สุขภาพดี+อายุน่าจะยืน แบบคิวบา


พวกเราคงจะคิดว่า กินดีอยู่ดีจึงจะอายุยืน ทว่า... ผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า กินน้อยๆ (จริงๆ คือ อดๆ อยากๆ) + ออกแรงมากๆ แบบคิวบาน่าจะอายุยืนครับ

พวกเราคงจะคิดว่า กินดีอยู่ดีจึงจะอายุยืน ทว่า... ผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า กินน้อยๆ (จริงๆ คือ อดๆ อยากๆ) + ออกแรงมากๆ แบบคิวบาน่าจะอายุยืนครับ

ท่านอาจารย์นายแพทย์มานูเอล ฟรังโก และคณะ แห่งวิทยาลัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอพกินส์ บัลทิมอร์ สหรัฐฯ ทำการศึกษาผลกระทบจากเศรษฐกิจถดถอยในคิวบาระหว่างปี 1989-2000 (พ.ศ. 2532-2543)

...

ช่วงดังกล่าวคนคิวบาจนลงไปเรื่อยๆ จึงต้องทำงานหนักขึ้น และกินอาหารหลักเพียง 2 อย่างได้แก่ ข้าวกับอ้อย

แถมกำลังงานหรือแคลอรีจากอาหารก็ลดลงจากค่าเฉลี่ยวันละ 2,900 แคลอรี เป็นวันละน้อยกว่า 1,900 แคลอรี

...

5 ปีผ่านไป... ผลกระทบต่อสุขภาพที่น่าจะร้าย กลับกลายเป็นดีกล่าวคือ

  • โรคอ้วนลดลดง 50%
  • อัตราตายจากเบาหวานลดลง 51%
  • อัตราตายจากโรคหัวใจลดลง 35%
  • อัตราตายจากโรคเส้นเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาตลดลง 20%

...

การศึกษาในสัตว์ทดลองก่อนหน้านี้พบว่า สัตว์ที่ได้รับกำลังงาน(แคลอรี)จากอาหารน้อยลงอายุยืนขึ้น

การศึกษานี้สอดคล้องกับประสบการณ์ในสหราชอาณาจักร(หมู่เกาะอังกฤษ)ที่ว่า ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งคนอังกฤษอยู่แบบอดๆ อยากๆ และทำงานออกแรงมากขึ้นมีอัตราตายจากโรคหัวใจน้อยลง

...

ท่านอาจารย์ฟรังโกแนะนำว่า ถ้าอยากอายุยืนอย่างมีคุณภาพน่าจะลองกินให้น้อยลง ออกแรง-ออกกำลังให้มากขึ้น

ถึงตรงนี้... ขอเรียนเชิญพวกเราหันมากินอยู่อย่างพอดี และมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

<p>ขอแนะนำ                               </p>

  • รวมเรื่องสุขภาพ > "อายุยืนอย่างมีคุณภาพ" > [ Click ] 
  • บล็อก "บ้านสาระ" > [ Click ]

ที่มา                                    

</span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span><ul>

  • Thank Reuters & The Medical Migrant > "Cuban model" may point toward health > [ Click ] , [ Click ] > October 19, 2007. / further reading > [ Click ] , [ Click ]
  • <li> ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้ </li>

  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี, เทพรัตน์ บุณยะประภูติ, เทวินทร์ อุปนันท์ > สนับสนุนด้าน IT. 
  • นพ.วัลลภพรเรืองวงศ์ > 22 ตุลาคม 2550.
  • </span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span> </ul>

    หมายเลขบันทึก: 140763เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2007 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท