สุขภาพดี เริ่มต้นที่โอเมกา-3 ในปลากระป๋อง


สุขภาพดีอาจจะเริ่มต้นที่ปลาสัปดาห์ละ 1-2 กระป๋องก็ได้ครับ

พวกเราคงจะชื่นชอบหรือชิงชังเจ้าปลากระป๋องไม่มากก็น้อย ข่าวดีสำหรับท่านที่ชอบปลากระป๋องคือ ปลากระป๋องเป็นแหล่งไขมันชนิดดีพิเศษ หรือโอเมกา-3 ชั้นดีทีเดียว

ปลาทะเลน้ำลึกที่มีไขมันสูงได้แก่ ทูนา แซลมอน ซาร์ดีน แมคเคอเรล ปลาตัวเล็กตัวน้อย (จิ้งจ้าง / anchovies) ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในกระป๋อง

ข่าวดียิ่งกว่านั้นคือ ปลากระป๋องหรือปลาทะเลมีไขมันชนิดดีพิเศษ หรือโอเมกา-3 สูงกว่าอาหารทะเลชนิดอื่น เช่น ปลาหมึก กุ้ง ฯลฯ

นอกจากนั้นปลายังมีโคเลสเตอรอล หรือไขมันที่อาจจะไปพอกตามผนังเส้นเลือดต่ำ ไม่เหมือนปลาทะเลชนิดอื่นๆ ยกเว้นปลิงทะเลซึ่งมีไขมันต่ำมากๆ

จดหมายข่าวสุขภาพดอกเตอร์เมียคินมีคำแนะนำในการเลือกปลากระป๋องให้ได้ผลดีที่สุดดังต่อไปนี้

  1. คนเรากินปลากระป๋อง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ได้อย่างปลอดภัย
  2. ปลากระป๋องชนิดแช่ในน้ำแร่ หรือน้ำเกลือมักจะมีปริมาณเกลือสูง > วิธีลดเกลือง่ายๆ คือให้เทน้ำแร่หรือน้ำเกลือออก แล้วรินน้ำสะอาดผ่านเนื้อปลา 2-3 ครั้ง
  3. ปลากระป๋องชนิดแช่ในซอสมะเขือเทศน่าจะดี เพราะได้คุณค่าจากมะเขือเทศไปในตัว > ควรเลือกชนิดเติมเกลือโซเดียมน้อย โดยดูจากฉลากอาหารข้างกล่อง
  4. ปลากระป๋องที่ผ่านการทอด > ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยดี เนื่องจากน้ำมันปลาจะซึมออกไปในน้ำมันที่ใช้ทอด น้ำมันที่ใช้ทอด เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง ฯลฯ จะซึมเข้าเนื้อปลา ทำให้ได้โอเมกา-3 น้อยลงไปมาก
  5. ปลากระป๋องชนิดแช่ในน้ำมัน > ควรเลือกชนิดแช่ในน้ำมันมะกอก หรือคาโนลา เนื่องจากมีน้ำมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง(ไม่มีจำหน่ายในไทย) ถ้าเป็นน้ำมันชนิดอื่น เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ฯลฯ ควรเทน้ำมันทิ้งไปบางส่วน เนื่องจากน้ำมันเหล่านี้(ส่วนใหญ่มีโอเมกา-6 จากน้ำมันพืช) มีคุณภาพต่ำกว่าน้ำมันปลา(โอเมกา-3)

ทีนี้ถ้าจะกินปลากระป๋องให้ได้แคลเซียมด้วย... ปลากระป๋องชนิดกินกระดูกได้มีแนวโน้มจะมีแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ สูงกว่าปลากระป๋องที่มีแต่เนื้อ

สุขภาพดีอาจจะเริ่มต้นที่ปลาสัปดาห์ละ 1-2 กระป๋องก็ได้ครับ

<p>ข่าวประกาศ...                                                  </p>

  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" มีนโยบายที่จะไม่ตอบปัญหาสุขภาพ เนื่องจากผู้เขียนมีงานมาก อินเตอร์เน็ตลำปางช้า+หลุดบ่อย

    แหล่งที่มา:                                    

</span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></font></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span><ul>

  • Thank drmirkin.com > Diana Mirkin > Canned and foil-packed fish > http://www.drmirkin.com/nutrition/N191.html > 8/3/07.
  • <li> ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้ </li>

  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 5 ตุลาคม 2550.
  • </span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span> </ul>

    หมายเลขบันทึก: 135107เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2007 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (4)

    ไม่คิดว่าปลากระป๋องจะมีโอเมกทรีด้วย  ต่อไปจะกินปลากระป๋องให้เยอะเลยค่ะ  แล้วก็กินปลาด้วย

    ขอขอบคุณ... คุณ pui pui

    • ปลากระป๋องเป็นอาหารที่มีโอเมกา-3 สูงกว่าอาหารทะเลทั่วไป
    • ข้อดีเป็นพิเศษอีกอย่างหนึ่งของปลากระป๋องคือ ผนึก (sealed) ทำให้อากาศเข้าไปไม่ได้

    โอเมกา-3 เป็นน้ำมันชนิดที่ไวต่อการถูกทำลาย (unstable) หรือหืนได้ง่ายเมื่อถูกอากาศ

    • ปลาที่ตั้งทิ้งไว้นานๆ สังเกตดูจะ "คาว" ส่วนหนึ่งเป็นผลจากโอเมกา-3 ทำปฏิกริยากับอากาศ และเสื่อมสภาพ

    มีข้อควรระวังอย่างหนึ่งในการกินอาหารกระป๋องให้ได้ผลดีคือ...

    • เมื่อเปิดกระป๋องแล้ว ควรเทออกทันที เพื่อป้องกันดีบุกที่เคลือบทำปฏิกริยากับอากาศ และละลายออกมาในอากาศ
    • ภาชนะที่เก็บปลากระป๋องควรเป็นภาชนะที่ป้องกันอากาศ (seal) ได้ เช่น ทัพเพอร์แวร์(ยี่ห้อไหนก็ได้ที่ปิดสนิท ไม่จำเป็นต้องแพง) ฯลฯ

    ขอให้มีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

    แถมอีกหน่อย...

    • เวลาเราไปกินอาหารทะเล...

    เรามักจะสั่งปลาทอดกัน

    • ทำแบบนั้นได้โอเมกา-3 นิดหน่อย เพราะน้ำมันที่ใช้ทอด (70% ขึ้นไปเป็นน้ำมันปาล์ม ที่เหลือเป็นน้ำมันหมู น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว) จะซึมเข้าไปในเนื้อปลา
    • โอเมกา-3 ในปลาจะซึมออกนอก ทิ้งไว้ในกะทะมากต่อมากทีเดียว

    แถมอีกหน่อย...

    • มีคำแนะนำว่า ถ้าอยากได้แคลเซียมให้กินกุ้งแห้ง

    คำแนะนำนั้นเสี่ยงอันตรายหลายอย่างทีเดียว

    1. กุ้งแห้งส่วนใหญ่ย้อมสี > สีอะไรไม่ทราบ ทว่า... ครั้งหนึ่งผมไปฝึกงานที่ปัตตานี สีย้อมแดงเยิ้มไปตามคูน้ำเลยทีเดียว
    2. กุ้งและอาหารทะเลส่วนใหญ่ ยกเว้นปลาทะเลกับปลิงทะเล มีโคเลสเตอรอลสูง > ถ้ากินทุกวันก็เสี่ยงเส้นเลือดอุดตันไม่น้อยทีเดียว
    3. กินปลาตัวเล็กตัวน้อย ปลากระป๋อง นมไม่มีไขมัน(หรือไขมันต่ำ) โยเกิร์ตไม่มีไขมัน(หรือไขมันต่ำ) ผักใบเขียว โดยเฉพาะตำลึงกับถั่วพูน่าจะปลอดภัยกว่าครับ
    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท