ประสาทเทคโนโลยี: เทคโนโลยีแห่งอนาคต?


ถึงแม้ว่ายุคนี้จะเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology era) ซึ่งคาดว่าจะไปถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2020 และอีกไม่กี่ปีข้างหน้าคือในช่วงปี ค.ศ. 2010-2050 โลกเราจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคประสาทเทคโนโลยี (neurotechnology era)

ปัจจุบันนี้ศาสตร์แขนงต่างๆ มีแนวโน้มที่จะผนวกรวมกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์ (human enhancement) ในโลกแห่งอนาคต  “ประสาทเทคโนโลยี” (neurotechnology) เป็นวิชาการแขนงใหม่ที่กำลังทวีความสำคัญมากขึ้นซึ่งประเทศไทยอาจจำเป็นต้องรับมือและปรับกลยุทธ์หาตำแหน่งที่เหมาะสมในเวทีโลก  

 

เทคโนโลยีดังกล่าวนี้เป็นผลพวงมาจากความสำเร็จของศาสตร์NBICโดยที่ 

N หมายถึง nanotechnology คือสาขาวิชาด้านนาโนเทคโนโลยี

B หมายถึง biological science หรือ Biotechnology คือสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ

I หมายถึง informatics หรือ Information technology คือสาขาวิชาด้านสารสนเทศศาสตร์

C หมายถึง cognitive neuroscience คือสาขาวิชาด้านประสาทวิทยาศาสตร์การรู้คิด 

ความก้าวหน้าทางด้านประสาทเทคโนโลยีที่พอจะเห็นได้ชัด ได้แก่ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิดประสาท (neural stem cells) การกระตุ้นการซ่อมแซมของระบบประสาท (neuroregeneration) โดยใช้วัสดุที่เล็กในระดับนาโน (nanomaterials) เทคโนโลยีภาพถ่ายทางระบบประสาท (neuroimaging) เทคโนโลยีการส่งผ่านเยื่อกั้นระหว่างหลอดเลือดกับสมอง (Blood Brain Barrier) และแนวทางการรักษาโรคระบบประสาทแบบใหม่ เป็นต้น 

ในอนาคตอันใกล้เภสัชภัณฑ์ปรับการทำงานประสาท (neuroceuticals) อาจไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการบำบัดรักษาเท่านั้น หากแต่มุ่งเพิ่มศักยภาพการทำงานของระบบประสาท (neuroenhancement) นักวิชาการบางกลุ่มก็เกิดความกัลวลถึงสถานะความเป็นมนุษย์ (humanism) ว่าจะให้เทคโนโลยีเหล่านี้เปลี่ยนแปลงมนุษย์ได้มากน้อยเพียงใด ขอยกตัวอย่างประกอบในกรณีของสารเคมีที่มีผลต่อความจำ หากมีบริษัทคิดค้นยาเพิ่มความจำ (ความจริงมีบริษัททั่วโลกหลายแห่งกำลังวิจัยและบางแห่งได้วางตลาดสินค้าแล้ว) ให้มนุษย์จำได้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่จะเกิดอะไรขึ้น หรือในทางตรงกันข้ามอาจมีผู้ที่ต้องการสร้างอาวุธใหม่เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ปิดวงจรประสาทการจดจำซึ่งมีผลให้คนเราสูญเสียความทรงจำอย่างถาวร เป็นต้น ซึ่งประเด็นเหล่านี้กำลังเป็นข้ออภิปรายทางวิชาการในประเด็นด้านจริยธรรม (neuroethics) ที่รอการวางกรอบให้โลกใบนี้อยู่กับเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างสงบสุข 

เภสัชภัณฑ์ปรับการทำงานประสาทอาจแบ่งคร่าวๆ ได้เป็น

1.      เภสัชภัณฑ์ปรับการรู้คิด (Cogniceuticals)
- Alzheimer's Disease
- Mild Cognitive Impairment
- Attention Deficit Disorders เป็นต้น

2.      เภสัชภัณฑ์ปรับอารมณ์ (Emoticeuticals)
- Depression
- Anxiety Disorders เป็นต้น

3.      เภสัชภัณฑ์ปรับการรับความรู้สึก (Sensoceuticals)
- Chronic Pain
- Retinal and Optic Nerve Disorders เป็นต้น
 

นอกจากนี้อุปกรณ์ทางประสาท (Neurodevice) ก็มีจะมีบทบาทต่อความก้าวหน้าทางการแพทย์อยู่ไม่น้อย เช่น

1.      อุปกรณ์เสมือนประสาท (Neuroprosthetic Devices)
- Cochlear Implants
- Retinal Implants
- Motor Prostheses & Brain-Computer Interface เป็นต้น

2.      อุปกรณ์กระตุ้นประสาท (Neurostimulation Devices)
- Brain Stimulation
- Spinal Cord Stimulation
- Vagus Nerve Stimulation
- Peripheral Nerve Stimulation เป็นต้น

3.      อุปกรณ์ศัลยกรรมประสาท (Neurosurgical Devices)
- Neurosurgical Navigation Equipment
- Radiosurgical Devices
- Neurovascular Intervention เป็นต้น

4.      ซอฟแวร์ประสาท (Neurosoftware)
- Attention Deficit Disorders
- Pain Control
- Age-related Disorders เป็นต้น
 

นักพยากรณ์อนาคตบางท่านถึงกับกล่าวว่าถึงแม้ว่ายุคนี้จะเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology era) คาดว่าจะไปถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2020 และอีกไม่กี่ปีข้างหน้าคือในช่วงปี ค.ศ. 2010-2050 โลกเราจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคประสาทเทคโนโลยี (neurotechnology era) อนาคตจะมีธุรกิจที่เกี่ยวกับประสาทเกิดขึ้นมากมาย ตอนนี้ทั่วโลกกำลังตั้งแนวรุกเพื่อก้าวไปกับการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ อีกไม่นานสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ “neurotech” ก็จะเกิดขึ้นมากมาย เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการจัดตั้งองค์กรเพื่อขับเคลื่อนเทคโลโลยีดังกล่าวนี้พร้องส่งเสริมให้ภาคเอกชน เช่น Neurotechnology Industry Organization (NIO) ได้วางกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการดำริจัดตั้ง National NeuroTechnology Initiative (NNTI) เพื่อพัฒนาศาสตร์สาขานี้อย่างบูรณาการทั้งประเทศ เป็นต้น  

เมื่อถึงเวลานั้นจะเกิดอะไรขึ้น มนุษย์จะใช้ชีวิตอย่างไร ศักยภาพการทำงานของระบบประสาทจะเปลี่ยนไปเพียงใด มนุษย์จะยังคงเป็นมนุษย์ (human species) หรือไม่ โปรดติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านประสาทเทคโนโลยีในตอนต่อๆ ไปครับ 

เว็บไซต์อ้างอิง

1. http://www.neuroinsights.com/tableofcontents.html

2. http://lifeboat.com/ex/neurotechnology.and.society

3. http://www.neurotechindustry.org/

4. http://www.brown.edu/Research/Neurotechnology/index.htm 

5. http://www.ncl.ac.uk/ion/research/neurotechnology.htm 

6. http://bss.utwente.nl/research/neurotechnology/index.html

7. http://www.neurotechnetwork.org/educate0105.html 

หมายเลขบันทึก: 139639เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2007 04:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

พอดีดิฉันจบมาทางด้าน Human-Computer Interaction ค่ะ

Neuro Science เป็นเรื่องที่ลึกมากแต่น่าสนใจมากเลยค่ะ

ขออนุญาตนำบล็อกคุณ weerapong_rx เข้าแพลนเน็ต System Development & Cognitive Psychology นะค่ะ จะได้ติดตามกันอ่านง่ายๆ ค่ะ ขอบคุณค่ะ

ผมรู้สึกตื่นเต้นมากกับบันทึกนี้ ขอบคุณทั้งผู้เขียนและ ดร.จันทวรรณ ที่ได้นำเอามาใส่ในแพลนเน็ตนี้ครับ อ่านแล้วผมเกิดความคิดขึ้นบางอย่างครับคือ (๑) มีผู้เสนอคำศัพท์ใหม่ๆในสาขานี้เข้ามาในโลกจำนวนหนึ่ง  ซึ่งจะทำให้พจนานุกรมหนาขึ้น  (๒) ผมไม่เคยได้ยินหรือเห็นอะไรๆทำนองนี้ที่ใหม่แปลกเกิดขึ้นในระบบมหาวิทยาลัยของเราเลย  (๓) เกือบจะเป็นข้อสรุปได้ว่า "คนไทยชอบที่จะคอยอ่านหรือคอยพูดตามคนอื่น"แทนที่จะ"เป็นผู้สร้าง ผู้ผลิตให้คนอื่นเอาอย่าง"  พฤติกรรมเช่นนี้คือ "ผู้ตาม"  เราจะได้ยินเสมอว่า "ไม่นาน ก็คงจะมีใช้ในบ้านเราบ้าง" 

หรือว่า  เราสอนลูกหลานของเราให้ "ตามหลังผู้ใหญ่หมาไมกัด"  หรือ "หัวล้านนอกครู" ?

ขอบพระคุณอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองท่านครับ ส่วนตัวผมยึดถือพูดของอาจารย์สมัย ป.ตรีท่านหนึ่งที่สอนผมว่า "จะต้องสอนให้นักเรียนเก่งและมีความรู้มากกว่าครู" แนวคิดนี้ผมคิดว่าคงไม่ใช่การลบหลู่หรือทำให้เกิดผลเสียต่อทั้งครูและศิษย์ ตรงกันข้ามนักเรียนจะได้เร่งรีบขวนขวายความรู้ที่ขาดหายแล้วค้นคว้าวิจัยสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่และหากได้ทำหน้าที่เป็นครูอาจารย์ในอนาคตก็พร้อมที่จะสร้างศิษย์ให้มีความรู้มากกว่าตนเองเพื่อเป็นกำลังสำหรับคนแห่งโลกอนาคตครับ

จะว่าเข้ามาเยี่ยมง่ายก็ได้ครับ  เพราะว่าเรื่องของคุณวีระพงษ์ อยู่ในแพลนเนทของผมในแพลนเนทของ ดร.จันทวรรณอีกทอดหนึ่ง  เข้ามาดูเพื่อว่าคุณนำเสนอเรื่องอะไรอีกเกี่ยวกับ Neurotechnology   แสดงว่าผมชักสนใจคุณเข้าแล้วซีนะ  ผมทราบว่ามหาวิทยาลัยในอังกฤษเขาสอนแบบให้ทำโครงการ ซึ่งหมายถึง่วา  คุณอาจจะ"ค้นพบ"อะไรใหม่ๆ "ด้วยตัวคุณเอง"

เมื่อนานมาแล้ว สมัยที่ผมเรียนเลือกวิชาเอกจิตวิทยา ผมได้ยิน  และอ่านพบเกี่ยวกับคำว่า "Science" และ "Technology"  มันแปลกหูผมมากเมื่อคิดให้ลึกๆ  ผมอยากรู้ จึงค้นคว้าจากหนังสือต่างๆ เพื่อหาดูว่า  คนเก่าๆก่อนๆ เขามี "มโนทัศน์" หรือ C0ncept นั่นแหละครับ ว่าอย่างไรบ้าง อ่านไป ๆ จนไปสิ้นสุดที่ Philosophy of Science และ Philosophy ของพวก Materialism  และ Realism  พวกเหล่านี้พูดจาฉลาดล้ำลึกอย่างน่าทึ่ง  จากนั้น ผมจึงเขียนบทความ (ขณะนี้ผมพบว่ายังมีเก็บอยู่ที่บางมหาวิทยาลัยในรูปของ อิเลคโตรนิก )

แต่นั่นมันนานมาแล้ว  และผมก็ยังชอบที่จะพูดตามผู้รู้อยู่  เรื่องเช่นนี้เราต้องคุยกับคนใน "วงการ" หรือ "ต้องคยกับนักเลงในด้านนั้นๆ"  เช่น ถ้าจะรู้ให้ลึกขึ้นในด้านประสาทก็ต้องคุยกับ"นักเทกโนโลยีในด้านประสาทวิยาที่ค้นคว้าไปสุดขั้ว" อะไรทำนองนั้น  เพราะพวกที่ค้นยุ่งอยู่กับเรื่องใด ก็จะรู้แจ้งในเรื่องนั้น  ดังเช่นเจ้าชายสิทธัตถะของเรา  หรือ กาลิเลโอ  นิวตัน ที่รู้ลึกซึ้งถึงแรงโน้มถ่วงของโลก  หรือ การดึงดูดกันและกันของเทหวัถุในจักรวาล  หรือ ที่ แมกซ์เวลส์ และ ไอน์สไตน์ ที่รู้เรื่องคลื่นแสง  หรือ วอนตัมที่เป็นเม็ดๆแทนเป็นคลื่น เป็นต้น  ถ้าได้คุยกับพวกเหล่านี้แล้ว มันคงจะวิเศษอย่างหาที่เปรียบมิได้

จึง ถ้าคุณแบ่งเวลาได้  ถ้าคุณจะค้นคว้า "ความหมายของคำว่า Technology,  Science " จากผู้รู้สดขั้วแล้ว  คาดว่า น่าได้"ลึกถึงกึ๋น" ของพวกเขาเกี่ยวกับมโนทัศน์ของคำนั้นๆ  จากนั้นเราจึง วิพากษ์  สรุป แล้วตีพิมพ์  เผยแผ่  อาจจะนำไปแปลงเป็นเกรดจากอาจารย์ก็ได้นี่  ผลที่ได้คือ (๑) จะได้รู้การเคลื่อนไหวของความหมายของมันนับมาจนถึงปี ๒๐๐๗ (๒) คนที่ไม่ใช่นักเลงประจำสาขาจะได้ตรวจสอบกับความหมาย หรือ มโนทัศน์ ของตน (๓) จะทำให้มหาวิทยาลัยที่ชอบตั้งชื่อว่า "เทคโนโลยี" ทั้งหลายนั้น ได้ชัดเจนเกี่ยวกับจุดยืนของตนบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท