จิตะ+วิทยา : ตอนที่ 2 : การฝึกจิต : ตามหลักจิตวิทยาชาวพุทธ : บนถนนเดินทางหมายเลข 4


ทุกคนรู้ว่าชีวิตก็คือส่วนผสมระหว่างความทุกข์กับความสุข ความพอใจกับความไม่พอใจ ความสนุกสนานกับความเจ็บปวด ไม่ว่าจะเป็นศาสตราจารย์ ด๊อกเตอร์ พ่อค้าหรือขอทานก็ต่างมีเท่าเทียมกัน

        อันที่จริงคนเรานั้นต้องยอมรับกันเลยว่า  ไม่มีใครที่จะมีความสุขโดยไม่เคยมีทุกข์เลย  ทุกคนรู้ว่าชีวิตก็คือส่วนผสมระหว่างความสุขกับความทุกข์  ความพอใจกับความไม่พอใจ  ความสนุกสนานกับความเจ็บปวด ไม่ว่าจะเป็นใคร  ศาสตราจารย์  ด๊อกเตอร์ผู้ทรงเกียรติ  นายกรัฐมนตรี   ข้าราชการ  นายธนาคาร   เจ้าของบริษัท ฯ โทรคมนาคมที่ยิ่งใหญ่   พ่อค้าหรือแม้กระทั่งขอทานที่นั่งขอทานที่ริมฟุตบาทต่างก็มีเท่าเทียมกัน


        ในบางครั้งเราอาจจะรู้สึกถึงความสุขจนนึกไม่ออกว่า ความทุกข์เป็นอย่างไร   ตัวอย่างก็คือ คนที่กำลังตกอยู่ในความรัก หรือแม้กระทั่งในบางคราวเราอาจจะรู้สึกถึงความทุกข์จนนึกไม่ออกว่า ความสุขเป็นอย่างไรก็ตอนที่เราต้องสูญเสียคนอันเป็๋นที่รักไป


        และในปี พ.ศ. 2531 ราว ๆ กลางปีเราเคยประสบชะตากรรมดังกล่าว


        ชีวิตในช่วงนั้นของครอบครัวเหมือนขาดคนถือเข็มทิศ    พี่ ๆ และเราเพิ่งจะจบการศึกษาและเข้าทำงาน พ่อเพิ่งได้รับเงินเดือนเดือนแรกของเราจำได้ว่า ตอนนั้นบรรจุ ซี 1 แค่ 1950 บาทและบวกกับค่าครองชีพ 200 บาท  เราแบ่งเงินให้แม่เดือนละ 1500 บาทนอกจากนั้นก็เก็บเอาไว้ใช้ส่วนตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ เอาไว้เป็นค่าอาหารกลางวันและค่าน้ำมันรถมอเตอร์ไซด์ซึ่งถือว่ามากพอดูเลยสำหรับค่าครองชีพสมัยนั้นซึ่งก๋วยเตี๋ยวชามละ 5 บาทและน้ำมันเบนซิลลิตรละ 6 บาทกว่า ๆ       เงินที่เก็บไว้และรวมกับเงินของพี่ ๆ และเรา 3 คนต้องหมดไปกับการรักษาและการเดินทางไป-มาระหว่างโรงพยาบาลศิริราชกับพิษณุโลก 2 ปีกับการทรมาณด้วยโรคมะเร็งกล่องเสียงของพ่อ  นอกจากจะสิ้นพ่อไปครอบครัวของเรายังหมดตัวไปด้วยแถมยังเหลือหนี้สินให้เราแม่และพี่น้องต้องใช้อีก
       แม่ผู้เป็นเหมือนหลักของบ้าน  เรียกเราสามคนพี่น้องมาปรึกษาในวันหนึ่ง ท่านให้สติแก่พวกเรา ซึ่งเรายังจำได้ติดใจจนทุกวันนี้ท่านบอกไม่ให้ทดท้อชีวิต ท่านบอกว่าให้รับมือกับปัญหาต่าง ๆ ด้วยสติและมีหลักการ   การพิจารณาถึงชีวิตที่เราจะอยู่ต่อไปข้างหน้าย่อมดีกว่าปล่อยชีวิตให้อยู่กับความหดหู่ไปวัน ๆนั่นก็คือ....ท่านบอกให้เรา...เข้าใจชีวิต
      
การเข้าใจชีวต เป็นเรื่องของการก้าวไปสู่ลำดับความหยั่งรู้ทั้งการคิดคำนึงด้วยเหตุผลและเป็นความหยั่งรู้ที่ประจักษ์ขึ้นในใจการมีสติจะทำให้เรารู้เท่าทันเป้าหมายและกระบวนการของจิตทำให้เกิดการตื่นตัว  พินิจพิเคราะห์พิจารณาจากภายในสู่ภายนอกได้      


       เคยสังเกตไหม...จิตใจของเราโดยปกติแล้วมักจะมุ่งสนใจกับโลกภายนอกรอบ ๆ ตัว มากกว่าการพินิจพิเคราะห์ภายในตนเองสิ่งที่จะสามารถกำหนดจิตให้อยู่นิ่งอย่างสงบได้นั้นมีสิ่งเดียวก็คือ การฝึกจิต นั้นเอง


       การฝึกจิตบางแนวมุ่งที่จะขยายขอบเขตของความสามารถในการรับรู้กว้างออก ในขณะเดียวกันก็มีการฝึกจิตบางแนวมุ่งให้ขอบเขตแคบลงเพื่อให้สามารถรับรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งชัดเจนเป็นพิเศษ   การฝึกจิตมีหลายกลวิธีและมีหลายรูปแบบแล้วแต่ว่าเราจะเลือกตามหลักแนวทางไหน แต่ที่สำคัญก็คือ..เราจะได้สติที่สมบูรณ์กลับคืนมา
      
เราเอง ฝึกสติ ตามแนวทางหนึ่งก็เพื่อให้สามารถลดห้วงคำนึงที่นึกถึงแต่บุคคลที่จากไปในเวลานั้น  การได้ใส่เสื้อขาวและผ้าถุงสีขาว ตลอดจนได้นั่งนิ่งกำหนดลมหายใจให้รู้ว่า หายใจเข้า และให้รู้ว่า หายใจออก  ให้รู้ว่า ตอนนี้ทำอะไรคือการไม่ละความสนใจออกนอกกายของตน   ถึงแม้จะไม่ได้ฝึกสติสำเร็จจนขั้นเห็นอะไรต่อมิอะไรอย่างที่มีผู้รู้เคยบอก   แต่การฝึกสติในตอนนั้นทำให้เราได้พื้นฐานของการมีสติ...ในปัจจุบัน


       เคยบ้างไหม..เคยเห็นคนในที่ทำงาน  ที่บ้าน หรือแม้กระทั่งในรอบครัวเรา  เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง บางคนถึงกับระงับอารมณ์ไม่อยู่  มีปากมีเสียงกัน  ด่าทอและกล่าวคำหยาบออกมาโดยลืมคิดว่า ตนเองเป็นใครและกำลังโต้เถียงกับใคร ความเหมาะสมตอนนั้นคงไม่ต้องพูดถึงเพราะอย่างไรก็ไม่สามารถหยุดยั้งให้กล่าวคำด่าทอได้    แน่อน...คนนั้นย่อมไม่เคย ฝึกจิต ฝึกสติ จึงไม่สามารถระงับอารมณ์ฝ่ายต่ำของตนเองได้    ซึ่งตรงกันข้ามกับอีกฝ่ายหนึ่งที่ ฝึกจิต ฝึกสติ  เขาเหล่านั้นจะนิ่งฟังและไม่โต้เถียงถามหน่อยเถอะ...ถ้าท่านเป็นผู้ดูอยู่ท่านจะชื่นชมใคร ระหว่าง คนที่กำลังด่าทอโดยไม่มีสติ กับคนที่นิ่งและไม่โต้เถียงใด ๆ คำตอบที่คาดได้ก็คือ  คงต้องชื่นชมกับคนที่นิ่งและไม่โต้เถียง  นั้นคือเขาสามารถอดทน อดกลั้น และสามารถครองสติของตนได้


       ....ถึงแม้ว่า  คนที่ด่าทอจะสะใจกับคำพูดของตน   แต่รู้ไหมว่า...ในสายตาผู้อื่นเขาช่างเป็นคนที่ไร้สติและไร้การอบรม..ซะเหลือเกิน

 ขอขอบคุณข้อความบางตอน : จากศาสตร์แห่งการดำเนินชีวิตตามหลักจิตวิทยาชาวพุทธ :  เลียวนาร์ด เอ. บุลเลน

หมายเลขบันทึก: 134123เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2007 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 08:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

สวัสดีครับ

มีคนบอกว่า เวลาเรามีความสุขก็อย่าสุขมากจนเกินไปเพราะเมื่อความทุกข์เข้ามาเราจะรับมันไม่ได้  และเวลามีความทุกข์ก็อย่าทุกข์มากเกินไปเพราะเมื่อมีความสุขเข้ามาเราจะไม่รู้ว่านั่นคือความสุข  สิ่งสำคัญที่สุดคือการมีสติ ครับ 

สวัสดีค่ะคุณเพ็ญศรี

ตามมาซึมซับค่ะ  ขอบคุณนะค่ะที่นำมาเผยแพร่ค่ะ

ตามมาอ่านนะคะ แต่ข้อร้องทุกข์ได้หรือเปล่าคะ บ้านนกที่พิษณุโลกอยู่แถวธรรมบูชา ซ.5 ในซอยที่นกอยู่นะตอนนี้เวลาฝนตกน้ำมันจะท่วมทางนะคะเพราะมีคนทมดินกันหนี้น้ำนะคะและไม่มีท่อระบายน้ำ ตอนนี้น้ำท่วมถนนคะ และมีคนแก่ คนหนึ่งชื่อยายคำ แตงเกิด 18/3 ถนนธรรม ซ.5 เขาอยู่ในสุดและไม่มีครอบครัวอยู่คนเดียวด้วยคะแก่อายุ 70 กว่า ๆ แล้วคะ บ้านแก่ไปมาไม่ได้เลยคะ นกร้องเรียนเทศบาลนครพิษณุโลก มา 2 ปีแล้วก็ยังไม่ได้ร้องเรียนโดยใช้ชื่อนกนี้แหละ เมื่อ 2 เดือนก่อน นายกเปรมไปหาเสียงก็ร้องเรียนท่านบอกว่าถ้าได้เป็นนายกอีกจะทำให้จนเดี๋ยวนี้แล้วยังไม่ได้เลยคะนกฝากด้วยนะคะนกร้องเรียนมานานแล้วคะหรือแน่นำนกก็ได้นะคะ โทรไปร้องเรียนเรื่องถนนเบอร์055231400 มา 2 ปีแล้วคะยังไม่ได้เลยช่วยด้วยนะคะขอบคุณคะ

 ขอบคุณคุณภูคาค่ะ...
       ความสุข ความทุกข์ เป็นสิ่งที่แยกกันเหมือนโทนขาว-กับโทนดำค่ะ   ในทางพระพุทธศาสนาท่านให้มองความสุขเหมือนกิเลสค่ะ   ฉะนั้นทุกครั้งที่มีความสุขก็ให้นึกถึง ความรู้สึกด้านตรงข้ามเสมอ   คือท่านสอนให้เราไม่ประมาทให้ชีวิตนั่นเอง....คุณภูคา ว่าเหมือนกันไหมคะ.......
   ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ   ตั้งใจที่จะนำระสบการณ์ที่เดินทางผ่านมาแล้ว 40 ปีมาเล่ากล่าวให้ผู้ที่อันเป็นที่รักที่ยอมสละเวลาคลิกเข้ามาอ่านบทความค่ะ....สัญญาว่าจะพยายามเขียนให้เป็นประจำเลยค่ะ...
   น้องนกที่รักค่ะ.... ดีใจที่ได้พบคนพิษณุโลกด้วยกัน
พี่จะนำเข้าระบบร้องทุกข์ของเทศบาล ฯ ให้นะคะเพราะว่ามีระบบการติดตามงานที่ร้องทุกข์ค่ะ คิดว่าน้องนกไม่ต้องกังวลค่ะ .....แล้วพี่นกจะตามให้อีกทีนะคะ......
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท