เล่าเรื่องบทความที่ได้รับคัดเลือก “มหกรรมสันติวิธี ครั้งที่ 2 “


ศิลปะจักทำให้เรารักตนเองและที่สำคัญ คือ รักผู้อื่น และนี่คือหัวใจของการอยู่ร่วมกันของเรา บนโลกใบนี้

        สืบเนื่องจากความประทับใจ ในการลงพื้นที่ จัดค่ายศิลปะและธรรมชาติ กับ นักศึกษา ใน วิทยาเขต ปัตตานีและ นักเรียน  ในพื้นที่    บ.  ควนแตน    ต. ท่าเรือ   และ   บ.ป่าไร่   ต.ควนโนรี      อ.โคกโพธิ์      จ.ปัตตานี  เมื่อ ต้น ก.ค. ที่ผ่านมา

        เมื่อไป .....ได้รับการต้อนรับ จากในพื้นที่ ไม่ว่า จะเป็น นักศึกษา คณะอาจารย์ ในมหาวิทยาลัย และ ในพื้นที่ชุมชน ทั้งสองชุมชน ใน อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

       และนี่เป็นบางตอนของบทความ "   ศิลปะ ความรัก และสันติวิธี "

               นางสาวนิอัสน๊ะ  กูโน  เจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริม  มอ.ปัตตานี เล่าว่า 

     ก่อนวาดรูป วิทยากรก็พาเล่นเกม สนุกสนาน ทำให้รู้สึกสบายๆ เวลาวาดรูปก็ตั้งใจมาก จากกิจกรรมที่เราอบรม เราก็นำมาใช้ในงาน เช่น เวลาเราไปเยี่ยมในพื้นที่ ผู้สูญเสีย  เด็กๆ อยู่ในภาวะสูญเสียญาติพี่น้อง แต่เราก็เข้าไปคุย เอาสี เอากระดาษ ไปพาเด็กวาดรูป ทั้งเด็กเล็ก เด็กโต ทุกคนชอบวาดรูปมาก เราก็รู้สึกดี ที่มีส่วนทำให้เขาผ่อนคลาย      

 

 

               อาจารย์ อลิสา  หะสาเมาะ แผนกวิชาพัฒนาสังคม มอ.ปัตตานี  กล่าวว่า

 

ค่ายนี้มีกระบวนการของกิจกรรมที่น่าสนใจ  ในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกค่าย เกมแต่ละเกมที่ทำให้เรารู้จักกัน การเล่นเกม  น่าสังเกตว่า ไม่มีคำสั่ง เช่น  จงทำให้เป็นวงกลม แต่ การทำเป็นวงกลม มาจากการที่เราค่อยๆจับคู่กัน จาก หนึ่งเป็นสอง จากสอง เป็นสี่ ร้อยเรียง ต่อตัวไปเรื่อยๆ มันเหมือน ค่อยๆเป็นขั้นตอน ไปเรื่อยๆ เป็นการขออย่างน่ารัก และเราก็สบายใจที่จะอยู่ในวงการเล่น   เป็นการไม่ใช้อำนาจ หรือคำสั่ง ซึ่งประเด็นนี้สำคัญมาก หรือการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็เหมือนกัน...

 อาจารย์ทิพจุฑา สุภิมารส  คณะศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ให้ความเห็นว่า

 

 ...การทำกิจกรรมศิลปะ คือ การภาวนาและการฝึกสติ ทั้งนี้ มีข้อแม้ว่าการทำกิจกรรมศิลปะรวมไปถึงกิจการงานใดๆ นั้น ผู้ทำต้องมีความรัก มีความตั้งใจ ใส่ใจ และมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ...  และอยากจะโยงการทำงานศิลปะกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับการทำงานและการเรียนรู้ของสมองด้วย ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้จากสารเคมีในสมองที่จะหลั่งเมื่อคนเรามีอารมณ์ที่ดี มีสมาธิจดจ่อ กล่าวคือ ขณะที่คนเราทำงานศิลปะอย่างอิสระไม่มีใครบังคับ ทำด้วยความยินดีนั้น จะมีสารเคมีชนิดดี เช่นเอนโดฟีน หรือ เซโรโตนิน หลั่งออกมา ซึ่งมีผลต่อความคิดจำและจะส่งผลมากต่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของเด็ก..

 

 

               

            จะเห็นได้ว่า ศิลปะ สามารถพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ทั้งส่วนตน และสังคม โดยเฉพาะการโน้มนำไปสู่ ความคิดเชิงบวก เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาที่มนุษย์เผชิญอยู่ทุกวันทั้งปัญหาระดับเล็กและใหญ่  สันติภาพ ความสงบ มาจากเมื่อมนุษย์เรามีความคิดสร้างสรรค์  ทำให้เราได้แสดงความงามในตน และความงามในผู้อื่น         

           เรามีความเชื่อมั่นว่า

          ศิลปะจักทำให้หัวใจของเราอ่อนโยน สงบนิ่ง

          ศิลปะจักทำให้เรารักตนเองและที่สำคัญ คือ รักผู้อื่น

          และนี่คือหัวใจของการอยู่ร่วมกันของเรา บนโลกใบนี้     

หมายเลขบันทึก: 140791เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2007 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ภาพประกอบสวยงามมากเลยครับ
  • โดยเฉพาะภาพที่ 2 เป็นธรรมชาติมากๆ เลย
  • ขอบคุณมากครับ
P
      ขอบคุณคะ....คิดว่าเวลาไปนำเสนอก็จะนำรูปภาพ
กิจกรรมศิลปะเหล่านี้ไปด้วยคะ
   
      ระลึกถึงครอบครัวคุณสิงห์ป่าสักคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท