Root Canal Filling

3.1 Hydron

3.2  Lee Endofill

1.กัตตาเปอร์ชา
มีส่วนประกอบของ
zinc oxide ร้อยละ 75
กัตตาเปอร์ชา ร้อยละ 20
ที่เหลือเป็นส่วนประกอบของสารที่ทำให้เกิดสี และทำให้ทึบแสงรังสี ที่มีขายในท้องตลาดมีให้เลือกใช้ 2 แบบ คือ
  1. Standardized

 

มีขนาดต่าง ๆ ตามขนาดของเครื่องมือขยายตั้งแต่ขนาด 15 ถึง 140 ชนิดนี้จะมีลักษณะรูปร่างเรียวเช่นเดียวกับเครื่องมือขยาย

2.Non - standardized (conventional)

มีขนาด  Extra - fine (XF) ,Fine-Fine(FF) เป็นต้น

 

จะไม่มีขนาดบอกเป็นตัวเลข ส่วนปลายของแท่งจะเล็กในขณะที่ส่วนบนของแท่งจะมีขนาดใหญ่ เช่น Fine-medium ส่วนปลายจะเล็กขนาด fine ส่วนตัวแท่งด้านบนจะเป็นขนาด medium สีของกัตตาเปอร์ชา โดยทั่วไปเป้นสี่ชมพู

ในปัจจุบันกัตตาเปอร์ชาของบางบริษัทผลิตออกมาขายเป็นสีต่าง ๆ ตามสีของเครื่องมือขยายหรือเคลือบสีเฉพาะส่วนบนของแท่งซึ่งเป้นการเพิ่มความสะดวกในการเลือกใช้

back

2.ซิลเวอร์โคน (Silver Cone)

สำหรับ Silver cone นั้นก่อน 20 ปีที่ผ่านมาเป้นที่นิยมใช้เช่นเดียวกับกัตตาเปอร์ชา เนื่องจากมีขนาดต่าง ๆ ให้เลือกใช้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังแข็งและยืดหยุ่นได้มากกกว่ากัตตาเปอร์ชา สามารถใส่ไปตามคลองรากที่โค้งได้ดีกว่า กัตตาเปอร์ชา แต่ในระยะหลัง ๆ มีรายงานถึงความล้มเหลวของการใช้ silver cone อุดคลองรากฟัน เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก corrosion product ของ silver ทำให้เกิดรอยโรครอบรากและผู้ป่วยมีอาการปวด  ในกรณีที่อุดแล้วมีการรั่วซึมของอขงเหลวเข้ามาสัมผัสกับ Silver cone นอกจากนี้ทันตแพทย์ มักพบปัญหาในการรื้อ silver cone ออก ในกรณีต้องรักษาคลองรากฟันใหม๋หรือเมื่อต้องทำเดือยเม เพราะการที่จะใช้คีมลงไปในคลองรากฟันนั้น จะต้องกรอเนื้อฟันออกมากทำให้รากฟันแตกหักง่าย และเป็นการเสี่ยงต่อการทะลุออกนอกคลองรากฟัน จึงทำให้ silver cone เป็นวัสดุที่ไม่นิยมนำมาอุดคลองรากฟันอีกต่อไป

back

คำสำคัญ (Tags): #dental
หมายเลขบันทึก: 141072เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2007 09:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท