นางสงกรานต์


นางสงกราต์
ประเพณีสงกรานต์ ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมา นับเสมือนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย และเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่งดงามฝังลึกอยู่ในชีวิตของคนไทย คำว่า “ สงกรานต์ ” มาจากภาษาสันสฤต แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้าย หมายถึง การเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์จากราศีมีนเ ข้าสู่ราศีเมษในเดือนเมษายน เป็นช่วงพระอาทิตย์อยู่กึ่งกลางโลกและเป็นวันที่มีกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน จึงเรียกว่ามหาสงกรานต์ ในปีนี้ วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันที่ 14 เมษายน 2548 นางสงกรานต์ ทรงนามว่า มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จไสยาสน์หลับเนตรมาเหนือหลังคัสพร (ลา) เป็นพาหนะ เพื่อส่งเสริมเป็นกิจกรรมระดับโลกในการการสืบสานและอนุรักษ์งานประเพณีสงกรานต์ของไทย อีกทั้งยังเป็นสินค้าอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้ส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยว ตามแคมเปญ “Thailand Happiness on Earth” สำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย และกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวชาวไทย เดินทางไปท่องเที่ยวในภูมิภาคต่าง ๆ ที่จัดงานเทศกาล เพื่อตอกย้ำแคมเปญ “ เที่ยวไหนไม่สุขใจเท่าบ้านเรา ” ส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มมาก นางสงกรานต์ทั้ง 7 มีนาม ดังต่อไปนี้ วันอาทิตย์ ชื่อ ทุงษ ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค ภักษาหารผลมะเดื่อ อาวุธขวาจักร ซ้ายสังข์ พาหนะครุฑ วันจันทร์ ชื่อ โคราค ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารน้ำมัน อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายไม้เท้า พาหนะเสือ วันอังคาร ชื่อ รากษส ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต อาวุธขวา ตรีศูล ซ้ายธนู พาหนะสุกร วันพุธ ชื่อ มัณฑา ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย อาวุธขวาเข็ม ซ้ายไม้เท้า พาหนะลา วันพฤหัสบดี ชื่อ กิริณี ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา อาวุธขวาขอ ซ้ายปืน พาหนะช้าง วันศุกร์ ชื่อ กิมิทา ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำว้า อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายพิณ พาหนะกระบือ วันเสาร์ ชื่อ มโหทร ทัดดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย อาวุธขวาจักร ซ้ายตรีศูล พาหนะนกยูง นางสงกรานต์ นางสงกรานต์แต่ละวันนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกให้ทราบถึงการเปลี่ยนปีตามนักษัตรใหม่แล้ว ยังมีสาระเกี่ยวกับการพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆทั้งดีและร้ายซึ่งจะเกิดขึ้นในระหว่างปี ซึ่งตามตำรามหาสงกรานต์ได้อธิบายไว้ ดังนี้ สงกรานต์วันอาทิตย์ ผลผลิตทุกอย่าง ได้แสนโสภางค์ ออกผลมากมาย ของมิสูงแพง มิแล้งรู้หมาย ตามคำทำนาย บ่งไว้เช่นนี้ หมายถึง ผลผลิตต่างๆดี ข้าวของไม่แพง สงกรานต์วันจันทร์ รู้มั่นเชิงมี ข้าลากมากชี้ ช่องแพ้ ท้าวพระยา อีกเสนาบดี เด่นดีนักหนา จงทราบกิจจา ข้อเค้ากล่าวไว้ หมายถึง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ตลอดจนคุณหญิงคุณนายจะเรืองอำนาจ สงกรานต์วันอังคาร และ วันเสาร์ ผ่านเข้าเสาร์นัย ระวังเจ็บไข้ ขโมยมากมี แถมพระเพลิงร้อน ห่อนได้หลีกหนี เข้าบุกคลุกคลีแก่เหล่าอาณา หมายถึง โจรผู้ร้ายจะชุกชุม เกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง สงกรานต์วันพุธ สุดแสนเปรมปรา ลาภยุคท้าวพระยา มาจากต่างเมือง ลูกอ่อนก่อเหตุ อาเพศขุ่นเคือง มักจะเกิดเรื่อง ให้เร่งระวัง หมายถึง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จะได้รับการยกย่องจากต่างประเทศ สงกรานต์วันพฤหัสบดี เรื่องขัดข้องตั้ง แพ้ท้าวพระยา หวังล้วนไม่สู้ดี พระสงฆ์ทรงศีล ถูกปีนป่ายชี้ เดือดร้อนเหลือที่ ให้ตั้งทางธรรม หมายถึง ผู้น้อยจะแพ้ผู้เป็นใหญ่และเจ้านาย สงกรานต์วันศุกร์ ทุกข์หมดปลดช้ำ ข้าวปลาเหลือล้ำ อุดมสมบูรณ์ ระวังเจ็บตา ฝนพายุพูน เด็กล้วนประมูล มากโทษให้แล หมายถึง พืชพันธ์ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์ แต่ฝนชุกพายุพัดแรง ผู้คนจะเป็นโรคตาและเจ็บไข้กันมาก นอกเหนือไปจากคำทำนายข้างต้น อันเน้นเรื่อง วันที่ ที่พระอาทิตย์ยกสู่ราศีเมษที่เรียกว่า “ วันมหาสงกรานต์ ” ว่าตรงกับวันใด มีคำนายว่าอย่างไรแล้ว ช่วง เวลา ที่พระอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ ก็มีคำนายไว้ด้วยเช่นกัน โดยกำหนดเป็นอิริยาบถที่นางสงกรานต์ขี่พาหนะมา มีอยู่ ๔ ท่า ซึ่งตามความเชื่อโบราณบอกไว้ว่า ดังนี้ ๑. ถ้าพระอาทิตย์ยกสู่ราศีเมษ ในระหว่างเวลา รุ่งเช้าจนถึงเที่ยง นางสงกรานต์จะยืน บนพาหนะ และถ้ายืนมา มีความเชื่อว่า ปีนั้น คนจะเกิดความเดือดร้อนเจ็บไข้ ๒. ถ้าพระอาทิตย์ยกสู่ราศีเมษ ในระหว่าง เที่ยงจนถึงค่ำ นางสงกรานต์จะนั่งบนพาหนะ ถ้านั่งมา มีความเชื่อว่า ปีนั้น จะเกิดความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตายและเกิดเหตุเภทภัยต่างๆ ๓. ถ้าพระอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ ระหว่างค่ำไปจนถึงเที่ยงคืน นางสงกรานต์จะนอนลืมตา บนพาหนะ ถ้านอนลืมตา มีความเชื่อว่า ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข ๔. ถ้าพระอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ ระหว่างเที่ยงคืนไปจนถึงรุ่งเช้า นางสงกรานต์จะนอนหลับตา บนพาหนะ ถ้านอนหลับตา มีความเชื่อว่า พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี ข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระปุกดอทคอม
คำสำคัญ (Tags): #นางสงกรานต์
หมายเลขบันทึก: 137716เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2007 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2012 10:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท