ปัจจุบันกับความเสี่ยงของเกษตรกรในการประกอบอาชีพทางการเกษตร


เกิดน้ำไหลหลากจากที่สูงลงสู่ที่ตำอย่างรวดเร็วทำให้พื้นที่ทำการเกษตรของเกษตรกรได้รับความเสียหาย

ความเสี่ยงของเกษตรกรในการประกอบอาชีพทางการเกษตร  

ในอดีตของชุมชนจะประกอบอาชีพทางการเกษตรแบบยังชีพ  มีการแลกเปลี่ยนและแบ่งปัน ผลผลิตทางการเกษตรที่ตนผลิตอยู่ในชุมชน  แต่หากช่วงที่มีผลผลิตออกมากก็จะจำหน่ายในตลาดระดับชุมชน

   

          หากจะพูดถึงความปลอดภัยจากสารเคมีที่ตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรแล้ว   ในอดีตผลผลิตปลอดภัยแน่นอนครับเพราะว่าไม่มีการใช้สารเคมีเลยหรือมีก็น้อยมาก ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว  เราจะสังเกตเห็นคลังอาหารในชุมชนที่เกิดขึ้นในแปลงนาได้แก่ กุ้ง  หอย  ปู  ปลา  พืชอาหารและสาหร่ายที่เกิดขึ้น  ตามธรรมชาติในแปลงนาของเกษตรกร

   

           ในขณะเดียวกันฐานทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน มีสภาพแวดล้อมที่ ที่เป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติได้แก่ป่าไม้  แหล่งน้ำ ห้วยหนอง คลอง บึง รวมทั้งแหล่งอาหารจากป่าธรรมชาติ มีอยู่อย่างเพียงพอ ความอุดมสมบูรณ์ในอดีตทำให้คนที่อยู่ในแต่ละชุมชนในชนบทจึงอยู่อย่างสมดุล

   

            ในปัจจุบันนี้ระบบการผลิตในชุมชน ถูกปรับเปลี่ยนเป็นการผลิตเป็นพืชเชิงเดี่ยวมากขึ้น ซึ่งดำเนินการมาไม่น้อยกว่า20 ปีมาแล้ว โดยหวังพึ่งพิงการตลาดเป็นตัวนำ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ  แนวความคิดนี้คาดหวังว่าหากมีการส่งออกได้ดีเกษตรกรผู้ผลิตที่เป็นเกษตรกรคงจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน แต่ในทางกลับกันครับ ระบบการผลิตทางการเกษตรในชุมชน ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ความจริงแล้วมีอยู่หลายปัจจัย  ได้แก่ ฐานทรัพยากรทางธรรมชาติถูกมนุษย์ทำลาย   การควบคุมราคาผลิตทางการเกษตรที่สามารถทำให้ผู้ผลิตอยู่ได้ ณ.จุดคุ้มทุน และความเสี่ยงที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ภัยพิบัติจากธรรมชาตินั่นเอง

    

              ผมจะขอยกตัวอย่างเมื่อเร็วฯนี้ ระหว่างวันที่ 13-17 ตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา ในพื้นที่ทำการเกษตรของจังหวัดกำแพงเพชร  เกิดฝนตกหนักติดต่อกันมาหลายวัน  เกิดน้ำไหลหลาก จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็ว ทำให้พื้นที่ทำการเกษตรของเกษตรกร ได้รับความเสียหายไม่น้อยเลย ได้แก่

  

1.พื้นที่ปลูกข้าวในฤดูนาปี  2550 มีพื้นที่ปลูกข้าวของเกษตรกรในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอคลองลาน  อำเภอปางศิลาทอง  อำเภอคลองขลุง  อำเภอขาณุวรลักษบุรีและอีกหลายอำเภอที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม ข้าวที่เสียหายซึ่งอยู่ในระยะกำลังเจริญเติบโต ระยะที่ออกรวง และระยะที่ออกรวงใกล้จะเก็บเกี่ยวแล้ว แต่ก็ถูกกระแสน้ำที่ไหลหลากท่วมเสียหายแบบสิ้นเชิงจำนวนไม่น้อย

ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้  ท่วมซ้ำซากและต่อเนื่องกันมาหลายปีแล้ว

 

 

2.พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังและพืชไร่   จากการขยายพื้นที่ปลูกมันสำหลังและพืชไร่อื่นเช่น อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น  นอกจากจะปลูกในสภาพพื้นที่ไร่  บางพื้นที่ได้ขยายพื้นที่มาปลูกในสภาพพื้นที่นาดอน ปรกติน้ำจะไม่ท่วม แต่ในฤดูการผลิตปี 2550 นี้เมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน  ก็จะถูกกระแสน้ำไหลหลากอย่างรวดเร็วทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังและพืชไร่อื่นได้รับความเสียหายไม่น้อยเช่นกัน

  

                จากตัวอย่างดังกล่าว ณ.ปัจจุบันจึงเกิดคำถามขึ้นว่า เมื่อกรณีเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมที่ทำให้พื้นที่ทำการเกษตรได้รับความเสียหายแล้ว ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบในการประสานงานในการสำรวจพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ ร่วมกับชุมชน แกนนำกลุ่มอาชีพทางการเกษตร และคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทิดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล และอปท. คงจะหนีไม่พ้นนักวิชาการส่งเสิรมการเกษตรที่ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯนั่นเอง ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามบทบาทภารกิจตามระเบียบวิธีการปฏิบัติของทางราชการในการดำเนินการสำรวจพื้นที่ประสบภัยเพื่อที่จะขอรับการสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยดังกล่าวตามลำดับแล้ว

  

          จึงเกิดโจทย์ที่สำคัญขึ้นมาอีกว่า หลังจากน้ำได้ลดลงแล้ว  การแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ที่จะต้องแนะนำเกษตรกร ว่าจะทำกิจกรรมอะไรในระยะสั้น ระยะปานกลาง ที่จะเสริมรายได้ให้แก่ครอบครัวเกษตรกร      จะมีหน่วยงาน องค์กรใดบ้างที่เข้ามาช่วยดำเนินการในเรื่องนี้หรือเราจะปล่อยไปตามยะถากรรมก็คงไม่ใช่

               นี่ก็คงจะเป็นอีกบทบาทหนึ่งของนักส่งเสริมการเกษตรที่ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล  ที่จะต้องทำหน้าที่ผู้ประสานงานในระดับพื้นที่  และเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกร  ซึ่งจะต้องทำบทบาท-หน้าที่นี้อยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเกือบจะทุกปีก็ว่าได้    จึงพอจะสรุปได้ได้ว่า การประกอบอาชีพของเกษตรกรจึงมีแต่ความเสี่ยงของระบบการผลิทางการเกษตรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   สอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า   น้ำท่วม   ฝนแล้ง    แมลงกิน    ดินไม่ดี    มีโรคมา  และราคาตก 

 

 

  

หมายเลขบันทึก: 140336เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2007 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 09:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • สวัสดีค่ะ พี่เขียวมรกต
  • แวะตามมาขอบคุณค่ะ
  • เกิดน้ำไหลหลากจากที่สูงลงสู่ที่ตำอย่างรวดเร็วทำให้พื้นที่ทำการเกษตรของเกษตรกรได้รับความเสียหาย
  • ใช่ค่ะ  เวลาหน้าฝน หรือช่วงพายุเข้านี่ เกษตรกร และชาวบ้าน เดือดร้อนทุกทีสิน่า เมื่อไหร่จะหมดปัญหาตรงนี้นะ...
  • ขอบคุณค่ะ ที่นำมาแบ่งปันกัน
  • ภัยอีกอย่างหนึ่งก็คือ FTA ครับ มันกำลังคืบคลานเข้ามา รบกวนพี่น้องเกษตรกร
  • หากตั้งรับไม่ดี คงจะเกิดความสูญเสียแก่อาชีพการเกาตรบ้านเราอย่างมาก อย่างที่ผู้ค้ารายย่อย โดนห้างยักษ์ใหญ่ข้ามชาติทำลายเลย ครับ
  • สวัสดีครับน้องอ้อยควั่น
  • ขอบคุณที่มาแวะเยี่ยมและลปรร.
  • สวัสดีครับอ.หนุ่มฯ
  • ขอบคุณมากที่ช่วยเติมเต็มครับ
  • เห็นด้วยกับอ.หนุ่มทุกประการ
  • สวัสดีค่ะ พี่เขียวมรกต
  • แวะตามมาขอบคุณค่ะ
  • ช่วงนี้...น่าเป็นห่วงนะค่ะ
  • สภาพลมฟ้าอากาศไม่เป็นใจเลย
  • บางพื้นที่เจอสภาพลมฟ้าอากาศช่วงนี้เข้าไป
  •  ก็อาการหนักเอาการเหมือนกัน...
  • แล้วกำแพงเพชร...เป็นอย่างไรบ้างค่ะ
  • สวัสดีครับน้องอ้อยควั้น
  • ขอบคุณที่มาแวะเยี่ยมและลปรร.
  • อากาศที่จะกำแพงเพชรกำลังจะปรับเปลี่ยนเข้าฤดูแล้ง(หนาว) แต่ก็แปลก บางครั้งก็จะมีฝนตกลงมาอีกเหมือนกัน พูดง่ายฯก็ดินฟ้าอากาศ มีการผันแปรครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท