เอ็นจีโอไทยเตรียมรายงานปัญหาการศึกษา


รายงานสถานการณ์ทางการศึกษาของประเทศไทยมีเพียงรายงานจากภาครัฐเท่านั้น ยังไม่มีรายงานจากภาคประชาชน ทำให้ข้อมูลบางส่วนอาจขาดหายไป เครือข่ายภาคีที่สนใจเรื่องการศึกษาจึงร่วมมือกันผลักดันให้เกิดรายงานที่มาจากภาคประชาชนจริงๆ เพื่อสำรวจหาปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไขได้ถูกต้องคู่ขนานไปกับรายงานของภา
เอ็นจีโอไทย เตรียมทำรายงานปัญหาการศึกษาเสนอ ยูเนสโกสำนักข่าวชาวบ้าน  http://www.thaipeoplepress.com/  องค์กรเอกชนเตรียมทำรายงานคู่ขนานเรื่อง สถานการณ์การศึกษาไทย เสนอยูเนสโก หวั่นรายงานรัฐปิดบังข้อเท็จจริง โดยพุ่งเป้าสำรวจกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั่วประเทศ คาดเผยแพร่สู่สาธารณชนปีหน้าพร้อมฉบับของรัฐบาล เมื่อ(25ก.ย.50) องค์การแอ็คชั่นเอดประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายภาคีองค์กรพัฒนาเอกชนอาทิ มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.) กลุ่มพันธกิจเพื่อสังคม Terres des Hommes ร่วมประชุมวางแผนการจัดทำรายงานการติดตามความก้าวหน้า (Global Monitoring Report) ในเรื่องสถิติการศึกษาภาคประชาชนภายใต้หัวข้อสถานการณ์การศึกษาในประเทศไทย: มุมมองจากภาคประชาชน เพื่อใช้เสนอต่อสำนักงานการศึกษาแห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO Asia Pacific Regional Bureau for Education)             นางวัชรฤทัย บุญธินันท์ ผู้จัดการองค์การแอ็คชั่นเอดประเทศไทยกล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีองค์กรหรือเครือข่ายภาคประชาชนที่จะติดตามและให้ข้อมูลในประเด็นการศึกษากับยูเนสโก ตามข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก 23 ประเทศจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานเรื่องการศึกษาเพื่อปวงชน (EFA: Education for all) ดังนั้นความร่วมมือของเอ็นจีโอครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเสนอต่อรัฐและเวทีนานาชาติในการขับเคลื่อนแก้ปัญหาด้านการศึกษาที่สอดคล้องกับชุมชนท้องถิ่น            ที่ผ่านมาการรายงานสถานการณ์ทางการศึกษาของประเทศไทยมีเพียงรายงานจากภาครัฐเท่านั้น ยังไม่มีรายงานจากภาคประชาชน ทำให้ข้อมูลบางส่วนอาจขาดหายไป เครือข่ายภาคีที่สนใจเรื่องการศึกษาจึงร่วมมือกันผลักดันให้เกิดรายงานที่มาจากภาคประชาชนจริงๆ เพื่อสำรวจหาปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไขได้ถูกต้องคู่ขนานไปกับรายงานของภาครัฐ และหวังว่ารายงานจากภาคประชาชนจะเป็นมิติมุมมองปัญหาที่รัฐบาลเสนอไม่หมด นางวัชรฤทัยกล่าวตัวแทนจากองค์กรพัฒนาเอกชนยังระบุอีกว่า หากรัฐบาลสำรวจเฉพาะกรอบที่ยูเนสโกวางไว้จะได้เฉพาะข้อมูลในเชิงปริมาณ ซึ่งการศึกษาไทยในภาพรวมค่อนข้างจะดี ทำให้ไม่เห็นปัญหาของคนเล็กคนน้อย ดังนั้นภาคประชาชนจึงจำเป็นต้องทำรายงานคู่ขนานเพื่อเจาะให้เห็นว่าปัญหามันมีอยู่ ส่วนที่รัฐยังไม่ได้แก้ไขหรือแก้ไขแล้วแต่ยังไม่สำเร็จมีอะไรบ้าง มีระบบอะไรรองรับปัญหาคนที่ตกหล่นสิทธิทางการศึกษาหรือไม่โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ คนเร่ร่อน คนยากจน  ทั้งนี้ในส่วนรายงานของภาครัฐจะจัดทำโดยกระทรวงศึกษาธิการซึ่งคาดว่าจะเสนอให้กับยูเนสโกในช่วงเดือนมีนาคมปีหน้า ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวภาคประชาชนจะจัดเวทีเพื่อรายงานสถานการณ์ปัญหาทางการศึกษาด้วยเช่นกัน เพื่อให้สาธารณะชนได้รับรู้ข้อมูลที่ครบถ้วนทั้งเชิงบวกและเชิงลบ            อนึ่งทุกปียูเนสโกเสนอให้มีการจัดทำรายงานประเมินผลตามเป้าหมาย โดยในปีนี้เป็นครึ่งทางของเป้าหมายปี ค.ศ.2015 เรื่องการศึกษาเพื่อปวงชน ซึ่งมีเป้าหมายหลัก 6 ข้อ คือ 1.การขยายการศึกษาก่อนวัยเรียนโดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาส 2.เด็กทุกคนได้รับการศึกษาภาคบังคับในระดับประถมที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 3.การเข้าถึงการเรียนรู้และการอบรมทักษะในการดำเนินชีวิตและการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้ใหญ่และวัยรุ่น 4.การเพิ่มอัตราการอ่านออกเขียนได้ในผู้ใหญ่ 5. การส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียมกันของหญิงชายในระบบการศึกษา 6.การยกระดับคุณภาพการศึกษาhttp://www.thaipeoplepress.com/
หมายเลขบันทึก: 136957เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2007 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท