สุดยอด Hit .....การจัดการความรู้ การออกแบบการสอน และการวัดผลตามสภาพจริง


การจัดการความรู้ และ การเรียนการสอนในโรงเรียน

         ทำไมนักเรียนในยุคนี้ มีความรู้ และจริยธรรมลดลง     ข้อความนี้ได้มาจากไหน?    แต่สิ่งหนึ่งที่แสดงให้ทราบคือการวัดผลประเมินผลด้านคุณภาพผู้เรียนจากการประเมินของโรงเรียน จากการประเมินภายนอก และ จากการประเมินระดับชาติ

          กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนแตกต่างไปจากเดิมหรือไม่    มีปัจจัยอะไรเข้ามาเกี่ยวข้อง   และ สุดท้ายเราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร    ต้องเริ่มจากไหน     ใครเป็นผู้กระทำ  ?   แค่ถามตนเองเล่นๆ แบบนี้ ก็มึนแล้ว


            เราได้จัดทำมาตรฐานการศึกษาในระดับชาติ ให้แก่เยาวชนไทยแล้ว ครูก็ได้รับการอบรมเรื่องกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งนักเรียนได้บรรลุตามเป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้  แต่เท่าที่ผ่านมา การกำหนดมาตรฐานของสถานศึกษายังมีบางส่วนที่ยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานชาติ และท้องถิ่น ไม่ได้นำจุดเด่นของท้องถิ่นที่เป็นวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้อย่างแท้จริง ไม่เกิดการต่อยอดในภูมิปัญญาที่มีจึงทำให้สิ่งที่ควรจะก้าวหน้า กลับดูเหมือนว่าคงเดิมหรืออาจถอยลง เนื่องจากการรับในสิ่งที่มีอยู่ได้รับเท่าเดิมหรือน้อยกว่าเดิม แต่มีสิ่งที่มาจากวัฒนธรรมภายนอกที่เพิ่มเข้ามา ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง แต่ด้วยเราไม่ได้สอนกระบวนการคิดและทักษะชีวิตแก่เด็กจึงทำให้เขาประยุกต์เองตามที่เขาคิด จึงเกิดเป็นความรู้วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นตามกระแสนิยมของกลุ่มชุมชนเฉพาะ   การเรียนรู้ในกระบวนการศึกษาก็มุ่งที่จะเรียนต่อ จะเข้าสู่สถาบันที่ตนเองชอบ หรือที่พรรคพวกชักชวนไปเข้าเรียน โดยที่ตัวเองไม่ได้ประเมินในตนเองว่าตนมีความรู้ หรือถนัดทางไหน เรียนแล้วต้องการที่จะประกอบอาชีพอะไร
เมื่อจบและยึดเป็นอาชีพจะทำให้ชีวิตเป็นสุขจริงหรือไม่  เมื่อไม่ได้วางแผนชีวิต เพราะไม่รู้ซึ้งถึงคุณค่าชีวิต โดยที่ไม่รู้ตน จึงทำให้เกิดวัฒนธรรมกระแสนิยม ความวุ่นวายสับสนจึงตามมา  เมื่อได้ในสิ่งหวังก็ดีใจ เมื่อไม่ได้ก็เสียใจอาจก่อเกิดปัญหาทางสังคมติดตามมา


        เดี๋ยวนี้ ทางการศึกษาจึงได้นำ การจัดการความรู้ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลตามสภาพจริงมาเน้นในการจัดการศึกษาให้แก่นักเรียน เนื่องด้วย

 1.การจัดการความรู้ (Knowledge Management ) จะเป็นการนำเอา Best practice  แนวปฏิบัติที่ดี ที่ภูมิใจ ความรู้ฝังลึก ของครูผู้สอน หรือของวิทยากรท้องถิ่น มาสู่การเป็นขั้นตอน / ทฤษฎีการสอน ที่หลากหลาย เป็นการหาสิ่งดีๆ ขั้นตอนการเรียนรู้ดีๆ แหล่งเรียนรู้ที่ดีๆ และอื่นๆที่ดี มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มาร่วมกันสกัดสู่แก่นความรู้ที่จะนำเอาไปพัฒนาใช้เป็นเทคนิคการสอนของแต่ละกลุ่มสาระ อาจเรียกว่าเป็น Best practice ของกลุ่มสาระ

  2. การออกแบบการสอน เดี๋ยวนี้ใช้ Backward  Design  หรือการออกแบบย้อนกลับ  หรือการออกแบบถอยหลังกลับ  เกิดจากแนวคิดของ  Grant  Wiggings   and  Jay  Mctighe (1998)  เป็นกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการออกแบบเป็นหน่วยการเรียนรู้  โดยเริ่มการออกแบบการจัดการเรียนรู้จากปลายทางซึ่งเป็นผลผลิตที่ต้องการ  ด้วยการกำหนดความรู้  ความสามารถ  ที่เป็นเป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้ให้เกิดกับนักเรียน ซึ่งได้มาจากหลักสูตร   มีการกำหนดร่องรอย หลักฐานแห่งการเรียนรู้(Performances) ที่ยอมรับได้ว่านักเรียนได้บรรลุตามเป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้   และจากนั้นจึงนำไปสู่การวางแผนการสอน มีการจัดลำดับขั้นกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเป็นเครื่องมือนำไปสู่การสร้างร่องรอย  หลักฐานแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน      ซึ่ง Grant  Wiggings   and  Jay  Mctighe (1998)  ได้สรุปเป็นขั้นตอนที่เกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กัน   3  ขั้น  คือ
       ขั้นที่ 1  กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ที่พึงประสงค์(Identify  desired  results)  ด้วยการกำหนดความรู้ ความสามารถที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนตามเป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้จากหลักสูตร
       ขั้นที่ 2  กำหนดหลักฐานของการเรียนรู้ที่ยอมรับได้ผู้เรียนได้บรรลุตามเป้าหมาย                ( Determine  acceptable  Evidence) 
       ขั้นที่ 3 ออกแบบกิจกรรม/วางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้(Plan  learning  experiences  and  instruction)  เพื่อให้นักเรียนหลักฐานตามเป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้
        จะเห็นได้ว่า เป็นการกำหนดให้ผู้เรียนได้รู้ว่าเราจะให้เด็กได้อะไรที่ติดตัว ติดใจ ฝังลึกในตน เพื่อนำไปสู่การมีทักษะชีวิต และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

 3. การวัดผลตามสภาพจริง เป็นการกำหนดหลักฐานของการเรียนรู้ที่ยอมรับได้ว่าผู้เรียนได้บรรลุตามเป้าหมาย  หรือมาตรฐานการเรียนรู้ที่ต้องการ ( Determine  acceptable  Evidence)  คำถามที่ครูผู้ออกแบบการจัดการเรียนรู้ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า  จะรู้ได้อย่างไรว่า  นักเรียนมีความรู้  ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร   การแสดงออกของนักเรียนเป็นอย่างไร   จึงจะยอมรับได้ว่านักเรียนมีความรู้  ความสามารถตามที่กำหนด  นั่นคือ  ครูผู้สอนต้องประเมินความก้าวหน้าของนักเรียนไปจนถึงผลผลิตที่ต้องการ  การประเมินผลเป็นการประเมินที่หลากหลายตามสภาพจริง ประเมินให้ครบทุกด้าน มีเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนเป็นที่ยอมรับ 


                      แผนผังการจัดการความรู้สู่ Best practice
      ผมได้จัดทำแผนผังการจัดการความรู้ ในการขยายผลสู่โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง ดังนี้


  

          จากการนำไปทดลองใช้ในโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงแล้ว เห็นว่าได้เปลี่ยนเจตคติของครูผู้สอนให้มีการหากระบวนการสอนที่เป็นสุดยอดของตนเอง ของกลุ่มสาระ  และจัดทำแผนการเรียนรู้ตามกระบวนการออกแบบได้แผนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เราต้องคอยดูผลที่จะเกิดแก่นักเรียนต่อไป
                           3 ตุลาคม 2550

 

หมายเลขบันทึก: 134653เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

เขียนได้ดี ขออนุญาตนำข้อมูลไปเผยแพร่นะค่ะ ขอบคุณค่ะ

  • แวะมาเยี่ยมเยียนค่ะ...
  • ดีจังเลยค่ะ  ที่นำความรู้มาต่อยอดได้
อ่านไม่เข้าใจอ่ะครับ -*-

สวัสดีค่ะท่าน

หลายท่านเข้ามาอ่านแล้วได้รับความรู้จากท่านไป

แล้วท่านเคยอ่านที่นี่..หรือเปล่าคะ

ขอบคุณค่ะที่ให้ความร่วมมือ

ขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจครับ

ขอบคุณครูอ้อยครับ ระยะนี้กำลังวุ่นว่าจะจัดการตั้งนานแล้ว ลืมทุกที ขอบคุณครับผม  แผนภาษาอังกฤษมีใหม่ๆ ช่วยเผยแพร่ด้วยจะนำไปเป็นวิทยาทานแก่ครูบ้านนอก

นาวาโทหญิงดวงกมล พิชิตชโลธร

อาจารย์อธิบายได้ชัดเจนมากค่ะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ไม่ได้เรียนครุศาสตร์มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท