กว่าจะได้รูปแบบการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์


โครงงานวิทยาศาสตร์

การจัดการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ถ้าเป็นนักเรียนต่างจังหวัดคงง่ายดายกว่านักเรียนในกรุงเทพฯที่มีทุกอย่างรองรับความต้องการและความสะดวกสบาย  ตอนสอนใหม่ ๆเมื่อประมาณ 10 กว่าปีมาแล้ว นักเรียนไม่สามารถหาปัญหามาทำโครงงานได้บอกว่าอาจารย์ของบางอย่างจ่ายเงินไม่กี่บาทก็ได้ของาแก้ปัญหาที่ต้องการแล้วไม่เห็นต้องไปคิดให้ยุ่งยากเลย....คนสอนก็แสนจะท้อใจ...จนเกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้นให้ออกแบบหลักสูตรเอง...จึงจัดเป็นวิชาเพิ่มเติมในระดับชั้นม.3 โดยมีการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ซึ่งนักเรียนเรียนแล้วตั้งแต่ม.1และม.2 แต่เป็นการสอนทบทวนใช้เวลาส่วนมากในการปฏิบัติ   พบหน้านักเรียนในคาบแรกก็สั่งโครงงานเลยโดยจัดแสดงวันวิทยาศาสตร์......จากนั้นก็จัดการเรียนการสอนตามปกติมีการกระตุ้นเตือนหัวข้ออยู่ตลอดเวลา....พอเริ่มกำหนดส่งหัวข้อพร้อมแจกใบข้อเสนอโครงงาน....ชีวิตของนักเรียนก็เริ่มป่วนเพราะตลอดเวลาไม่ทำอะไรเลย....และมาเจอรูปแบบการเสนอหัวข้อที่เข้มงวดก็ยิ่งแล้วกันใหญ่....ในเทอมนี้ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม   มีขั้นตอนดังนี้ 1. นักเรียนกำหนดปัญหาและค้นคว้าเนื้อหาที่สนใจ...2.นักเรียนหาครูที่ปรึกษาโครงงานที่ไม่ใช่ผู้สอน 3. นักเรียนเขียนข้อเสนอโครงงานส่งตามหัวข้อที่กำหนด 4.ครูผู้สอนตรวจใบข้อเสนอโครงงานและแนบแบบบันทึกในการแก้ไขข้อบกพร่อง 5. เมื่อแก้ไขถูกต้องแล้วต้องส่งเนื้อหาบทที่ 2 ให้ครูผู้สอนดูซึ่งถ้าไม่เกี่ยวข้องต้องหาเพิ่ม 6. เมื่อผ่าน 5 ขั้นตอนข้างต้นนักเรียนต้องพบครูผู้สอนเพื่อตอบคำถามที่เกิดขึ้นจากการศึกษา 7.นักเรียนต้องทำแผ่นพับส่งถ้าผิดต้องแก้ไขให้เรียบร้อย 8.เมื่อทุกขั้นตอนผ่านเรียบร้อยครูผู้สอนจึงให้แบบบันทึกการเข้าพบบครูที่ปรึกษาโครงงาน 9. นำแบบบันทึกที่ปรึกษาโครงงานมากแลกบอร์ดสำหรับจัดแสดง 10.นักเรียนต้องแบ่งงานกันในการจัดแสดงโครงงานเช่น จัดสถานที่  ทำความสะอาด โฆษณาเชิญชวน  ทำการ์ดเชิญครูและผู้ปกครองร่วมชมงานเมื่อจัดแสดงเรียบร้อยแล้วต้องจัดเก็บทำความสะอาดให้เรียบร้อย 11.นำโครงงานที่จัดแสดงมานำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยให้เพื่อน ๆในห้องสอบถามและให้คะแนน 12. นำผลคะแนนที่นักเรียนให้มาเป็นคะแนนที่นักเรียนในแต่ละกลุ่มโครงงานควรจะได้

เทอม 2 ใช้วิธีการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมและการเรียนปนเล่นซึ่งผลจากการทำโครงงานในเทอมแรกต่างก็พบจุดเด่น  จุดด้อยของตนเองและเพื่อนอีกทั้งยังพบว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป้นอย่างไรในเทอม 2การเรียนการสอนจึงสนุกขึ้น เล่นไปเรียนไปแต่ได้ความรู้และรู้ในสิ่งที่ไม่รู้ด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 140084เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2007 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นการจัดการเรียนที่เป็นระบบดี แต่นักเรียนต้องมีวินัยในตัวเองมาก ๆ จึงจะสำเร็จด้วยดี

ขอบคุณ

ขอขอบคุณคุณปรา ที่แวะมาเยี่ยมชมและฝากความคิดเห็นไว้ เป็นจริงอย่างที่คุณปราบอก ซึ่งนักเรียนทุกคนในตอนแรกก็ไม่สามารถปฏิบัติได้แต่เมื่อครูผู้สอนทำตามกติกาที่บอกกล่าวกันไว้อย่างจริงจัง นักเรียนเกิดการเรียนรู้และปรับพฤติกรรมที่สำคัญครูในกลุ่มสาระที่เป็นที่ปรึกษาโครงงานมีส่วนมากในการช่วยให้ประสบความสำเร็จ เรียกกันง่ายๆ ทำโครงงานกันที่เรียนรู้ทั้งครูและนักเรียน และคะแนนส่วนใหญ่ก็มาจากการที่นักเรียนทำงาน ทุกครั้งเวลาจัดแสดงโครงงานเรียบร้อยแล้วจะให้นักเรียนระบายความในใจจะพบว่านักเรียนมีทักษะในการทำงาน ทักษะการคิดอย่างมีเหตุมีผล การทำงานเป็นกลุ่ม ถ้าถามว่าเหนื่อยไหมขอตอบว่าเหนื่อยสุด ๆ แต่ความสุขที่เห็นนักเรียนมีการพัฒนาตนเองในทุก ๆด้าน

บางครั้งความคิดเห็นของเด็กแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน บางครั้งในการเรียนนั้นก็ไม่ได้เรียนกันแค่วิชาเดียว  แต่บางคนไม่ได้มีวินัยในการทำงานก็อาจจะบริหารงานในโครงานไม่ทันจึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า การปั่นงานเกิดขึ้น แต่โดยรวมถือว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท