แผนการจัดการเรียนร้ปิโตรเลียม


แผน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
          แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
เรื่อง ปิโตรเลียม                                                                                                                            จำนวน 12  ชั่วโมงวิชา สารและสมบัติของสาร  ( ว 41102 )                                              กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4                              ภาคเรียนที่ 1                                                 ปีการศึกษา 2550
 1.  มาตรฐานการเรียนรู้เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดการสะลาย การเกิดปฏิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 1.1  มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นสืบค้นข้อมูล อภิปรายและอภิบายเกี่ยวกับกระบวนการและผลิตภัณฑ์ จากการแยกแก๊สธรรมชาติ การกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบ ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วน น้ำมันดิบ รวม ถึงอันตรายของมลภาวะที่อาจเกิดขึ้นจากสารในผลิตภัณฑ์ทั้งก่อนหรือหลังการนำไปใช้ประโยชน์   2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังสืบค้นข้อมูล อธิบาย อภิปราย วิเคราะห์ เกี่ยวกับกระบวนการและผลิตภัณฑ์จากการแยกก๊าซธรรมชาติ การกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบ                  สืบค้นข้อมูลและนำเสนอประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบ รวมถึงอันตรายหรือมลภาวะที่อาจเกิดขึ้นจากสารในผลิตภัณฑ์ ทั้งก่อนหรือหลังการนำไปใช้ 3. สาระสำคัญปิโตรเลียมเกิดขึ้นจากการทับถมของซากสิ่งมีชีวิตซึ่งตายและจมลงสู่ก้นทะเล        และทับถมกันนานวันเข้าก็จะกดทับให้ซากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจมลงสู่เบื้องล่างลึกลง  ซึ่งไม่มีจุลินทรีย์ อาศัยในส่วนลึกที่มีแรงดันสูงของโลก  และเป็นสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน ซากสัตว์ที่ทับถมกันจึงไม่สามารถเกิดการย่อยสลายได้เหมือนบนบกแต่จะกลายไปเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน  คือ ปิโตรเลียม อันได้แก่ น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ ซึ่งโดยมากมักจะพบทั้ง 2 อย่างอยู่ร่วมกัน ในสถานะก๊าซ  ของเหลว และของแข็ง   ปิโตรเลียมที่พบอาจจะมีองค์ประกอบต่าง ๆ ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับแหล่งที่พบ  สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมมีประโยชน์หลากหลาย ใช้ในครัวเรือน  ใช้เป็นเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ชนิดต่าง ๆ  ตลอดจนในอุตสาหกรรมอีกหลายประเภท                                                                                                                  4.   สาระการเรียนรู้(เนื้อหา)                1.  การกลั่นน้ำมันดิบหรือปิโตรเลียม                                      2.  ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม                                   3.  สารประกอบไฮโดรคาร์บอน4.  เชื้อเพลิงในชีวิตประจำวัน  น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ5.  ผลกระทบจากการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและพลังงานทดแทน5. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1.               อธิบายกระบวนการเกิดและการกลั่นปิโตรเลียม  หรือ  น้ำมันดิบ                                                                                                                2.               บอกส่วนต่าง ๆ ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม  หรือ  น้ำมันดิบ                                                                                                                                            3.               อธิบายประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม                                                      4.               บอกประโยชน์และกระบวนการผลิตของแก๊สธรรมชาติ5.               บอกผลกระทบที่เกิดจากมลภาวะของการใช้จากปิโตรเลียม6.               คิดวิเคราะห์  5 ขั้นตอน เกี่ยวกับการใช้พลังงานทดแทน7.               เขียนแผนผังความคิดรวบยอดเกี่ยวกับปิโตรเลียม 6.  เทคนิค/กระบวนการจัดการเรียนรู้                6.1  กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวงจรการเรียนรู้ ( 5 Es )6.2 กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ และเทคนิคการระดมสมอง                6.3  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะทางวิทยาศาสตร์                6.4  การคิดวิเคราะห์ข้อมูล 7.  หลักธรรมทางศาสนาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง                7.1  ความพอประมาณ ( การใช้พลังงานอย่างประหยัด ) 8.  กิจกรรมการเรียนรู้                8.1  ขั้นนำ  ( 15 นาที )                                 8.1.1  ครูนำแบบจำลอง ( Model ) การขุดเจาะน้ำมันปิโตรเลียมมาให้นักเรียนสังเกตและอภิปรายซักถาม  ดังนี้1)              นี่คือแบบจำลองเกี่ยวกับอะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง ( แบบจำลองการขุดเจาะน้ำมันปิโตรเลียม  ประกอบด้วย ส่วนหัวขุดเจาะที่ดูลักษณะเหมือนปากนก, ที่เก็บน้ำมันเมื่อขุดขึ้นมาแล้ว )2)              นักเรียนคิดว่าก่อนที่จะมีการขุดเจาะหาน้ำมันเขาจะทำอะไรก่อน( มีการสำรวจแหล่งน้ำมัน ก่อน )         3)              นักเรียนคิดว่าน้ำมันที่ขุดขึ้นมาแล้วมีลักษณะอย่างไร นำไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร    ( สีดำ  เหนียว ข้น  นำไปใช้ทันทีไม่ ได้ ต้องผ่านกระบวนการกลั่นก่อน )                                 8.1.2  ครูสังเกตการร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นของนักเรียนและนำเข้าสู่จุดประสงค์และหัวข้อที่จะศึกษา  ในหน่วยที่ 2 เรื่องปิโตรเลียม                                     8.2  ขั้นสอน  ( ชั่วโมงที่  1- 3  ) ขั้นการสำรวจและค้นหา 1 ( Exploration )8.               นักเรียนศึกษาข้อมูลจากภาพยนตร์ เรื่องปิโตรเลียม ซึ่งมี 4 ตอน ดังนี้ตอนที่ 1 กระบวนการเกิดปิโตรเลียม หรือน้ำมันดิบตอนที่ 2 การกลั่นปิโตรเลียม และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมตอนที่ 3 .......  ตอนที่4 .........จาก ภาพยนตร์เกี่ยวกับกระบวนการเกิดและการกลั่นปิโตรเลียม  30 นาที นักเรียนครูจัดสถานการณ์ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ จากโดยให้9.               นักเรียนทุกกลุ่มฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์จากสถานการณ์ภาพยนตร์ ตามกิจกรรมที่ 4.1 เรื่อง การคิดวิเคราะห์ กระบวนการเกิดและการกลั่นปิโตรเลียม                                                                   8. 3  ขั้นสรุป     ขั้นการอธิบายและลงข้อสรุป 1 (Explanation )8.3.1                        นักเรียนแต่ละกลุ่มนำผลการทำกิจกรรมฝึกทักษะการคิดจากกิจกรรมที่ 4.1  กลุ่มละ  5 10 นาที และครูร่วมอภิปรายแนะนำ และสังเกตการณ์อภิปรายของนักเรียนครูและนักเรียนร่วมอภิปรายสรุปถึงกระบวนการเกิดและการกลั่นปิโตรเลียม  ให้เข้าใจตรงกัน                             ขั้นขยายความรู้ 1 ( Elaboration )                                                  8.3.4   นักเรียนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการวางแผนไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนเองได้ ซึ่งนักเรียนได้ฝึกวางแผนร่วมกันในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับปิโตรเลียม                                                8.3.5  นักเรียนใช้แผนการที่วางไว้ไปสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อที่ตนเองเลือกทั้งในและนอกเวลา และถ้ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด ๆ ให้ปรึกษาครูได้ตลอดเวลา         ขั้นประเมินผล 1 (Evaluation )                 8.3.6  ครูรวบรวมแผนการสืบค้นข้อมูลของนักเรียนทุกกลุ่ม และตรวจการวางแผน  จำนวนสมาชิก  เสนอแนะและส่งคืนนักเรียน และให้นักเรียนดำเนินการตามแผนได้8.3.7                        ครูเน้นย้ำถึงความรับผิดชอบ และความสามัคคีในกลุ่ม ในการทำงาน8.3.8                        ครูมอบหมายให้นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมในเอกสารประกอบการสอนเป็นการบ้านเกี่ยวกับปิโตรเลียม    ( ชั่วโมงที่  4-5  )8.4   ขั้นนำ       ขั้นสร้างความสนใจ 2 ( Engagement )                  8.4.1 ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการสอบถามนักเรียนทุกกลุ่ม เกี่ยวกับงานที่สืบค้นข้อมูลได้ตามกำหนดในแผนที่วางไว้หรือไม่  กลุ่มไหนพบปัญหาหรืออุปสรรคอย่างไรบ้างและมีแนวทางปรับปรุงแก้ไขอย่างไร                                                  8.4.2 นักเรียนและครูร่วมวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้การฝึกคิดแบบก้างปลาเพื่อหาสาเหตุของปัญหา  ของแต่ละกลุ่ม                                                8.4.3  ครูให้คำแนะนำและให้กำลังใจในการสืบค้นข้อมูลนอกเวลาต่อไป  8.5   ขั้นสอน      ขั้นการสำรวจและค้นหา 2  ( Exploration )8.5.1                         ครูฉายภาพยนตร์จากซีดีเกี่ยวกับปิโตรเลียม ให้นักเรียนศึกษา และเตรียมคำถามที่จะให้นักเรียนอภิปรายผลจากการศึกษาข้อมูลจากภาพยนตร์ดังนี้  1)              กระบวนการเกิดปิโตรเลียมเกิดขึ้นได้อย่างไร  (  ปิโตรเลียมเกิดขึ้นจากการทับถมของซากสิ่งมีชีวิตซึ่งตายและจมลงสู่ก้นทะเล        และทับถมกันนานวันเข้าก็จะกดทับให้ซากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจมลงสู่เบื้องล่างลึกลงไป  ซึ่งไม่มีจุลินทรีย์อาศัยในส่วนลึกที่มีแรงดันสูงของโลก  และเป็นสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน ซากสัตว์ที่ทับถมกันจึงไม่สามารถเกิดการย่อยสลายได้เหมือนบนบกแต่จะกลายไปเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน)2)  โครงสร้างของหินประเภทใดที่มักมีแหล่งน้ำมันดิบ  ( หินชั้นและหินตะกอน )3)  การกลั่นน้ำมันดิบเป็นการกลั่นแบบไหน  เริ่มจากกระบวนการอะไรก่อน ( การกลั่นน้ำมันดิบเป็นการกลั่นลำดับส่วน  เริ่มจากขุดน้ำมันดิบที่มีลักษณะเหนียว ข้น สีดำ ผ่านไปยังหอเผาน้ำมันดิบ ที่มีอุณหภูมิประมาณ 350 400 o C  แล้วฉีดเข้าไปยังหอกลั่น ที่มีอุณหภูมิลดหลั่นกันตามลำดับ โดยส่วนล่างจะมีอุณหภูมิสูงสุด และลดลงเรื่อย ๆ ตามความสูงของหอกลั่น )               4)  ส่วนต่าง ๆ ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบหรือปิโตรเลียม ได้แก่อะไรบ้าง  ( แก๊สหุงต้ม , ตัวทำละลายอินทรีย์ , น้ำมันเบนซิน , น้ำมันก๊าด , น้ำมันดีเซล , น้ำมันหล่อลื่น , น้ำมันเตา , เทียนไข จาระบี และยางมะตอย )  8.6   ขั้นสรุป      ขั้นการอธิบายและลงข้อสรุป 2 (Explanation )8.6.1  นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสิ่งที่ได้จากการศึกษาข้อมูลจากภาพยนตร์ เกี่ยวกับปิโตรเลียม กลุ่มละ 3 นาที  8.6.2   ครูสุ่มแต่ละกลุ่มออกมาตอบคำถามที่ให้ไว้เกี่ยวกับ  กระบวนการเกิดและการกลั่นน้ำมันดิบและส่วนต่าง ๆ ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบหรือปิโตรเลียม8.6.3   ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพิ่มเติมให้เข้าใจตรงกันเกี่ยวกับ กระบวนการเกิดและการกลั่นน้ำมันดิบและส่วนต่าง ๆ ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบหรือปิโตรเลียมและสรุปข้อมูลที่ได้เรียนบันทึกลงสมุดทุกคน                                                                                                                                          ขั้นขยายความรู้ 2 ( Elaboration )  8.6.4                        ครูสอบถามนักเรียนกลุ่มที่เลือกหัวข้อที่สอดคล้องกับเรื่องกระบวนการเกิดและการกลั่นน้ำมันดิบและส่วนต่าง ๆ ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบหรือปิโตรเลียม มีอะไรเพิ่มเติมจากนี้บ้างและจะนำข้อมูลที่ได้ศึกษาจากภาพยนตร์ไปเชื่อมโยงกับชิ้นงานที่สืบค้นอย่างไร8.6.5    ครูตั้งคำถามให้นักเรียนอภิปราย ดังนี้ ปิโตรเลียม เป็นปัจจัยบ่งชี้ความมั่งคั่งของประเทศได้อย่างไร  8.6.6.  นักเรียนทุกกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอข้อมูลที่อภิปรายในกลุ่มและเหตุผลที่สนับสนุน   ครูสังเกตการณ์อภิปรายและนำเสนอ                                                  ขั้นประเมินผล 2 (Evaluation )                                                 8.6.7   นักเรียนทำแบบฝึกหัดท้ายบท ในเอกสารประกอบการสอน หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สารและสมบัติของสาร  หน้า 48                                                 8.6.8   ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝึกหัดและให้นักเรียนตรวจสมุดเพื่อน                                                8.6.9  ครูให้กำลังใจแก่นักเรียนทุกกลุ่ม ( ชั่วโมงที่  6 8   )8.7   ขั้นนำ                                        ขั้นสร้างความสนใจ 3 ( Engagement )                                                  8.7.1   ครูนำแบบจำลองโมเลกุล ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนแบบ 3 มิติ มา ให้นักเรียนดู  และตั้งคำถาม ดังนี้         1)   นักเรียนทราบหรือไม่ว่าสิ่งที่ครูถืออยู่นี้ เป็นแบบจำลองของอะไร     (นี่คือแบบจำลองของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน )         2)  นักเรียนคิดว่าสารประกอบไฮโดรคาร์บอนประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง ( ธาตุคาร์บอน กับธาตุไฮโดรเจน)                                   10.2  ครูอภิปรายถึงการที่เราเคยศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการกลั่นปิโตรเลียมมาแล้ว  พบว่าสารที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เป็นพวกสารประกอบไฮโดรคาร์บอน  ดังนั้นวันนี้เราจะมาศึกษา เกี่ยวกับ ความหมาย  โครงสร้างโมเลกุล ชนิด และปฏิกิริยาของ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน                                 8.8  <
หมายเลขบันทึก: 134426เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทดสอบการเปลี่ยนแปลงข้อมูล

ขออนุอาจารย์ นำแผนไปใช้สอนนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท