ตอนที่ 16 อาหารดินอินทรีย์ภูมิคุ้มกันของเกษตรกรไทย


อาหารดิน อินทรีย์

        

   

           จากการประสานงาน เพื่อนำสะระต่างๆ มาแบ่งปันแลกเปลี่ยน เรียนรู้ผ้านระบบอันทันสมัย  แต่เป็นเรื่องเก่าๆ มาเล่า เพราะเป็นเรื่องของดิน ซึ่งผมได้ประสานงานได้ประสานกับจ่าเอกสมบัติ  วิสูตรพันธ์ ประธานกลุ่มผลิตอาหารดินอัดเม็ด ต. หนองแซง อ.หันคา  จ.ชัยนาท ได้รับฟังคำพูดที่ได้สะท้อนความรู้สึกจากจิตใจของผู้ที่ผ่านการรับราชการทหารเรือ และผู้เป็นนักดนตรีประจำวงโยธวาทิต ของทหารเรือ แต่ลาออกมาคลุกฝุ่นและดินโคลนเฉกเช่นเกษตรกรของไทยทั่วไป และเคยสอบถามว่าจะสมัครเล่นการเมืองไหม ก็ได้รับคำตอบทันทีว่า  "ในสายตาของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรเขามองว่าผมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ให้ความรู้ความเข้าใจกับเขา ผมจึงไม่อยากให้เขามองไปอย่างอื่นขอมีความสุขเฉกเช่นนี้เพื่อเป็นมิตรกับทุกๆ คน  จะได้ไม่ต้องใช้คำว่า "ไม่มีมิตรและศัตรูที่ถาวร  ขอคำว่ามีมิตรที่จริงใจทั่วถิ่นไทยจะดีกว่า"

     

                     "จอ.สมบัติ"  กล่าวถึงความรู้สึกว่า "ผมไม่เคยมองทรัพยากรของแผ่นดินแม่มาก่อน ไม่สนใจที่จะมองในทรัพยากรในชุมชนหรือตรงกันข้ามกลับดูแคลน  ในทรัพยากรที่มีอยู่รอบกายว่าให้สารอาหารน้อย และเป็นเรี่ยงยุ่งยากแก่การใช้งานสู้ของที่มาจากต่างชาติไม่ได้  และเมื่อสอบถามเพื่อนเกษตรกรที่อยู่รอบๆ ก็คิดเช่นเดียวกัน  แต่เมื่อสถานการณ์ผ่านไปยิ่งทำยิ่งจน ยิ่งเจ็บ หนี้สินของเพื่อนเกษตรกรด้วยกันเหมือนดินพอกหางหมู เนื่องจากปลูกข้าวด้วยการซื้อปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งผลผลิต ดูเหมือนจะได้ผลผลิตมาก แต่เมื่อคำนวณดูแล้วแทบไม่มีกำไร เพื่อนเกษตรกรประมาณ 80-90 % ที่ดินของเพื่อนเกษตรกรอยู่ในสถาบันการเงินหรือนาทุน เพราะคิดแบบนี้มานานหลายปี

         

                                   แต่วันนี้เปลี่ยนนวิธีคิดใหม่ก่อนที่จะสายเกินไป "เราคนไทยมีวัฒนธรรมที่เป็นไทยๆ มิใช่  ตัวเป็นไทย แต่ใจเป็นเทศ เพราะการใช้ปุ๋ยเคมีเหมือนกับกินอาหารฝรั่งที่มีไขมันมากอ้วนแต่อ่อนแอ เพราะไม่เหมาะสมกับสภาพของบ้านเรา  ถาไม่ปรับเปลี่ยนวิธีคิดเกษตรกรคงสต้องจนและหมดตัวแน่นอน  เพราะ เกษตรกรได้ชื่อว่ากระดูกสันหลังของชาติ ถ้าผุกร่อนไม่แข็งแรงประเทศชาติคงต้องล้มพับถึงจุดอับอันใกล้นี้" (ผู้เขียนคิดว่าเขาคงไม่ชอบที่จะเป็นรากหญ้าแน่นอน) การดำเนินการดำรงชีวิตอยู่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน จะมีความสุขที่ยั่งยืน

               การใช้ปุ๋ยเคมีกันมาเนิ่นนาน พึ่งต่างชาติอย่างสุดโต่ง  วันนี้น้ำมันใต้ดินเหลือน้อยปุ๋ยเคใต้องแพงขึ้นแต่ผลผลิต และราคาผลผลิตไม่เพิ่มขึ้น คงต้องพบกับการขาดทุน  เราจะต้องเร่งรัดการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเกษตรกร

            การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเขา ประการแรกต้องผลิตปุ๋ยไทยที่ชุมชนสามารถผลิตเองได้จากปัจจัยในท้องถิ่น  ถ้าปัจจัยจากภายนอกราคาแพง หรือไม่ส่งมาขาย เกษตรกรไทยก็สามารถอยู่ได้เพราะเรามี ปุ๋ยไทยที่ผลิตได้ในชุมชน  เกษตรกรไทยไม่ต้องรำบาก เพราะทรัพยากรในประเทศไทยมีหลากหลายหามาทำปุ๋ยได้อย่างสบาย

          สูตรดีๆ มีมากมาย จะนำเสนอต่อไปถ้ามีผู้ขอมา  เราต้องพร้อมใจกัน ผลิตปุ๋ยไทย ให้พืชไทยกิน  เกษตรกรผู้ผลิตจะไม่จนอย่างที่ผ่านมา

         เป้นแนวคิดของพี่จ่าเอกสมบัติ ผมฟังแล้วภูมิใจในแกนนำเกษตรกรของไทย ของขอปรบมือให้มี่ชลอ  ม้าทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7ว ครับที่ได้ประสานการทำงานกับแกนนำตั้งแต่พี่จ่ามาจับงานการเกษตร เพราะเป็นแกนนำที่มีไฟในการพัฒนาเกษตรไทย

หมายเลขบันทึก: 139448เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2007 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอชื่นชมคนที่เป็นกำลังสำคัญของชาติ  และเป็นกำลังใจในการทำงานนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท