เกมส์ที่ใช้ในการฝึกอบรม
เกมส์ที่ใช้ในการฝึกอบรมคือการปฤบัติกิจด้วยการเล่น
หรือการแข่งขันของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ความเข้าใจ ความสามารถ ทัศนคติ
และจริยธรรมในการปฎิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
ความสำคัญของเกมส์ที่ใช้ในการฝึกอบรม
-
เปิดโอกาสให้ทุกคนแนะนำและเปิดเผยตัวเองออกมา
-
สร้างให้ทุกคนในกลุ่มได้รู้จักคุ้นเคยกัน
-
ทำให้ผู้รับฝึกการอบรมรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกันมีการใช้ความคิดร่วมกัน
-
ทำให้บรรยาการในการฝึกอบรมเป็นไปอย่างผ่อนคลายและเป็นมิตรกัน
-
ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความมั่นใจและความกล้าแสดงออก
ประโยชน์ของเกมในการพัฒนาบุคลากร
ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีการทำความรู้จักกับผู้อื่นที่เข้าร่วมการอบรมด้วยกันเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและทำให้ทุกคนมีความสนิทสนมกันเร็วขึ้นกว่าการที่ทำความรู้จักกันเองในการนำเกมมาใช้ในการฝึกอบรมยังทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างเต็มที่และทำให้บรรยากาศในการเรียนรู้ช่วยให้ผู้รับการฝึกอบรมสนุกสนาน
ไม่รู้สึกเหมือนการสอนทั่วๆไปและทำให้ผู้ฝึกอบรมเรียนรู้ได้ในเวลาระยะสั้นประหยัดค่าใช้จ่ายและทำให้มีความกล้าแสดงออกและกล้าแสดงความคิดเห็นต่อกลุ่ม
ลักษณะของเกมที่ใช้ในการฝึกอบรมที่ดี
-
เน้นศูนย์กลางการเรียนเป็นกลุ่มสำหรับผู้รับการฝึกอบรม
-
มีการแสดงออกอย่างทั่วถึงทุกคนมีส่วนร่วมในเกม
-
สร้างบรรยากาศความเป็นกันเองและให้เกียรติผู้เข้ารับการฝึกอบรม
-
ได้สาระความรู้และความสนุกเพลิดเพลิน
-
มีสถานการแข่งขันเชิงสร้างสรรค์
-
มีความหลากหลายในรูบแบบของเกม
-
เป็นเกมที่สร้างความท้าทายและกระตุ้นให้ผู้รับการฝึกอบรมอยากเข้าร่วมเล่น
องค์ประกอบของเกม
1.
ชื่อของเกม
2. วัตถุประสงค์หลักและรอง
ที่ได้จากการเล่นเกม
3. ขนาดของกลุ่ม
จำนวนคนในการเล่นเกม
4.
อุปกรณืและเครื่องมือที่ใช้ในการเล่นเกม
5. กฎ กติกา มารยาท
ในการเล่นเกม
6. สถานที่ และเวลาในการเล่น
7. ขั้นดำนินการ
8. การตัดสินผล
9. สรุปสาระของเกม
10.
การนำสิ่งที่ได้จากเกมนำไปประยุกต์ใช้ในหน้าที่การงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
รูปแบบของเกมที่ใช้ในการฝึกอบรม แบ่งออกเป็น 5
ประเภท
1.
กิจกรรมละลายพฤติกรรม
มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้จักคุ้นเคยระหว่างผู้รับการฝึกอบรมเกมจะช่วยอ่นเครื่องและสร้างบรรยากาศแห่งการเปิดเผยตัวเองให้ผู้อื่นรู้จักและเป็นประโยชน์ในการฝึกอบรม
2.
กิจกรรมเพื่อประสบการณ์การเรียนรู้
เป็นการเน้นสาระรวบยอด
เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทัศนคติ ความเข้าใจ
และก่อให้เกิดทักษะใหม่ๆเพื่อนำไปใช้ในการทำงาน
3.
กิจกรรมสันทนาการหรอนันทนาการ
เป็นการเสริมบรรยากาศให้มีความสนุกสนาน
ร่าเริง เพื่อให้คลายจากความตึงเครียด
ทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้รับฝึกการอบรมให้มากยิ่งขึ้นส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมจัดขึ้นในการรวมกลุ่ม
หรืองานพบปะสังสรรค์
4.
กิจกรรมเข้าจังหวะ
เป็นกิจกรรมที่ร่างกายตอบสนองต่อดนตรีและจังหวะที่ใช้ประกอบ
ได้แก่ เสียงเพลง ตีกลอง
การเคราะไม้ ฉิ่งฉาบ
5.
กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพ
เป็นการเล่นผาดโผนเป็นกิจกรรมส่งเสริมความสามารถด้านร่างกายให้มีความแข็งแรงส่งเสริมการเจรฺญเติบโตของกล้ามเนื้อหลักในการเคลื่อนไหวและความยืดหยุ่นของข้อต่างๆในร่างกายนอกจากนี้กิจกรรมนี้ยังเป็นการวัดสมรรถภาพของร่างกายไปในตัว
บทบาทของผู้นำเกม
ผู้นำเกมหรือวิทยากรในการฝึกอบรมไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมละลายพฤติกรรม
,กิจกรรมเพื่อประสบการณ์การเรียนรู้ , กิจกรรมสันทนาการหรอนันทนาการ
,กิจกรรมเข้าจังหวะและกิจกรรมทดสอบสมรรถภาพ สรุปคือ
การดำเนินการกิจกรรมก่อน
ระหว่างหรือภายหลังการฝึกอบรมจะมีวัตถุประสงค์หลายอย่างในบางครั้งเพื่อวัตถุประสงค์การเรียนรู้ผู้นำเกมต้องทำหน้าที่โดยมีบทบาทต่างๆที่หลากหลายโดยมีรายละเอียดดังนี้
บทบาทหลักของผู้นำเกม
เป็นผู้สอน
คือ
เป็นผู้สอนให้ความรู้ผู้เข้ารับการอบรมให้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้และให้ตัวผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลาง
เป็นผู้ฝึกหัด
คือ
เป็ผู้ฝึกหัดหรือคอยกำกับให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีความสามารถในการพัฒนาให้มีความเข้าใจและความสามารถในงาน
กับตนเองเละคนรอบข้าง
เป็นพี่เลี้ยง
คือ
เป็นที่ปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญหาในเกมและกิจกรรม
เป็นผู้นำ
คือ
เป็นตัวอย่างและแบบอย่างให้กับผู้เล่นเกมและกิจกรรมและนำไปคิดประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
บทบาทของผู้นำเกม
o
เป็นผู้ชี้นำให้เล่น
หลังจากแจ้งกติกาแล้วโดยอาจมีการลองเล่นดูก่อนก่อนมีการแข่งขันจริงเพราะบางเกมผู้เล่นต้องมีการตีความจากคำสั่งในการเล่น
o
มีเทคนิคในการจับผิดหรือการลักไก่ของผู้เล่นหูไวตาไว
และมีเทคนิคการยืนในระยะที่เหมาะสมในการตรวจสอบ
o กำหนดกฎกติกา
ให้มีความชัดเจนในการพูดการสื่อสารในกลุ่มที่เล่นกิจกรรม
เช่นไม่ลืมที่จะให้แต่ละกลุ่มแจ้ง ชื่อทีม คำขวัญ
และอุปกรณ์ประจำทีม
o ตัดสินชี้ขาดที่ยุติธรรมในการตัดสิน
โดยที่ให้ผู้เล่นรู้สึกว่าลำเอียง
o
มีเทคนิคในการควบคุมเกมและควบคุมเวลาที่ใช้ในการเล่นเกม
o
รู้จักการแก้ไขปัญหาในขณะดำเนินเกม
o
ไม่ลืมประเมินหรือสังเกตุพฤติกรรมในตอนเริ่มต้นจนถึงเวลาสิ้นสุดกิจกรรม
หน้าที่ของผู้นำเกม
หน้าที่ของผู้นำเกม
คือการดำเนินการเพื่อเปลี่ยนแปลงบุคลิคของผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเกิดการเรียนรู้ให้เข้าใจและสามารถโดยจะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมโดยมีการเตรียมสื่อ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกมให้อยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมที่จะใช้งานได้
และจะต้องมีความเป็นมิตร
และเป็นกันเองกับผู้เข้าร่วมเล่นเกมตั้งแต่ต้นจนจบ
มีความสามารถในการพูด สื่อสาร
มีการพูดที่น่าสนใจมีการอธิบายให้ชัดเจนเข้าใจง่ายและมีความยุติธรรมในการตัดสินและให้คะแนนโดยไม่อคิ
เพราะรัก เกลียด
หรือโกรธก็ตามโดยให้ความเท่าเทียมกันสำหรับผู้ที่เล่นเกมทุกคนและใช้เวลาในการใช้เวลาได้อย่างเหมาะสมในการเล่นเกมไม่นานหรือช้าเกินไปและสุดท้ายเมื่อจบการแข่งขันแล้วมีการสรุปจบประทับใจ
อาจใช้คำคม เพลง คำขวัญในการสรุปจุดมุ่งหมายของเกม
การเตรียมการก่อนเล่นเกม
·
วิเคราะห์กลุ่ม คือ ดูข้อมูลของผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน อายุ เพศ
การศึกษา ประสบการณ์
· ขนาดกลุ่ม คือ
การแบ่งจำนวนผู้เข้ากิจกรรม
· สถานที่ คือ
การจัดเกมให้เหมาะสมกับสถานที่และจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
·
สิ่อ/เครื่องมือที่พื้นที่
สถานที่ที่ใช้ในการเล่นเกมและอุปกรณืสำหรับเล่นเกม
· การวางแผนแล่นเกม คือ
เกมนั้นมีวัตถุประสงค์ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ
· เตรียมอุปกรณ์เกม เอกสาร
รางวัล หรือเครื่องมือที่ใช้ในการทำกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์
· เตรียมผู้ช่วยและเกมสำรอง
เพราะกิจกรรมบางกิจกรรมต้องมีการสาธิตจึงต้องมีผู้ช่วยและมีเกมสำรองเผื่อเอาไว้
ตัวอย่างเกมกิจกรรม
เตรียมความพร้อมและสมาธิ
เกม
เรียกพลัง ความพร้อม
ความเข้าใจ
วัตถุประสงค์
1. ใช้ในการเริ่มต้นเกมหรือกิจกรรม
2. ผู้นำเกมชี้แจงศัพท์ต่างๆที่ใช้ในการสนทนาร่วมกัน
3. สร้างสรรค์บรรยากาศในการจัดอบรมและเกม
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ไม่จำกัด
อุปกรณ์
-
สถานที่
ภายในห้องอบรม
ระยะเวลา
ใช้คั่นช่วงขณะอบรม
วิธีการดำเนินการ
-
ผู้นำเกมชี้แจงกติกามารยาทในการดำเนินกิจกรรมในช่วงเวลาที่ตกลงกันว่า
จะมีคำศัพท์
เมื่อผู้นำเกมใช้คำพูดต่อไปนี้จะหมายความว่าอย่างไรและตอบว่าอย่างไร
เช่น ผู้นำเกมพูดว่าIBC ให้ทุกคนพูดว่า เฮ้
พูดชื่อสินค้าให้พูดว่า เยี่ยม
-
แล้วผู้นำเกมก็ทดสอบความพร้อม ความเข้าใจของผู้เล่นได้
-
ศัพท์ที่จะใช้เรียกความพร้อมของกลุ่มได้ก็มีอีก เช่น ผู้นำเกมพูดว่า
ซ้าย ให้ผู้อบรมพูดว่า จ๋า และพูดว่า ขวา ให้ตอบว่าน่ารัก
-
ผู้นำเกมก็ทดสอบพูด ขวาขวา ซ้าย ขวา ซ้ายเป็นต้น
-
แล้วผู้นำเกมชี้แจงว่านี่เป็นข้อตกลงในการดำเนินกิจกรรมในโครงการนี้
ตัวอย่างเกมกิจกรรม สร้างสัมพันธ์
สนุกสนานสามัคคี
เกม
หากว่าเรากำลังสบาย
วัตถุประสงค์
1. ฝึกการพร้อมเพียงในการทำงานเป็นทีม
2. ความว่องไวและความสามัคคี
3. สร้างเสริมในการฟังและการเรียนรู้
4. เปลี่ยนแปลงอิริยาบถในการปฎิบัติกิจกรรมวิชาการ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
30 คนขึ้นไป
อุปกรณ์ ไม่มี
สถานที่ ในห้องฝึกอบรม
ระยะเวลา 5 นาที
วิธีการดำเนินการ
-
ผู้นำกิจกรรมตกลงกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ถ้าร้องเพลงหากว่าเรากำลังสบาย
เพลงบอกให้ทำอะไรให้ทำตาม 2 จังหวะ
-
เนื้อเพลงมีดังนี้ “หากพวกเรากำลังสบายจง.......พลัน”
“หากพวกเรากำลังสนุกหมดเรื่องทุกใดๆทั้งสิ้นจง...... พลัน”
ตัวอย่างเกมสร้างความชื่อมั่น มุ่งมั่น
สู่เป้าหมาย
เกมโยนเหรียญลงแก้ว
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อฝึกการประมาณโดยใชการสังเกต
2. เพื่อแสดงให้เห็นว่าความสำเร็จเป็นเรื่องของการฝึกฝน
3. เพื่อทำความรู้จักตนเองในอีกแง่มุมหนึ่ง
4. เพื่อแสดงให้เห็นว่าคนเรามีความแตกต่างกัน
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
20-30 คน
อุปกรณ์
-
เหรียญ 10 บาท 3 เหรียญ
-
ถังพลาสติกขนาดใหญ่ใส่น้ำ ¾ ส่วน
- แก้วน้ำใส 1
ใบ
สถานที่ ในสนาม
ระยะเวลา 10-20 นาที
วิธีดำเนินการ
-
ให้สมาชิกทีละคน โยนเหรียญลงในแก้วโยนลง 1 เหรียญ ได้ 10 คะแนนโยนครบ
3 เหรียญให้สมาชิกคนต่อไปโยนจนครบทั้งกลุ่ม
-
รวมคะแนนของสมาชิกทุกคนในกลุ่ม
เปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆกลุ่มไหนคะแนนมากที่สุดเป็นฝ่ายชนะ
ตัวอย่างเกมกิจกรรม
เสริมสร้างทักษะการสื่อสารประสานงาน
เกม
ฝูงวานร
วัตถุประสงค์
1. การฝึกสมาธิ
2. การสังเกตการจำ
3. การประสานงาน
4. ความสนุกสนานและเพลิดเพลิน
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
10-80 คน
อุปกรณ์
ไม่มี
สถานที่
ใช้ได้ทั้งในและนอกห้องฝึกอบรม
ระยะเวลา 10-20
นาที
วิธีการดำเนินการ
-
จัดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรียงกันเป็นวงกลม หรือรูปตัว ยู
ตามความเหมาะสม
-
ผู้นำกิจกรรมแจ้งกฎและกติกาในการเล่นและกำหนดผู้ที่จะเริ่มเป็นคนแรก
-
ผู้เล่นคนแรกจะร้องว่า “ลิง 1 ตัว”
ผู้เล่นคนต่อไปจะอยู่ติดกับคนแรกจะซ้ายหรือขวาก็ได้จะต้องกระโดดทำท่าลิงไปข้างหน้า
1 ครั้ง พร้อมร้องว่า “กระโดด 1
ครั้ง”คนที่สามก็จะกระโดดทำท่าลิงไปข้างหน้า 1 ครั้งพร้อมร้องเสียงลิง
1 ครั้ง “เจี๊ยก”เป็นอันครบลิง 1 ตัว
-
โดยที่ผู้นำกิจกรรมจะกำหนดเองตามความเหมาะสมกับคนเล่นว่าจะใช้ลิงกี่ตัว
ตัวอย่างเกม
เสริมการทำงานเป็นทีมและสร้างทีมงาน
เกม
จิ๊กซอสัมพันธ์
วัตถุประสงค์
1. รู้จักคิดวางแผนและทำงานร่วมกัน
2. ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
3.เสริมสร้างการทำงานให้ได้ประสิทธิภาพและปริมาณ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ไม่จำกัด แบ่งกลุ่มละ 8-10 คน
อุปกรณ์
ตัวต่อจิ๊กซอ 500 ชิ้นเท่าจำนวนกลุ่มที่แบ่งไว้
สถานที่
ในห้องอบรม
ระยะเวลา 10 นาที
วิธีการดำเนินการ
-
ผู้นำกิจกรรมแบ่งผู้เล่นออกเป็นกลุ่มๆ แล้วแจกตัวต่อจิ๊กซอ 500 ชิ้น
ให้กลุ่มละ 1 ชุด
-
ให้แต่ละกลุ่มวางแผนต่อให้เสร็จ
เมื่อกลุมใดต่อเสร็จให้ปรบมือพร้อมกัน
-
ให้เวลากลุ่มละไม่เกิน10
นาทีเมื่อหมดเวลาก็มีการเดินตรวจและให้คะแนน
ตัวอย่างกิจกรรม
เสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ค์
เกม
สร้างบ้านแปลงเมือง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อความช่วยเหลือช่วยกันทำงาน
2. เพื่อการวางแผนเสริมสร้างความคิดริเริ่ม
3. สร้างจินตนาการสู่ความสำเร็จ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
50-100 คน แบ่งกลุ่มละ 8-10 คน
อุปกรณ์ กระดาษ A4
ที่ใช้แล้วประมาณ 100 แผ่น
สถานที่
ในห้องประชุม
ระยะเวลา 15
นาที
วิธีการดำเนินการ
-
เมื่อสมาชิกในทีมมาพร้อมแล้วให้ผู้นำกิจกรรมอ่านคำสั่ง
-
ใช้กระดาษที่มอบให้ 1 ปึก จัดตกแต่งให้เป็นปราสาท ราชวัง
ที่สวยงาม
- ให้เวลา 10
นาที
-
จับเวลาและเตรียมสรุปตามวัตถุประสงค์