ทำอย่างไรให้วิสาหกิจชุมชนเข้มแข็งมีกิจกรรมต่อเนื่อง


ได้จดทะเบียนวิสาหกิจไปตามกฎหมายแล้ว จะเห็นได้ว่ากลุ่มนี้มีการร่วมทำงานกันมาก่อนแล้วที่จะเป็นกลุ่ม คือเจ้าของสวนสละ ผลิตสละแล้ว มีคนมารับซื้อไปขายต่อ ในลักษณะที่รับของไปขายก่อน ขายได้เท่าใดคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ให้ โดยที่ผู้นำผลผลิตไปขายไม่ต้องชำระเงินก่อน ขายก่อนแล้วจ่ายทีหลัง นั่นเองครับ ทุกคนได้เรียนรู้นิสัย ซึ่งกันและกันมาก่อนแล้ว
  • กรมส่งเสริมการเกษตร มี พ.ร.บ.วิสาหกิจชุมชน รายละเอียดในเวปนี้ครับ http://smce.doae.go.th/ ดูแลองค์กรเกษตรกรที่มาจดทะเบียน วันนี้ผมต้องนำเอาเรื่องวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่มาเล่าสู่กันฟังครับ ผมได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการส่งเสริมการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน จำนวน 2 กลุ่ม คือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตสละปลอดสารพิษตำบลเสาเภา และกลุ่มวิสาหกิจไม้ผลตำบลเสาเภา  ทั้งสองกลุ่มมีที่มาที่ต่างกันครับ กลุ่มแรกมีผลผลิตที่ชัดเจนโดยครัวเรือนเกษตกรเพียงครัวเรือนเดียว คือนายธานินทร์ ใจห้าว และนางสมจิตร ใจห้าว  มีแนวความคิดที่จะจัดตั้งกลุ่มพัฒนาเรื่องการตลาดผลผลิตและการแปรรูปรองรับผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ โดยมีสมาชิกที่รับผลผลิตสละไปจำหน่ายมาเป็นสมาชิกกลุ่ม และได้จดทะเบียนวิสาหกิจไปตามกฎหมายแล้ว จะเห็นได้ว่ากลุ่มนี้มีการร่วมทำงานกันมาก่อนแล้วที่จะเป็นกลุ่ม คือเจ้าของสวนสละ ผลิตสละแล้ว มีคนมารับซื้อไปขายต่อ ในลักษณะที่รับของไปขายก่อน ขายได้เท่าใดคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ให้ โดยที่ผู้นำผลผลิตไปขายไม่ต้องชำระเงินก่อน ขายก่อนแล้วจ่ายทีหลัง  นั่นเองครับ  ทุกคนได้เรียนรู้นิสัย ซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมทำร่วมกันแล้ว  ก่อนจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน หลังจากที่ได้รับทราบแนวทางการดำเนินงานและการขอจดทะเบียนฯ จากผม ก็ดำเนินการทันทีภายในเวลาแค่ 2 เดือน ผมขอย้ำว่ากิจกรรมเกิดขึ้นมาก่อน ได้ทำงานร่วมกันก่อนแล้วสำหรับสมาชิกของกลุ่มนี้ทุกคน ผลการดำเนินงานกลุ่มต่อไปนี้เป็นอย่างไรผมจะเก็บมาเล่าต่อไป
  • กลุ่มหลังคือวิสาหกิจขุมชนไม้ผลตำบลเสาเภา กลุ่มนี้ยื่นขอจดทะเบียนแล้วแต่ยังไม่ได้รับอนุมัติจากนายทะเบียน อยู่ในขั้นตอนของการบันทึกเข้าระบบออนไลท์ ของนายทะเบียน แต่ขบวนการก่อนที่จะมีการยื่นขอจดทะเบียน ผมนำมาเล่าพอสังเขป  เริ่มต้นด้วยกระบวนการส่งเสริมการเกษตร ตั้งแต่ให้ความรู้ในเวทีประชุมหมู่บ้าน  เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามโครงการของหน่วยงานพัฒนาชุมชน กศน. สำนักงานเกษตรอำเภอ โดยผมเองได้ร่วมแลกเปลี่ยนหลายครั้ง ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร  โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน  โครงการหมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุขนำร่อง การจัดการความรู้ระดับชุมชน  ในเวทีเหล่านี้ทำให้เกษตรกรหรือสมาชิกกลุ่ม มีความรู้ในเรื่องวิสาหกิจชุมชนพอสมควร เวลาผ่านไปพอสมควร  และก็มีผลผลิตไม้ผล (มังคุด ทุเรียน เงาะ ลองกอง)ออกสู่ตลาด บังเอิญปีนี้ผลผลิตออกมาก ทุกคนต่างวิ่งหาตลาด หาคนรับซื้อ หาพ่อค้า เกิดปัญหาไปขายไปรวมกับกลุ่มต่างตำบลแล้วไม่ได้ราคา มองเห็นการจัดการขององค์กรอื่นที่ไม่ดี  จึงมีแนวคิดที่จะมารวมตัวกันจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ไว้แก้ปัญหาที่ได้พบได้เจอ  การรวมตัวกันของกลุ่มนี้ เกิดจากปัญหา แล้วมารวมตัว ด้วยการนำเอาแนวทางที่ได้รับรู้ในเวทีการให้ความรู้จากโครงการฯ ของหน่วยงานต่างๆ สมาชิกและกรรมการ ยังไม่เคยได้ร่วมงานกันมาก่อน ซึ่งจะต้องร่วมเรียนรู้ในการทำงานร่วมกัน การบริหารจัดการกลุ่มกันอีกมากมายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรและสมาชิกครับ

 

หมายเลขบันทึก: 133223เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2007 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • หวัดดีครับคุณ ณัทธร
  • พ.ร.บ.วิสาหกิจชุมชน เป็น กม.ฉบับแรกที่กรมส่งเสริมการเกษตรมีใช้
  • สำหรับจะมีประโยชน์ต่อชุมชนมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับชุมชนและพี่เลี้ยง แล้วละครับ
  • ผมเองได้จะใช้เวลาต่อไปนี้ พัฒนางานวิสาหกิจในพื้นที่รับผิดชอบครับ และจะเริ่มบันทึกในนี้ครับ http://gotoknow.org/blog/nutthorn2

เข้ามาเยี่ยมก็ได้อ่านข้อความที่มีเนื้อหา ที่เป็นประโยชน์ ก็ขอเป็นกำลังใจให้ล่ะกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท