สะพานเชื่อมซีกซ้ายขวา สู่วิชาบูรณาการ


สวัสดีครับทุกท่าน

         สบายดีกันไหมครับ ผมอยากจะชวนทุกท่านไปเที่ยวกันด้วย Google Earth นะครับ ผมจะชวนมาเที่ยวมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กนะครับ ซึ่งมีอายุมานานแล้วครับ ตอนนี้มีอายุประมาณ 622 ปีครับ

มาดูภาพจากมุมสูงก่อนนะครับ

http://gotoknow.org/file/mrschuai/HD4.jpg

กัปตันจะร่อนบอลลูนลงไปให้ต่ำอีกหน่อยนะครับ  จะได้เห็นตัวเมืองกันให้ชัดๆนะครับ

http://gotoknow.org/file/mrschuai/HD3.jpg

ตัว เมืองเองไม่ได้ใหญ่มากครับ เมืองไฮเดลเบิร์ก ก็เป็นเืมืองมหาวิทยาลัยครับ มีจำนวนนักศึกษาประมาณ 25% ของประชากรทั้งหมดในเมือง โดยประชากรมีประมาณ 130000 คน เราลงไปดูใกล้ๆ ยิ่งขึ้นนะครับ

http://gotoknow.org/file/mrschuai/HD2.jpg

ด้วย การเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของเยอรมนี การกำเนิดมหาวิทยาลัยในยุคนั้น ก็มีจำนวนคณะน้อยครับ หลักๆ ก็มีคณะปรัชญา ซึ่งรวมหลายๆ สาขาเข้าไว้ด้วยกัน ไ่ม่ว่าจะเป็นสายสังคมและวิทยาศาสตร์ครับ แต่เมื่อเทคโนโลยีสูงขึ้น สาขาแต่ละสาขามีการค้นคว้ากันมากขึ้น ทำให้แต่ละสาขานั้นโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะมีการแบ่งคณะออกเพื่อให้จัดการบริหารง่ายขึ้น ตอนนั้น คณะคณิตศาสตร์ ก็อยู่ในคณะปรัชญาเช่นกันครับ

ณ ปัจจุบันนี้ เมืองไฮเดลเบิร์ก (ภาษาเยอรมัน อ่าน ไฮเดลแบร์ก) มีแม่น้ำเนคคาร์ แบ่งเมืองเป็นสองส่วน จากภาพจะเห็นฝั่งซ้ายและขวามือ ซึ่งฝั่งซ้ายมือที่เห็นนั้น จะเป็นโซนของสาขาทางด้านการแพทย์ และวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ครับ ส่วนฝั่งทางขวามือจะเป็นโซนของมหาวิทยาลัยเก่าดั้งเดิม ซึ่งจะเป็นทางสายสังคมศาสตร์ ปรัชญา ภาษาและวรรณคดี ซึ่งตึกเรียนและห้องสมุด โรงอาหารก็จะปนรวมกับภาคเอกชน ผสมบูรณาการกันอย่างลงตัว

  http://gotoknow.org/file/mrschuai/HD1.jpg

บริเวณชายริมเนินภูเขา ก็จะมีตึกบางคณะอยู่เหมือนกันครับ

จาก ภาพด้านบนนี้ ทำให้ผมมองภาพของการแบ่งโซน กันของสายทางวิทย์และสังคมศาสตร์กัน โดยเชื่อมกันด้วยสะพาน ทำให้ผมนึกถึงสมองของคนเราครับ มาดูกันครับว่าทำให้ผมนึกถึงในส่วนไหนครับ

http://gotoknow.org/file/mrschuai/Brain.jpg

(ภาพจากเมล์ ของเพื่อนเอก นะครับ ได้รับแล้วคิดว่ามีประโยชน์กับผู้่อ่านครับ) 

โดย ที่ซีกซ้ายและขวาของสมองของคนเราก็ต้องมีสะพานเชื่อมกัน จะอยู่แต่ซีกใดซีกหนึ่งนั้นคงไม่น่าจะดีแน่ครับ แต่หากมีการบริหารให้สมองทั้งสองด้านนั้นทำงานสื่อสารกันได้ จะทำให้สมองเรามีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น

ดังเหมือนมหาวิทยาลัยก็เช่น เดียวกัน ต้องมีการรวมทั้งในด้านทางวิทย์และศิลป์เข้าด้วยกัน บูรณาการสาขาต่างๆให้มีช่องทางการเชื่อมกัน ไม่มีรั้วกั้นระหว่างตัวมหาวิทยาลัยและตัวชุมชน เชื่อมโยงเข้ากันให้เกิดการเกื้อกูลพึ่งพาหาสู่กัน

สำหรับสมองเราจะมีการบริหารจัดการอย่างไรให้ทำงานร่วมกันระหว่างทั้งสองซีกนั้น ก็อยู่ที่แนวทางการบูรณาการของแต่ละคนเช่นกันครับ

ท่านมีความเห็นเพิ่มเติมอย่างไร ฝากแสดงความเห็นต่อยอดกันได้ครับผม

กราบขอบพระคุณมากครับ

เม้ง

 ปล. ขอบคุณภาพทั้งหมดจาก Google Earth และ ฟอร์เวิร์ดเมล์ ของเพื่อนเอกครับ

หมายเลขบันทึก: 134708เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2007 04:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะน้องเม้ง

  • ครูอ้อยมาบอกว่า..เป็นพักๆนะคะ  บางทีก็มีซีกทางซ้ายมาก  บางวันก็อยากมีแต่ซีกขวาค่ะ  ไม่เคยเท่ากันเลยสักวันค่ะ

วันนี้ ซีกทางขวาค่ะ

ขอบคุณค่ะ..จะทำอย่างไรให้เท่ากันคะ

 P

1. สิริพร กุ่ยกระโทก

สวัสดีครับพี่อ้อย

  • สบายดีนะครับพี่อ้อย ขอบคุณมากๆ เลยครับ
  • จริงๆ แล้วผมว่าดีมากๆ เลยครับ ที่มีการสลับข้างกันหนักซ้ายบ้าง ขวาบ้าง เฉลี่ยๆ กันไป คือหมายถึงว่าใช้ทั้งสองข้างอยู่ประจำ
  • จริงๆ แล้วก็ไม่ต้องจำเป็นว่าจะต้องเท่ากัน แต่เพียงว่าให้มีการใช้ทั้งสองข้างนะครับ เพราะว่าจริงๆ แล้วงานใดๆ ก็ย่อมมีการบูรณาการสองซีกเข้าด้วยกันครับ
  • การมีสะพานเชื่อมนั้นจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการที่จะต่อวงจรให้เกิดการกลมกล่อมทางความคิดครับ
  • วิทย์สอดไส้ศิลป์....x
  • ศิลป์สอดไส้วิทย์....y
  • x + y = บูรณาการ
  • ขอบคุณมากครับผม

ครูอ้อยนี่โชคดีจริงที่มีน้องชายที่เก่งๆทั้งนั้นเลยค่ะ..ภูมิใจจริงชาตินี้

น้องเอก น้องแอ๊ด  น้องเอก น้องเสก  น้องมะเดี่ยว น้องหล่า  น้องการีม  น้องออต น้องเสือ น้องสิงห์  น้อง..วายเยอะแยะไปหมดเลยค่ะ

  • ถ้าการใช้สมอง = การใช้ความคิด
  • การรับข้อมูล (ซีกขวา) ต้องนำมาประมวลรวมกับ จินตนาการ (ซีกซ้าย) ก็จะได้สูตร x+y=บูรณาการ (อย่างที่ อ.เม้งว่าไว้)
  • ปัญหาส่วนใหญ่ที่ปรากฎคือ...การด่วนสรุป..หรือการรีบร้อนตัดสินใจ...
  • รับข้อมูลมาปุ๊บ....ถ่ายออกปั๊บ....ขาดการใตร่ตรองและใช้จินตนาการ (อาจารย์ใหญ่บางท่านบอกว่า...ให้แขวนความคิดก่อน ค่อยตัดสินใจ...ไม่ต้องรีบร้อน...คิดให้รอบแล้วค่อยพ่นออกมา)
  • หมายถึงการเอาข้อมูลมาแขวนไว้ระหว่างหูซ้าย/ขวา
  • หมายถึงการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างสมองซีกซ้าย/ขวานั่นไง
  • แล้วอะไรที่เป็นนิวรณ์มาสกัดกั้นไม่ให้มีการสร้างสะพาน...หรือมีสะพานแล้วมีเศษขยะอะไรที่มาสกัดกั้นไว้....แล้วจะกำจัดขยะนิวรณ์ที่ว่านี้อย่างไร.....แล้วๆๆๆๆๆ???

ขอบคุณค่ะ อ.เม้ง

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

  เคยคุยกับชาวเยอรมัน ด้วยความสนุกสนาน ยิ้มแย้มแจ่มใส คุยจนเข้าใจกันดี มีคนบอกว่าเก่งมากๆ คุยกับฝรั่งรู้เรื่อง ดูจะสนุกมาก เห็นยิ้มน้อย ยิ้มใหญ่ สบายมากอยู่แล้ว ก็เยอรมัน เขาฝึกพูดไทย ก็เลยสอนเขาด้วยภาษาไทยล้วนๆ จะไม่ให้แลดูเก่งได้อย่างไร อย่างนี้ถือว่าใช้สมองซีกไหนคะ

P
3. สิริพร กุ่ยกระโทก

 

สวัสดีครับพี่อ้อย

  • ขอบคุณมากครับ เป็นที่โชคดีของผมเช่นกันครับ ได้รู้จัก พี่ชาย พี่สาว เพื่อนหญิงเพื่อนชาย น้องชายน้องสาว เต็มไปหมดเลยครับ
  • ขอบคุณพี่สาวมากครับ
P
4. Gutjang

 

สวัสดีครับคุณครูกั๊ต

  • ดีใจจังครับ ที่ได้อาหารสมองเพิ่มเติมครับผม...ชอบจังเลยครับผม เรื่องการ ด่วนสรุป
  • แขวนความคิดเอาไว้ ผมว่าเผงเลยครับ โดนลม โดนสายตา โดนทบทวน จะความคิดเป็นแก่นที่เหลือและนำไปใช้ได้
  • สำหรับคำถามผมชอบมากเลยครับ

    แล้วอะไรที่เป็นนิวรณ์มาสกัดกั้นไม่ให้มีการสร้างสะพาน...หรือมีสะพานแล้วมีเศษขยะอะไรที่มาสกัดกั้น ไว้....แล้วจะกำจัดขยะนิวรณ์ที่ว่านี้อย่างไร.....แล้วๆๆๆๆๆ???

  • สิ่งที่มาสกัดกั้นไม่ให้สร้างสะพานนั้น ใหญ่ๆ หลักๆ เลยอยู่ที่ตัวเราเป็นส่วนใหญ่ครับ บางทีเราสร้างกำแพงกั้นแทนจะสร้างสะพานเชื่อมครับ เช่นพอทราบว่าการคำนวณอยู่ในทางซ้ายแต่เราเป็นคนศิลป์ ก็เลยไม่สนใจ ในทำนองกลับกันก็เช่นกันครับ
  • หากเราดับนิวรณ์ที่เกิดจากตัวเองได้แล้วนั้น ทุกอย่างจะโปร่งครับ สะพานเชื่อมจะโล่ง ข้อมูลถูกส่งไปประมวลผลได้ทั้งสองฝั่งครับ
  • หากเราไม่บล็อกความคิดเราก็จะใช้สิ่งที่เรามีอยู่ได้อย่างสมดุลเอง
  • จริงๆ แล้วไ่่ม่ต้องคิดก็ได้ว่าใช้สมองส่วนไหนเพียงแต่ไม่หนีที่จะคิด และจินตนาการ พร้อมด้วยความฝันที่กลั่นให้เป็นจินตนาการได้ด้วยครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ

 P

5. ตันติราพันธ์

สวัสดครับพี่

  • สบายดีไหมครับ
  • ดีใจจังครับ ที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับคนต่างที่ต่างถิ่นต่างรากเหง้านะครับ ผมก็ชอบมากๆ นะครับ ในการพูดคุยกับคนต่างที่ ถิ่น ราก วัฒนธรรม และอื่นๆ
  • สิ่งที่เล่ามาคือใช้สมองทั้งสองซีกครับผม....
  • ระบบคิดและถ่ายทอดออกมานั้นผมเชื่อว่ามีการใช้ทั้งสองซีกครับ นอกจากนั้นจะมีระบบ รับข้อมูลแบบฉับพลันเข้าไปเพื่อโยงใยเอาใจเขามาใส่ใจเราอีกครับ จะมีระบบคิดไปรองรับ ประมวลผลก่อนจะพูดและกระทำต่อไปครับ
  • มีหลายๆ อย่างครับ บางทีเราศึกษาเอาจากตัวเองได้นะครับ เป็นการมองว่าตัวเองกำลังทำอะไรแล้วใช้กระบวนการอย่างไร
  • ขอบคุณมากๆ ครับ

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

ช่างคิดดีนะคะ..และภาพหนึ่งภาพก็แทนคำได้มากมายเช่นเดียวกัน

สมอง 2 ซีกตลอดจนหน้าที่ของมันทำให้เรามีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นว่าสมองซีกใดมีลักษณะแบบไหน..แต่อย่างที่คุณเม้งว่านั่นแหละค่ะในการทำกิจกรรมใดๆก็ตามย่อมต้องใช้สมอง 2 ซีกประสานกัน มากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่ เพราะสมองของเราทำงานสลับกัันไปมาตลอดเวลาผ่านสะพานเชื่อมแบบที่คุณเม้งทำให้เห็นนี่แหละค่ะ อุปมาก็คงเหมือนรถ คน สัตว์ที่เดินขวักไขว่สัญจรผ่านเส้นทางต่างๆเพื่อไปมาหาสู่กันระหว่างสองฟากของมหาวิทยาลัยนี่แหละค่ะ

และในขณะที่สมองซีกขวาทำงานก็ใช่ว่าสมองซีกซ้ายจะหยุด เพิกเฉย ( เหมือนเจ้าของสมองแบบเบิร์ดที่มักจะอู้งานเป็นพักๆแล้วแต่จะหาโอกาสได้ ^ ^ ) ..เพราะเค้าก็จะทำงานไปด้วยแล้วแต่ว่า " เนื้องาน " เป็นอย่างไร..เมื่อมี " เนื้องาน " สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกันก็จะทำงานอย่างแข็งขัน..  การทำงานของสมองทั้ง 2 ซีกจึงเป็นการทำงานแบบบูรณาการโดยไม่มานั่งแบ่งแยกว่านี่งานของฉัน นั่นงานของเธอ ( แบบเจ้าของสมองเลยซักนิดนึง )

เมื่อคุยกับนักคณิต ฯ ก็ขอยกตัวอย่างนี้ละกันค่ะ..การเรียนคณิต ฯ ยุคโบราณนั้นจะเน้นแต่กระบวนโจทย์ปัญหาที่มีทางเดียว แต่ในปัจจุบันได้มีการเน้นกลยุทธ์ทางความคิดแบบการแก้ปัญหาเชิงซ้อนและสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้สมองทั้ง 2 ข้างใช้งานร่วมกันในเชิงวิชาการ ...มิใช่ " เอียงซ้าย " อย่างแต่ก่อน  แต่ก็อีกนั่นแหละค่ะเรายังมีคุณครูู่อยูุ่่อีกหลายๆท่านที่ยังติด ชินกับวิธีคิดแบบดั้งเดิมอยู่  อิ อิ อิ... 

เป็นเพราะการทำงานร่วมกันของสมอง 2 ซีกนี่แหละค่ะ ทำให้คนเราแตกต่างกันมากมายทั้งบุคลิกภาพ ความคิด นิสัย ความถนัด สุดแต่ว่าสมองส่วนไหนมีศักยภาพหรือถูก " ฝึกปรือ " มามากกว่ากัน...

การฝึกให้เด็กๆใช้สมองทั้ง 2 ซีกจึงเป็นความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ปกครองทุกๆคน เพราะอะไรก็ตามที่มีพื้นฐานดี ย่อมง่ายต่อการต่อยอดและส่งเสริมอย่างเต็มศักยภาพที่เค้ามี เพราะเราพบกันแล้วว่าอัจฉริยะบุคคลทั้งหลายที่ประสบความสำเร็จโด่งดัง มักเป็นบุคคลที่ใช้สมองทั้ง 2 ซีกประสานกันอย่างเป็นขั้นตอน..และโครงข่ายโยงใยในสมองก็สามารถพัฒนาเต็มที่ได้ถึง อายุ 25 ปี ! ( จากเดิมเชื่อกันว่าจะแตกราก สาขาของเดนไดรท์ แอกซอนได้ถึงแค่อายุ 16 ปี ...ได้กำไรมาตั้งเยอะแน่ะค่ะ )

ขอบคุณมากค่ะสำหรับบันทึกที่แสดงให้เห็นว่าการทำงานของสมอง 2 ซีกแบบบูรณาการนั้นเป็นเช่นไร ^ ^ 

 

ี 

 

 P

9. เบิร์ด

สวัสดีครับคุณเิบิร์ด

  • ขอบคุณมากครับคุณเบิร์ด ใช่ครับ ผมชอบภาพกว่าตัวหนังสือครับ เพราะอ่านภาพเราจะได้รับรู้การจินตนาการของคนวาดที่ได้รับข้อมูลจากสิ่งอื่นๆ มาอีกทีหนึ่ง แต่ในทางกลับกัน ตัวอักษรเป็นการเปิดมุมมองของการจินตนาการครบเลยครับ เพราะเราต้องจินตนาการเองทั้งหมด
  • สำหรับสมองนั้น เห็นด้วยเลยครับ ว่าเราจะแยกกันทำงานคงเป็นไม่ได้ เพียงแต่เราต้องร่วมกันคิดและมีความหลากหลายในมุมมอง เช่นผมเป็นนักคณิตศาสตร์ ผมก็ควรจะมองจากมุมมองของฝั่งซ้ายบ้าง ขวาบ้าง ว่าเห็นอะไรแตกต่างอย่างไรบ้าง จินตนาการว่าเรานั่งอยู่บนยอดเินินใดเนินหนึ่งของเนื้อสมองอาจจะเห็นอะไรแตกต่างกันครับ
  • สำหรับเรื่องการบูรณาการคณิตฯ นั้น จริงๆ แล้วกว่าจะได้มาเป็นสมการนั้นผ่านกระบวนการหลายๆ อย่าง จากธรรมชาติแปลงเป็นตัวอักษรและกว่าจะได้เป็นสมการ เมื่อได้สมการแล้วแปลงหาคำตอบ แก้ปัญหาได้คำตอบแล้วแปลคำตอบให้เป็นความหมายทางภาษาแปลความอีกทีหนึ่งจนได้คำตอบสำหรับหลายๆ อย่างต่อไปครับ กระบวนการแปลงและคิดตรงนี้ ก็จำเป็นต้องขับรถข้ามสะพานกันบ่อยๆ ครับ ขนย้ายข้อมูลแนวคิดกันไปคุยกันครับ
  • มีอะไรที่เราควรจะศึกษาลึกๆ อีกเยอะครับ เพื่อจะบริหารให้สมอง ที่มีน้ำมีเนื้อสมอง มีสารเคมีในสมองทำงานและหลั่งสารตามที่ควรเป็น
  • ขอบคุณมากๆ นะครับผม ที่มาช่วยต่อเติมการบูรณาการสมองร่วมกันครับ....
  • ขอบคุณมากครับผม
  • ตามมาเก็บข้อมูลคะ
  • ในฐานะคนที่เคยลงไปเดินบนสะพานนี้..อิอิ
  • ต้องขอย้ำว่า...ทั้งสองฝั่งสะพานสวยงามมาก
  • ฝั่งหนึ่งมีตึกรามบ้านช่องเก่าแก่..ที่ทรงคุณค่า
  • อีกฝั่งก็มีทั้งต้นไม้...และบ้านเรือนงดงาม
  • อยากเรียกว่าสะพานเชื่อมใจคะ
  • และเชื่อมสมองทั้งสองซีกไงคะ
  • แม้จะขวาจัดอย่างไรก็ต้องมีเอียงซ้าย
  • หรือซ้ายจัดอย่างไรก็ต้องมีขวาซ่อนอยู่
  • ในบางครั้งมนุษย์ตัดสินสิ่งใดจากใจสั่งมาคะ
  • หลายครั้งคะที่มนุษย์ทำลงไปโดยไม่ยึดกฏระเบียบใดๆ...กลไกในสมองมนุษย์ซับซ้อนมากนะคะ...ยากจะตัดสินได้
  • แล้วทำไมทุกคนถึงไม่คิดเช่นเดียวกันละคะ
P
11. naree suwan

สวัสดีครับคุณนารี

  • ขอบคุณมากครับผม ที่มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ร่วมนะครับ
  • เด็ดมากที่  สะพานเชื่อใจ ครับผม
  • ท้ายที่สุดแล้วคือใจเดียวกัน สมองเดียวกัน คนเดียวกัน สิ่งเดียวกัน เชื่อมโยงกัน อย่างหาข้อวิเวกไม่ได้ใช่ไหมครับ
  • แล้วทำไมทุกคนถึงไม่คิดเช่นเดียวกันละคะ
  • หากสิ่งนั้นคือความขัดแย้ง ผมเชื่อว่า ความขัดแย้งก็เป็นหนทางแห่งการพัฒนาครับ
  • มองกันจากมุมมองต่างๆ กันจะทำให้เราได้ภาพที่คมชัดมากยิ่งขึ้นครับ
  • เพราะคนเรามองได้แค่ 180 องศาเท่านั้น เราต้องใช้กระจก กระจกที่ใสพอที่จะส่องให้เราเป็นตัวเรามากยิ่งขึ้น
  • ขอบคุณมากๆครับ ที่ทำให้ผมคิดต่อได้เพิ่มไปอีกนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท