ปฏิบัติการกวาดล้าง(UTI)การติดเชื้อในโรงพยาบาล ใครทำ


ไม่ร่วมไม่ได้ ไม่สำเร็จ

คุณเป็นใครไม่สำคัญ แต่เราเห็นคุณมีคุณค่าทุกหน่วยทุกพื้นที่กี่ตารางนิ้วที่ย่างก้าวคุณคือผู้หนึ่งที่ทำให้งานเราสำเร็จได้ถ้าประสานใจให้ความร่วมมือ

 http://gotoknow.org/blog/km3b/105828

 

หมายเลขบันทึก: 140983เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2007 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
เรื่อง: หนูอยากถ้าม อยากถามมันคาใจค่ะ ตอบโดยอ้างข้อความ

เรื่องมีอยู่ว่า
ผู้ป่วยของหนู มาด้วย DM foot แล้วมีปัญหาทั้งควบคุมเบาหวานไม่ได้ ต่อมาต้องทำ CAPD ค่ะ มีปัญหา BPH ด้วยต้อง retain foley catheter นานมากกว่า 4 สัปดาห์ แล้วติดเชื้อMRSA ที่แผลก่อนนะคะ แล้วมาติดที่ CAPD ต่อมาก็ติดที่ urine ค่ะ แต่antibiotic ไม่เปลี่ยน อาการก็ไม่เปลี่ยนแปลงมาก
ได้ Tozocine ตลอดตั้งแต่ติดเชื้อที่แผลแล้ว อย่างนี้หนูต้องเก็บติดเชื้อที่CAPD กับ urine ไหมคะ?
เรื่อง: นี่ก็ติดเชื้อค่ะ เดิม ตอบโดยอ้างข้อความ

คุณยายอายุ 70 ปีมาด้วยมีเลือดออกในสมอง ความดัน เบาหวานเป็นธรรมดา ที่ตามมาติดๆ
ที่สำคัญผิวหนังคุณยายลอกง่าย(Burn น่ะค่ะ) แล้วมีถ่ายเหลวตลอด เริ่มแรกก็ติดเชื้อที่ปอด ต่อมาก็ MDR ที่ปัสสาวะ
และแล้วปัสสาวะไม่ออก HR เร็วเกือบ120-130 ความดันก็เริ่มไต่ระดับปัสสาวะไม่ออก โชคดีที่ปัสสาวะLeakage พอถอดออกมาก็ถึงบางอ้อ เพราะตะกอน คราบติดรูของสายสวนปัสสาวะไม่ออกคุณยายเลยไม่รู้จะบอกยังไงเพราะคาบท่อไว้ พูดไม่ได้ พอใส่สายสวนปัสสาวะใหม่ปัสสาวะออกมาทีเดียว 1,100 ซีซี ท้องแฟบเลยค่ะ
 เรื่อง: การเก็บรายงานการติดเชื้อ ตอบโดยอ้างข้อความ

ผู้ป่วย DM foot ติดเชื้อMRSA ที่แผล แล้วมาติดที่ CAPD ต่อมาก็ติดที่ urine แต่antibiotic ไม่เปลี่ยน อาการก็ไม่เปลี่ยนแปลงมาก ได้ Tozocine ตลอดตั้งแต่ติดเชื้อที่แผลแล้ว
ในกรณีผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อ MRSA แต่ Clinical sign ดี ไม่ต้องรายงานการติดเชื้อในโรงพยาบาล เนื่องจากการติดเชื้อครั้งนี้เป็นแค่ Colonization (การติดเชื้อประจำถิ่น) อีกทั้ง แพทย์ให้ ATB เป็น Tazocin ซึ่งไม่ใช่ยารักษาเชื้อ MRSA (ถ้า MRSA infection จริง แพทย์ต้องให้ ATB เป็น Vancomycin/Fosfomycin
สรุป ผู้ป่วยรายนี่ไม่ต้องรายงานการติดเชื้อในโรงพยาบาลในทั้งตำแหน่งแผล CAPD UTI แต่ผู้ป่วยรายนี้ต้องได้รับการป้องกันการติดเชื้อแบบ Contact precaution จนกว่าผลเพาะเชื้อจะไม่พบ MRSA
เรื่องอุณหภูมิของแผ่นเจล   

ท่านอาจารย์ขจิต พาชีรัตน์ ชี้แนะเรื่องอุณหภูมิเพราะไม่ได้ตอบอาจารย์ นานแล้ว เรื่องอุณหภูมิที่แผ่นเจลที่ใช้ประคบเย็น ศูนย์ ถึง 4 องศาเซลเซียส (เราเอาแผ่นเจลแช่ไว้ในช่องทำน้ำแข็งค่ะ)
ดังนั้นเวลาที่เราประคบเย็นจึงต้องระวังการBurn ค่ะญาติอยู่ก็จะได้รับการสอนว่าควรเปลี่ยนตำแหน่งประคบด้วย

ระยะเวลาประคบ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงค่ะ
ประสบความสำเร็จ ร้อยละ 80 ค่ะ
ข้อดี
1.ช่วยลดภาระงานของแพทย์ นักศึกษาแพทย์ ที่ต้องกลับมาดูแล และต้อง ใส่ Foley cath อีก
2.ลดค่าใช้จ่าย
3.ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะค่ะ
4.ผู้ป่วยสุขสบาย และความพึงพอใจของผู้ป่วยที่สามารถปัสสาวะเองได้ด้วยตนเอง มากกว่ากลับไปใส่สายสวนปัสสาวะใหม่ค่ะ
โครงการ : การจัดการความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ ( KM cop ดาวกระจาย)
หอป่วย3ข.แผนการพยาบาลศัลยกรรม ฯ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ความเป็นมา-สภาพปัญหา/สาเหตุปัญหา

ปัจจุบันเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการแข่งขันขององค์กรจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้จากหลายส่วนมาผสมผสานกันและผู้ปฏิบัติงานคงเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด การจัดการความรู้ Knowledge management) จึงมีบทบาทสำคัญในองค์กรที่จะรวบรวมความรู้ทั้งเก่าและใหม่อย่างเป็นระบบ ถ่ายทอดและแบ่งปันระหว่างคนในองค์กรเพื่อที่จะนำไปใช้และขยายผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ KM เป็นแนวคิดในการบริหารองค์การแบบใหม่ เพื่อให้เกิดการนำองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เกิดวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยนความรู้ ทำให้เกิดการสร้างนวตกรรมในการดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและขยายผลในวงกว้างได้อย่างรวดเร็วต่อไป
การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเป็นมาตรฐานด้านคุณภาพ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี ความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากร การควบคุมการติดเชื้อส่งผลดีต่อทุกหน่วยงานของสถานบริการทางการแพทย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณภาพการรักษา รวมทั้งสุขภาพและความปลอดภัย
การป้องกันการติดดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะและการติดตามอย่างต่อเนื่อง เป็นการลดโอกาสการติดเชื้อได้อีกวิธีหนึ่ง หอผู้ป่วย 3ข. งานบริการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกระบวนการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในผู้ป่ยที่คาสายสวนปัสสาวะ เพื่อให้เกิดคุณภาพ มีแนวทางการปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและบุคลากรได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมพัฒนาความรู้ และทักษะให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมการ ติดเชื้อในผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ ได้อย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. เพื่อลดโอกาสการเกิดการติดเชื้อ และตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้มากยิ่งขึ้น
ระยะเวลาดำเนินการ
มีนาคม - กันยายน 2550
สถานที่ดำเนินการ
หอผู้ป่วย 3ข แผนการพยาบาลศัลยกรรมฯ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรในหอผู้ป่วย3ข ทุกระดับ

แนวทางการแก้ไข / การดำเนินงาน
1.ชี้แจงโครงการและขอความร่วมมือจากบุคลากร และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
2.ให้แต่ละโครงการย่อยจะมีบุคลากรเข้าร่วมโครงการประกอบด้วย พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานการแพทย์ คนงาน หน.ทีม PCT 1 คน ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการหลัก (Facilitatior) ของหน่วยงาน
3.จัดประชุมกลุ่ม การจัดการความรู้ในการทบทวนดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะตามมาตรฐาน และติดตามการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทุกเวร
4.หาเวทีเผยแพร่กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพตัวอย่างที่แต่ละหอผู้ป่วยได้รับมอบหมายนำมาเสนอผลงาน โดยให้ทีมการดูแลผู้ป่วยมาร่วมรับฟัง พร้อมสรุปประเด็น / ข้อเสนอ หลังการนำเสนอผลงาน
นำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพที่สามารถใช้ได้ในภาพรวม ทดลองปฏิบัติใช้ และติดตามประเมินผล
กิจกรรมการจัดการความรู้การทบทวนดูแลผู้ป่วยนำไปจัดทำเป็นคลังความรู้และนำไปเผยแพร่ใน
INTRANET ของคณะแพทยศาสตร์ รพ.ศรีนครินทร์ และ gotoknow ปฏิบัติการกวาดล้าง UTI

ผลการดำเนินงาน
เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทีมการดูแลผู้ป่วย และการจัดเก็บองค์ความรู้อย่างเป็นระบบในองค์กร เกิดนวัตกรรมคุณภาพเพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่ดี (Good Practice)

ผลลัพธ์
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้ น้อยกว่า 2 ครั้งต่อ 1000 วันใส่ บุคลกรสามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสุข เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
Good Practice
Carec แบบบันทึก check list การ Admit ผู้ป่วยแรกรับที่คาสายสวนปัสสาวะ
Communication
การให้ข้อมูล pt ของบุคลากร การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ป่วยมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น
Continuity มีการวางแผนการดูแลผู้ป่วยร่วมกันTeam
แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะเป็นการสื่อสารในทีมการดูแลผู้ป่วยสามารถตรวจสอบได้
Environment ติดตามการประเมินผู้ป่วยสำหรับการแขวนสายสวนปัสสาะอย่างถูกต้อง
Record การบันทึกการปฏิบัติของกิจกรรมทุกเวร

[img][/img]

การให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติในการดูแลสายสวนปัสสาวะ  ( Foley’s Cath )

 โดย พี่หมู สมพร บุบผา

 

การให้ข้อมูล และการประชาสัมพันธ์ ต้องทำควบคู่กันไป สำหรับการเป็น Information

การให้คำแนะนำการดูแลสายในผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะและการติดตามการปฏิบัติงานของบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ หอผู้ป่วย 3ข

Team UTI 3ข ดาวกระจายนั้น เริ่มตั้งแต่การประเมิน ( Assesment ) เมื่อรับใหม่ ดูแลขณะอยู่ในโรงพยาบาล วางแผนการจำหน่าย และต่อเนื่องไปจน เมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่ที่บ้าน

รวมถึงการให้คำปรึกษา การให้ข้อมูลทางโทรศัพท์
การประชาสัมพันธ์ ส่งข่าว แจ้งข่าว และรายงายและส่งต่อถ้ามีอุบัติการณ์ การติดเชื้อ หรือถ้ามีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ที่เข้ามานอนในโรงพยาบาล ( Admit ) ติดต่อกับ หอผู้ป่วยต่างๆ ในโรงพยาบาล และกับหน่วยงานอื่นๆ ที่สนใจ เพื่อนัดหมายทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำงาน และเพื่อ พัฒนากระบวนการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการตอดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ  

ขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติเมื่อมีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
1. อธิบายให้ทราบถึงเหตุและผลของการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
2. สังเกต บันทึก สี ลักษณะ และจำนวนของปัสสาวะ
3. สวนคาสายยางปัสสาวะในกรณีที่ปัสสาวะไม่ออกหรือมีการคั่งค้างมาก
4 .ดูแลให้ได้รับสารน้ำสารอาหารให้เพียงพอ
5. ประเมินการปฏิบัติการกวาดล้าง UTI ตามแบบ check list  
6. รายงายและส่งต่อถ้ามีอุบัติการณ์ การติดเชื้อ หรือถ้ามีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง Admit

ส่วนการกวาดล้าง UTI ในหอผู้ป่วย 3ข. ให้การแนะนำผู้ป่วยและญาติดังนี้

เมื่อมีผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ พยาบาลหรือผู้ช่วยพยาบาลอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงความจำเป็นที่ต้องใส่สายสวน ตรวจสอบพลาสเตอร์ติดสายที่ติดหน้าขาผู้ป่วยว่าหลุดหรือไม่พร้อมทั้งให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติในการดูแลสาย ไม่ให้สายหักพับงอ ไม่นอนทับสาย ถุงที่รองรับปัสสาวะต้องแขวนไว้ที่คานเตียงไม่ให้หย่อนลงมาลากกับพื้น  

พลาสเตอร์หลุดให้แจ้ง จ.น.ท.เพื่อติดใหม่ เสื้อผ้าผู้ป่วยต้องแห้งไม่เปียกชื้น


1. แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงวัตถุประสงค์ และความจำเป็นที่ต้องใส่สายสวนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ให้ข้อมูลญาติและผู้ป่วยว่า จำเป็นต้องหมั่นช่วยกันดูแล คือ ถุง ( รองรับน้ำปัสสาวะ ) ไม่ลากพื้น แขวนอยู่เหล็กข้างเตียง คนข้างเคียงช่วยดูแล Take care ง่ายๆ ทำความสะอาดร่างกาย และภายในซ่อนเร้น สังเกตให้เป็น ปริมาณมากมี สีไม่ขุ่นข้น ทุกคนช่วยกันติดตาม ทุกคำถามยินดีตอบ ขอขอบคุณท่านที่ร่วมมือ ท่านคือคนสำคัญ

2. ติด พลาสเตอร์หน้าขา สำหรับผู้ป่วยหญิง และติดพลาสเตอร์หน้าท้องในผู้ป่วยชาย
3. แขวนถุงน้ำเก็บปัสสาวะกับคานเตียง ถ้าแขวนกับไม้กั้นเตียงอาจทำให้ดึงรั้งเมื่อยกราวขึ้น
4. หักพับสายเมื่อยก ย้ายถุงสูงกว่าระดับผู้ป่วย เมื่อตะแคงตัวให้ยกถุงเปลี่ยนมาข้างเด้านหน้า ผู้ป่วย
5. วัดไข้ และ V/S ทุก 4 ชม.
6. เช็ดรูเปิดท่อน้ำปัสสาวะด้วยสำลี Alcohol 70 % ทุกครั้งที่เปิด- ปิด เมื่อเทน้ำปัสสาวะออกจากถุงรองรับน้ำปัสสาวะ
7. ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ด้วยน้ำยาทำความสะอาด หรือน้ำสบู่ วันละ 2 ครั้ง และทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระเช็ดให้แห้ง ไม่ต้องโรยแงที่ขาหนีบ
8. ดูแลเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ไม่ให้เปียกชื้น ดื่มน้ำให้ได้มากกว่า 2 ลิตร  ถ้าไม่มีข้อจำกัด / ห้าม
9. สังเกตลักษณะ สี กลิ่น และปริมาณ บันทึกน้ำดื่ม / ปัสสาวะ ทุกเวร
สรุป
บางกรณีผู้ป่วยมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะที่ติดเชื้อมาก่อนการนอนในโรงพยาบาล ดังนั้นโครงการให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจึงเกิดขึ้นเละเริ่มดำเนินการซึ่ง ผู้ป่วยและญาติให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และมี การแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันระหว่างตัวผู้ป่วย และญาติ และเจ้าหน้าที่การจัดให้ความรู้ เป็นทั้งกลุ่มใหญ่ และกลุ่มย่อย และรายกรณี เราทีมผู้ดูแลจึงปรับทำตามความเหมาะสม ซึ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยและทีมผู้ดูแล

 

 

การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ที่คาสายสวนปัสสาวะในผู้ป่วยหญิง

 

โดน คุณแม่ ไก่ ศศิธร พาบุ

 

          หอผู้ป่วย  3ข  เป็นหอผู้ป่วยศัลยกรรมที่มีคนไข้ผ่าตัดโรคหัวใจและหลอดเลือด  และผ่าตัดทั่วไปซึ่งเป็นการผ่าตัดใหญ่หลังการผ่าตัดเกือบทุกรายผู้ป่วยจะต้องคาสายสวนปัสสาวะไว้  ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  ไม่สามารถไปอาบน้ำที่ห้องน้ำและไม่สามารถทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ได้ตามปกติ  มีโอกาสติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเนื่องจากผู้หญิงมีรูเปิดปัสสาวะกับรูทวารหนักใกล้กันมากกว่าผู้ชาย  ทำให้ผู้หญิงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมากกว่าผู้ชาย  และเป็นเชื้อที่มาจากทางทวารหนัก  ดังนั้นถ้าทำความสะอาดไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดการติดเชื้ออันตรายต่อร่างกายเพิ่มขึ้น  เราจึงต้องแนะนำให้เจ้าหน้าที่และให้ญาติมีส่วนร่วมในการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ที่คาสายสวนปัสสาวะให้ถูกวิธี

 

การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์โดนใช้น้ำยาทำความสะอาด  (น้ำสบู่    สบู่เหลวล้างมือ)  โดยมีวิธีดังนี้

1.การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์อย่างถูกต้องผู้ป่วยหญิง  (ถ้าใช้น้ำยาความสะอาดแบ่งสำลีเป็น  6  ก้อน)

2.ใช้สำลีก้อนที่  1  เช็ดผ่านตรงกลางอวัยวะสืบพันธุ์แล้วทิ้งถุงพลาสติก

3.ใช้สำลีก้อนที่  2  เช็คแคมด้านนอกไกลตัวออกไปทางขาหนีบแล้วทิ้งลงถุงพลาสติก

4.ใช้สำลีก้อนที่  3  เช็ดแคมด้านใกล้ตัวออกไปทางขาหนีบแล้วทิ้งลงถุงพลาสติก

5.ใช้สำลีก้อนที่  4  และ  5  เช็คแคมด้านใน  (ถ้ามีสายสวนก็คือเช็ครอบๆ  สายสวนปัสสาวะ)ก่อนทิ้งลงถุงพลาสติก

6.ก้อนที่  6  เช็คสายสวนปัสสาวะห่างออกมาประมาณหนึ่งคืบแล้วทิ้งลงถุงพลาสติก  (ถ้าไม่มีสายสวนก็เช็คผ่านรูเปิดลงไปทางก้นแล้วทิ้งสำลีลงในถุงพลาสติก)

7.ใช้ผ้าสะอาดเช็ครอบๆ  อวัยวะสืบพันธุ์ให้แห้ง

 

ในกรณีที่ผู้ป่วยแพ้น้ำยาทำความสะอาดก็สามารถใช้น้ำสบู่แทนได้  โดยมีอุปกรณ์ดังนี้

1.หม้อนอน

2.สบู่

3.กะละมังน้ำสะอาด

4.ผ้าสะอาด

5.ถุงมือสะอาด

 

วิธีทำ

1.ให้ผู้ป่วยนอนหม้อนอน

2.ใช้สบู่ละลายน้ำ  แล้วล้างฟอกบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ราดผ่านไปทางก้น

3.ราดด้วยน้ำสะอาดตามโดยราดผ่านไปทางก้น

4.ใช้ผ้าสะอาดเช็ดรอบๆ บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ให้แห้ง

 

แนะนำไม่ให้ทาแป้งบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท