วิเคราะห์อยู่ดีมีสุข(เมืองคอน) ปี 50 ตอนที่ 1 เหลียวหลัง


“เวทีเหลียวหลังแลหน้า การพัฒนาเมืองนครเชิงบูรณาการ”

9 ตุลาคม 2550วันนี้มีการนัดหารือกันอีกครั้ง ของภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านการพัฒนา ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้ชื่อว่า เวทีเหลียวหลังเลหน้า การพัฒนาเมืองนครเชิงบูรณาการ ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัด (ตึกเก่า) ผู้ที่เข้าร่วมการประชุม อาทิเช่น ปลัดวาสนา ผู้ใหญ่โกเมศ คุณคณพัฒน์ คุณวัชรีจากสำนักงานจังหวัดทีมงานหลักยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข คุณสง่าและทีมงานโครงการความร่วมมือฯ และอีกหลายๆท่านที่ไม่ได้เอ่ยนาม (เพราะจำชื่อไม่ได้…)  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ซึ่งก็ทราบมาว่า การหารือครั้งนี้มีขึ้นจากการประสานงานกันทางโทรศัพท์ระหว่าง ภาคี เครือข่าย ที่ทำงานในเรื่องของการพัฒนา หลายๆ ส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยพี่พัชณีจาก พอช. (แต่วันนี้ไม่ได้เข้าร่วมเนื่องจากติดประชุมด่วน)ว่าต้องการให้มีการหารือกันเพื่อเตรียมรับมือกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข 51 ที่จะต้องขับเลื่อนกันต่อไป โดยทำอย่างไรให้เกิดการร่วมมือกันเพราะทุกฝ่ายจะต้องช่วยเหลือกันตามความถนัดของตัว </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>เหลียวหลัง <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผู้ใหญ่โกเมศ สร้างความเข้าใจเรื่องยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขว่า เราไม่ได้มาประชุมกันเพื่อมุ่งจะเอางบประมาณ แต่เรามุ่งจะหาแนวคิดจากโมเดลหยดน้ำเพชร(ของท่านผู้ว่าฯวิชม ติดตามอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่) </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">โดยโครงการอยู่ดีมีสุขนี้เป็นแค่อีกหนึ่งเครื่องมือที่จะทำ ให้ หยาดน้ำเพชร เปล่ง ประกายครอบคลุมทุกพื้นที่à ผลักดันให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นครอบคลุมทั้งจังหวัด ซึ่งที่ผ่านมา จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ได้เป็นที่พูดถึงในเรื่องตัวอย่างของการพัฒนาที่มีกระบวนการที่ชัดเจนแต่จะทำอย่างไรให้ หยดน้ำเพชรพัฒนาต่อไปและยั่งยืนซึ่งก็เป็นที่มาของการหารือ</p><p> ปลัดวาสนา พูดถึงประเด็นหลักที่ต้องการนำมาหารือในวันนี้ คือ การได้มาของ</p><p>1.แผนชุมชนคุณภาพ(การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและการเชื่อมโยง ไปยังส่วนต่างๆทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น) </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">2. กลไกเพื่อที่จะได้มาซึ่งแผนชุมชนที่มีคุณภาพ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ซึ่ง ณ ตอนนี้มุ่งไปที่การทำแผน จากการทุ่มเทงบ 3 ล้านบาท(ของงบอยู่ดีสุข50)ร่วมกับโครงการความร่วมมือฯ สู่การผลักดันให้เกิดแผนชุมชนที่มีคุณภาพ และก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องความร่วมมือ ทั้งในเรื่องของโรงเรียนคุณอำนวยฯ (โครงการโรงเรียนเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานในหน้าที่คุณอำนวยตำบล) เพื่อนำเอาการจัดการความรู้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">คุณวัชรี ในฐานะหน.งานยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข กล่าวถึงการทำงานที่ผ่านมาของอยู่ดีมีสุข 50 ว่า จากการประเมินในหลายๆส่วนยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจาก  การได้มาของแผนชุมชนที่ยังขาดประสิทธิภาพ(ซึ่งเมื่อนำเอาแผนนั้นมาใช้ก็ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ตอบโจทย์อยู่ดีมีสุขที่ตั้งไว้) สาเหตุก็มาจาก ชุมชนยังขาด ความเข้าใจในเรื่องของระเบียบ และรายละเอียดของโครงการ เพราะขาดการประชาสัมพันธ์และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน อย่างแท้จริง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ยังมีประเด็นที่พูดคุยกันอีกเยอะเลยค่ะ ทั้งในเรื่องอุปสรรคที่ผ่านมา หรือข้อเสนอแนะต่างๆติดตามอ่านกันตอนหน้าในชื่อว่า วาระซ่อนเร้นนะคะ</p>

หมายเลขบันทึก: 136920เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2007 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 00:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท