รูปแบบและวิธีการใช้ KM เป็นเครื่องมือทำงาน (ตอนที่ 1 ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไข)


ปั่น ๆ ๆ ๆ ผลงาน...แล้วก็เขียน ๆ ๆ ๆ

     ถึงแม้ว่าจะสิ้นปีงบประมาณ 2550 แล้วก็ตาม แต่ช่วงนี้เป็นช่วงที่ดิฉันกำลังปั่น (เขียน) ผลงานและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับการทำงาน "การจัดการความรู้" ที่ตนเองได้รับมอบหมายตัวชี้วัด

     ซึ่งการดำเนินงานจัดการความรู้ ที่ได้รับมอบหมายตัวชี้วัดมานั้น เรามีเวลาแค่เพียง 4 เดือน (มิ.ย. - ก.ย. 50) เท่านั้นที่จะต้องทำงานเรื่องนี้ให้บรรลุผล  จึงเป็นอะไร? ๆ ๆ ที่ค่อนข้างเหนื่อยเหมือนกัน  แต่ก็ยังโชคดีที่ "มีทีมงานและเครือข่ายที่มีความรู้ความสามารถ" มาร่วมดำเนินกิจกรรม KM จึงทำให้ผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ ไปได้ด้วยดี  โดยเฉพาะความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่เกือบจะทุกคนในสำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งในระดับบริหารจัดการและระดับปฏิบัติการ

     การทำงานก็ย่อมจะมีปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้น ซึ่งดิฉันได้สรุปไว้มี 2 เรื่อง  และมีวิธีการแก้ปัญหาปัญหาที่ได้นำไปใช้ก็คือ

       1)  ทางด้านระยะเวลาในการดำเนินงาน นั้น จะเห็นได้ว่า การดำเนินงานการจัดการความรู้ ของสำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี  ประจำปีงบประมาณ 2550  ใช้ระยะ เวลาอันสั้นจึงทำให้การดำเนินงานตามกิจกรรมแต่ละกิจกรรมนั้นต้องใช้ความเร่งด่วน  ซึ่งเป็นผลมาจากระบบการปฏิบัติงานของกรมส่งเสริมการเกษตรล่าช้า เช่น  การสั่งการแบบเป็นทางการ  การกำหนดและมอบหมายตัวชี้วัด  และการรายงานผลงานตามตัวชี้วัด  เป็นต้น  จึงทำให้หน่วยงานระดับสำนักสามารถดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวได้จริงประมาณเดือนมิถุนายน 2550  ดังนั้น  ความรู้ความเข้าใจและทักษะที่เกิดขึ้นจึงเป็นการเรียนรู้ KM เบื้องต้น  และเรียนรู้ภาพรวมของ KM เป็นหลัก เท่านั้น      

       ส่วนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ใช้วิธีการสร้างทีมงาน,  มีการประสานงานและเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นหลัก,  มีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้วิธีการปฏิบัติจริง,  นำตัวอย่างที่มีอยู่เดิมมาใช้ในการพัฒนาการทำงาน,  นำประสบการณ์และความรู้ของเจ้าหน้าที่มาใช้เป็นฐานในการดำเนินงาน “จัดการความ” ให้กับสำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี.

       2)  ทางด้านองค์กร  เนื่องจากสำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี  เป็นหน่วยงานที่มีโครงสร้างการบริหารจัดการที่ใหญ่  มีภารกิจและหน้าที่ที่หลากหลาย  มีเนื้องานที่ต้องเชื่อมโยงกับกลุ่มบุคคลและหน่วยงานจำนวนมาก  และมีบุคลากรจำนวนมาก  จึงทำให้การดำเนินงานจัดการความรู้เป็นไปได้ยาก  เช่น  การสร้างความรู้ความเข้าใจ,  การปฏิบัติกิจกรรม,  การประสานงาน,  การบริหารจัดการ,  การเสริมหนุน  เป็นต้น 

       จึงได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการแต่งตั้งคณะทำงานที่มาจากหน่วยงานต่าง ๆ,  ใช้รูปแบบและวิธีการทำงานเป็นทีม,  ใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย,  มีการเสริมหนุนโดยใช้เวทีการประชุม,  มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้,  ใช้เทคนิคการปรึกษาหารือและการเล่าให้ฟัง,  มีการติดตามการดำเนินงานจากเครือข่าย,  มีการวางแนวทางและระบบการบริหารจัดการ (การประชุม, การปฏิบัติการ, การเสริมหนุน)  เป็นต้น 

     การทำงานเมื่อเราลงมือทำเราก็จะได้ประสบการณืเพิ่มเติมอีกหลาย ๆ เรื่อง เพื่อนำไปใช้ในวันข้างหน้าได้ค่ะ.

หมายเลขบันทึก: 137532เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2007 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ความสำคัญ ลำดับต้นๆ สำหรับความร่วมมือของทุกๆคนในองค์กร ครับ

 เรียน คุณหนุ่มร้อยเกาะ

   ใช่ค่ะ...มีอยู่ทุกที่ทุกแหล่งแหละค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท