BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๕


เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๕

ตามนัยครั้งก่อน ที่ เล่าเรื่อง ๔ พระพุทธเจ้าทรงจำแนกคนในโลกนี้ออกเป็น ๒ จำพวก กล่าวคือ อริยสาวก และ ปุถุชน ... ซึ่งผู้เขียนได้กำหนดไว้สั้นๆ ในเบื้องต้นว่า อริยสาวกคือคนดี ส่วน ปุถุชนคือคนชั่ว หรืออาจเปรียบเทียบว่าเป็นสีขาวกับสีดำ หรือเทพกับมาร... ประมาณนั้น

แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงยังมีสีเทา มีเทพในร่างมารหรือมีมารในร่างเทพฉันใด...บรรดาอริยสาวกเหล่านั้นก็ยังมีระดับชั้น หรือในหมู่ปุถุชนก็ยังมีผู้มีอัชฌาศัยแตกต่างกันออกไป ดังนั้น เพื่อความแจ่มแจ้งในประเด็นนี้ ผู้เขียนจะขยายความต่อไป....

สำหรับอริยสาวกนั้น เป็นผู้ข้ามพ้นไปสู่ฝั่งโน้นแล้ว จะไม่กลับมายังฝั่งนี้อีกต่อไป... อริยสาวกเหล่านั้นรอวันแต่จะบรรลุความเป็นพระอรหันต์ซึ่งเป็นผู้หมดจดจากกิเลสโดยสิ้นเชิงเท่านั้น (ตามพระคัมภีร์บอกว่า พระอริยสาวกระดับต่ำสุดคือพระโสดาบันนั้น จะเกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติก็จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วก็จะนิพพาน) ดังนั้น ผู้เขียนจะไม่ขยายความประเด็นนี้

ส่วนปุถุชน คือ คนหนาด้วยกิเลส หรือคนทั่วไปนั้น ก็ย่อมมีอัชฌาศัยหยาบหรือละเอียดแตกต่างกันไป... เมื่อพิจารณาตามนัยสิงคาลกสูตร ก็อาจตรวจสอบได้ว่า ผู้ที่ยังมีอัชฌาศัยหยาบก็คือผู้ยังมีอคติหรือความลำเอียงอย่างสูงในการดำเนินชีวิต.... ส่วนผู้ที่มีอัชฌาศัยเบาบางหรือละเอียดก็คือผู้มีอคติหรือความลำเอียงน้อยในการดำเนินชีวิต... ประมาณนั้น

เมื่อถือเอาตามนัยนี้ก็อาจพิจารณาตนเอง คนอื่นๆ หรือสังคมทั่วไปได้ว่า ใครหรือสังคมใดมีอคติหรือความลำเอียงสูง ผู้นั้นหรือสังคมนั้น จัดได้ว่ายังห่างไกลจากความเป็นอริยะ กล่าวคือ ยังไม่เจริญ ยังไม่ประเสริฐ .... นัยตรงกันข้าม ใครหรือสังคมใดมีอคติหรือความลำเอียงต่ำ ผู้นั้นหรือสังคมนั้น จัดได้ว่าอยู่ใกล้ความเป็นอริยะ กล่าวคือ มีความเจริญ หรือประเสริฐ... ประมาณนี้

......

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสความแตกต่างระหว่างอริยสาวกและปุถุชนแล้ว พระองค์ได้ตรัสพระคาถาเพื่อทรงเปรียบเทียบว่า อคติคือความลำเอียงเป็นเหตุนำไปสู่ความมืดมนอันธการคล้ายพระจันทร์ข้างแรมที่จะค่อยๆ มืดสนิท... ส่วนความไม่เป็นผู้ลำเอียงหรือปราศจากอคติจะเป็นเหตุนำไปสู่ความสดใสรุ่งเรืองคล้ายพระจันทร์ข้างขึ้นที่จะค่อยๆ สว่างไสว ดังพระคาถาว่า....

  • ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความกลัว และความหลง ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม ดังดวงจันทร์ในข้างแรม
  • ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความกลัว และความหลง ยศย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ดุจดวงจันทร์ในข้างขึ้น

ส่วนสาเหตุที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องนี้ต่อนายสิงคาลกะในเบื้องต้น ผู้เขียนคิดว่า คาดหมายได้ไม่ยาก กล่าวคือ ในเรื่องกรรมกิเลส ๔ ประการ กล่าวคือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นชู้ และพูดเท็จ (ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย)  เป็นเรื่องที่ใครๆ ก็รู้ว่าไม่ถูกต้องเพราะเรารู้สึกได้โดยตัวเอง ไม่จำเป็นจะต้องมีใครสอน....

และพระองค์ก็ทรงตรัสบอกสาเหตุของกรรมกิเลสเหล่านี้ว่า ผู้กระทำมีความลำเอียง คือมิใช่เป็นคนยุติธรรมนั่นเอง ซึ่งใครๆ ก็รักความยุติธรรม (แต่อาจไม่กระทำ) ดังนั้น นายสิงคาลกะจึงมีความเห็นพ้องด้วยในเรื่องนี้...

และพระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า อริยสาวกย่อมไม่กระทำบาปกรรมเพราะความลำเอียงเหล่านี้ ทำให้นายสิงคาลกะพิจารณาเห็นได้ว่า ถ้าไม่มีความลำเอียงแล้วก็จะไม่กระทำบาปกรรม และอาจจะเป็นอริยสาวก หรือเข้าใกล้ความเป็นอริยสาวกได้ไม่ยาก... ประมาณนี้  

เมื่อพระองค์ทรงสรุปด้วยพระคาถา โดยทรงเปรียบเทียบให้เห็นซึ่งความแตกต่างระหว่างการดำเนินชีวิตด้วยความลำเอียงกับความไม่ลำเอียงว่าเป็นเหตุนำไปสู่ความเสื่อมและความเจริญ คล้ายคลึงกับดวงจันทร์จะที่จะค่อยๆ มืดในคืนข้างแรม และจะค่อยๆ สว่างในคืนข้างขึ้น ก็ทำให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง.....

.........

เมื่อลูกนายบ้านนามว่าสิงคาลกะ ตั้งใจสดับฟังธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าก็ตรัสหัวข้อต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องว่าด้วยสาเหตุแห่งความเสื่อมแห่งโภคะหรือทรัพย์สมบัติ ๖ ประการ ซึ่งผู้เขียนจะนำมาเล่าต่อไป...

แต่ก่อนจะถึงประเด็นนี้ ในตอนต่อไปจะ แวะพักข้างทาง โดยการนำเอาเรื่อง กรรมกิเลส ๔ และ อคติ ๔ มาพิจารณาเชิงปรัชญาสังคมก่อนในตอนต่อไป..... 

 

หมายเลขบันทึก: 133268เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2007 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

กราบนมัสการหลวงพี่มหาชัยวุธ

มาเรียนว่ายังตามอ่านอยู่เช่นเดิม

วันนี้ได้อ่านเรื่องความลำเอียงแล้วเตือนสติดีค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

  1. ตราบใดที่สัตว์โลกยังมีกรรมกิเลส ตราบนั้นก็ยังจำต้องมีผู้ปกครองและข้อบัญญัติในการปกครอง
  2. แต่หากสัตว์โลกไม่มีซึ่งกรรมกิเลสแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีผู้ปกครองและข้อบัญญัติในการปกครอง
  3. จะเป็นไปตามข้อ 1 อีกนานเท่าใด และจะมีโอกาสเป็นไปตามข้อ 2 ได้ฤๅ
  4. สาธุ
P

ทนัน ภิวงศ์งาม

ประเด็นที่ท่านผ.อ. ว่ามาก็น่าคิด....

ในคำบาลีมีศัพท์หนึ่งว่า....

  • อนมตัคคะ แปลว่า เบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว

ดังนั้น ประเด็นที่ท่านผ.อ. ว่ามาก็คงจะเป็น อนมตัคคธรรม ... ประมาณนี้

เจริญพร 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท