ปราสาทเขมร กับยุคสมัยของกษัตริย์


กษัตริย์อาณาจักรเขมร

ปราสาทเขมรกับยุคสมัยของกษัตริย์

กษัตริย์ในจักรวรรดิขแมร์

นิยมสร้างปราสาทหินเพื่อแสดงแสนยานุภาพ

และบูชาเทพในลัทธิศาสนาที่ตนนับถือ ซึ่งก็เหมือนอียิปต์ โรมัน หรือจีน

รายนามกษัตริย์อาณาจักรขแมร์ อาทิ

1.พระเจ้าชัยวรมันที่ 2  (คศ.790-835)  ปราสาทบนเขาพนมกุเลน

2. ชัยวรมัน ที่ 3        ปราสาทบาคง

3. อินทรวรมัน ที่1       ปราสาทพระโค

4. ยโสวรมัน ที่ 1      ปราสาทบาเค็ง

5. หรรษาวรมัน ที่1   ปราสาทกระวัน

6. อีสานวรมัน ที่ 2     ปราสาทชามครง

7. ชัยวรมัน ที่4        ปราสามเกาะกอร์

8. หรรษาวรมัน ที่ 2  ปราสาทเกาะกอร์

9. ราเชนทรวรมัน    ปราสาทบันทรายสรี

10. ชัยวรมัน ที่5    ปราสาทตาแก้ว

11. อุทยดิษยะวรมัน ที่1  ปราสาทตาแก้ว

12. ชัยวีระวรมัน     ปราสาทเคลียงด้านเหนือ

13. สุริยะวรมัน ที่1  ปราสาทเขาพระวิหาร

14. อุทยดิษยะวรมัน ที่2  ปราสาทบาปวน

15. หรรษาวรมัน ที่3  ปราสาทบาปวน

16. ชัยวรมัน ที่ 6 ปราสาทหินพิมาย(โคราช)

17. ทรนินทราวรมัน ที่1  ปราสาทเมบอง

18. สุริยะวรมัน ที่2(มหาราช) (คศ.1113-1150)  ปราสาทนครวัด  ปราสาทเขาพนมรุ้ง(บุรีรัมย์)

19. ยโสวรมัน ที่2   ปราสาทบันทายสัมเรย์

20. ไตรพุทวนดิษยะวรมัน     ปราสาทบาคง

21. ชัยวรมัน ที่7(มหาราช) (คศ.1181-1220 หรือ พศ.1724-1763 ยุคก่อนสุโขทัยที่ตั้งในปี พศ.1800)  ปราสาทตาพรม  ปราสาทพระขันธ์  ปราสาทบันทายฉมาย์(ติดชายแดนสุรินทร์)   ปราสาทบายน   พลับพลาช้าง พระราชวังหลวง

22. อินทรวรมัน ที่2  ปราสาทตาสม

23. ชัยวรมัน ที่8 ปราสาทชรุง

24. ศรินทราวรมัน   ปราสาทตาพรม

25. ศรินทราชัยวรมัน   (คศ.1307-1327 หรือ พศ.1850-1870 )   ปราสาทพระปาลิไลย  หลังจากนี้จักรวรรดิ์ขแมร์ก็เสื่อมอำนาจลง    พร้อมกับการเกิดขึ้นของอาณาจักรสุโขทัย(ประมาณ พศ.1800)

หมายเลขบันทึก: 133214เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2007 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แยมเพิ่งจะไป่เที่ยวกัมพูชามาเมื่อเดือนมกราคม เป็นการเดินทางที่แสนจะทรหดมาก เเต่พอได้เห็นปราสาท หายเหนื่อยเลยค่ะ

วันแรก เที่ยวเขาพนมกุเลน ชมพระอาทิตย์ตกดิน (เนื่องจากเหนื่อยกับการเดินทาง)

วันที่สอง ปราสาทนครวัด ปราสาทนครธม ปราสาทแปรรูป ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายสรี (นอกนั้นได้เเต่มองอย่างตาละห้อย เพราะเวลาไม่พอ)

วันุดท้าย ไม่ได้ไปไหนเลย นอกจากตลาดแวะซื้อของฝาก ระหว่างทางกลับ เเวะซื้อรูปสลักนางอัปรามาด้วยค่ะ ราคาไม่แพง แต่ตอนนี้ไม่ได้อยู่กับตัวมีคนเอาไป น่าเสียดาย

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่นำความรู้มาฝาก

  • เคยไปเที่ยวแต่หลายปีมาแล้ว
  • สวยมากๆ และน่าประทับใจ ที่งกับการก่อสร้างของคนสมัยนั้น ทำได้ยังไงนะ
  • มีข้อควรระวัง ที่เราคนไทย ไกด์ไทยควรระมัดระวัง        ตอนไปเที่ยว ไกค์ของดิฉันเป็น คนเขมร เขาก็จะบรรยาย ด้วยความภูมิใจว่า ที่แห่งนี้คือ  มรดกแห่งชาติของเขา     ขณะบรรยายอยู่ มีนักท่องเที่ยว อีกคณะเข้ามา แต่ไกค์ของคณะนี้เป็นไกค์ไทย ไกค์ไทยก็บรรยาย ว่า ที่แห่งนี้เคยเป็นของไทยมาก่อน    เท่านั้นแหละไกด์เขมรแสดงอาการโกรธ และเดินตัวสั่นออกไปทันที  ดิฉันก็ไม่รู้ว่าเขาโกรธอะไร ก็ยืนรอให้เขากลับมา (และดิฉัน ก็ไม่ทันได้ยิน ตอนไกด์ไทยพูดด้วย)  สักพักเขาก็กลับมา เข้ามาขอโทษที่แสดงอาการไม่สุภาพ เพราะโกรธไกด์ไทยก็เลยต้องเดินออกไประงับอารมณ์    และบอกว่า ทำไมไกค์คนไทย ชอบพูดว่า ที่แห่งนี้เป็นของประเทศไทยมาก่อน  ทั้งๆที่มันเป็นของเขมร  เขาไม่ชอบให้ไกด์ไทยพูดแบบนี้  ดิฉันได้แต่อึ้งๆและเงียบๆไม่พูดอะไร
  • ไม่มีอะไรค่ะ แค่เล่าประสบการณ์ การไปเที่ยวให้ฟัง (ยาวไปนิดนะคะ ขออภัย)

 

สวัสดีครับอาจารย์

  • มาติดตามอ่านครับอาจารย์
  • แต่ยังมีอีกหลายๆปราสาท นะครับที่ยังไม่ลงรายละเอียด
  • หากมีข้อมูลเพิ่มเติม ฝากอาจารย์ช่วยอธิบายต่อด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ

ดร.สรเชต วรคามวิชัย ที่ปรึกษาศูนย์เขมรศึกษา มรภ.บุรีรัมย์ อธิบายยุคปราสาทหินว่า

นักวิชาการชาวฝรั่งเศสได้แบ่งยุคสมัยศิลปะไทย ลาว เขมร แถบพนมดงรักไว้ดังนี้

ก. ยุคก่อนเมืองพระนคร พ.ศ. ๑,๑๐๐-๑,๓๕๐

๑. แบบพนมดา (เฉพาะประติมากรรม) ราว พ.ศ.๑,๑๐๐-๑,๑๕๐

๒. แบบถาลาบริวัตร (เฉพาะทับหลัง) ราว พ.ศ. ๑,๑๒๐

๓. แบบสมโสร์ไพรกุก ราว พ.ศ. ๑,๑๕๐-๑,๒๐๐

๔. แบบไพรกเมง ราว พ.ศ. ๑,๑๘๐-๑,๒๐๐

๕. แบบกำพงพระ ราว พ.ศ. ๑,๒๕๐-๑,๓๕๐

ข. ยุคเมืองพระนคร ราวพ.ศ. ๑,๓๗๐-๑,๗๘๐

๑. แบบกุเลน ราว พ.ศ. ๑,๓๗๐-๑,๔๒๐

๒. แบบพระโค ราว พ.ศ. ๑,๔๒๐-๑,๔๔๐

๓. แบบบาแค็ง ราว พ.ศ. ๑,๔๔๐-๑,๔๗๐

๔. แบบเกาะแกร์ ราว พ.ศ. ๑,๔๖๕-๑,๔๙๐

๕. แบบแปรรูป ราว พ.ศ. ๑,๔๕๐-๑,๕๑๐

๖. แบบบันทายศรี ราว พ.ศ. ๑,๕๑๐-๑,๕๕๐

๗. แบบเกลียง ราว พ.ศ. ๑,๕๑๐-๑,๕๖๐

๘. แบบบาปวน ราว พ.ศ. ๑,๕๖๐-๑,๖๓๐

๙. แบบนครวัด ราว พ.ศ. ๑,๖๕๐-๑,๗๒๐

๑๐. แบบบายน ราว พ.ศ. ๑,๗๒๔-๑,๗๘๐

ค. ยุคหลังเมืองพระนคร

๑. แบบศรีสันถาร ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๒

ยุคแตะละแบบต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้กำหนดไว้เราสามารถนำมาใช้ได้เพื่อความเข้าใจตรงกันในเบื้องต้น ศิลปะในเขตภูมิภาคนี้ที่เป็นประเภทสถาปัตยกรรมมีให้เห็นอยู่ทั่วไป เป็นสิ่งถาวรและมั่นคง เพราะสร้างด้วยหิน โดยเฉพาะหินทรายที่มีอายุกว่า ๒๐๐ ล้านปี และยุงคงยู่ไปอีกเป็นล้านปี จึงนับเป็นงานที่มีคุณค่า โดยเฉพาะทับหลังอันเป็นส่วนหนึ่งของปราสาท เป็นส่วนที่บันทึกประแสสังคมทางด้านความเชื่อและความนิยมของสังคมในสมัยนั้น

การจำหลักลายที่สำคัญบนทัพหลังกระทำบนฐานแห่งความเชื่อ และความตั้งใจไม่ใช่สุ่มทำตามความพอใจของช่าง ในช่วงประมาณ พ.ศ. ๑๑๕๐-๑๗๘๐ เป็นเวลาประมาณ ๖๐๐ กว่าปี เป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองมั่นคงของชุมชนแถบพนมดงรัก มีการสร้างปราสาทหินมากกว่าพันปราสาท เฉพาะทับหลัง มีการจำหลักลายสำคัญโดยมีจุดเน้นที่แตกต่างกันดังนี้

๑. ยุคแรก เน้นการประดับ ตกแต่ง และบูชา การสลักจำลองช่อดอกไม้ พวงดอกไม้ ที่ชาวไทย ชาวจีนนิยมกันโดยตกแต่งประตูให้หรูในวันสำคัญ เช่น วันแต่งงาน หรืองานมงคลอื่น ๆ โดยเฉพาะพิธีแต่งงาน จะจำลองชีวิตของเทวดามาส่วนหนึ่ง ทั้งชาย ทั้งหญิง จะมีคำว่าเจ้านำหน้า คือเจ้าบ่าว เจ้าสาว คำว่าเจ้าหมายถึง เทพบนสรวงสวรรค์ ตระกูลไตเราใช้มาก่อนรับวัฒนธรรมอินเดีย ยังเป็นภาษาบริสุทธิ์ภายหลังเมื่อรับวัฒนธรรมอินเดีย จึงเอาคำว่าเทพเจ้าหรือเทวดาเข้าแทนเรือนหอจำลองวิมารของเทวดาจึงต้องตกแต่งเป็นพิเศษปราสาทเป็นวิมานถาวร จึงต้องและสลักไว้ในศิลาตัวปราสาท และทับหลังก็เป็นส่วนแรกที่จะต้องแต่งให้เห็นความงามเป็นพิเศษ

๒. ยุคที่สอง ตั้งแต่ยุคเก่าแก่ เป็นต้นมาจะนิยมนำรูปเทพสำคัญที่สุดมาไว้เพื่อให้ทราบว่าเมื่อเข้ามาปราสาทนี้ควรบูชาเทพองค์ใด และขอพรจากเทพองค์ใดเป็นพิเศษ โดยเฉพาะทับประตูเข้าหลังด้านหน้าปราสาท เทพสำคัญที่อยู่ในหัวใจของชาวอีสานใต้คือพระอินทร์ เป็นเทพเจ้าสูงสุดในยุคฤคเวท ชาวมารยัน ในอินเดียรู้จักพระอินทร์และถือว่าเป็นจอมเทพ จึงแพร่เข้ามาก่อนพระนารายณ์ และพระศิวะ ภายหลังถูกลดขั้นลงเป็นเพียงเทพประจำทิศ

๓. ยุคที่สาม เพิ่มเทพที่น่ากลัวเข้าอีกคือหน้ากาล หรือหน้าราหู เป็นภาพหน้ามนุษย์ หรือหน้ายักษ์มีฟันเต็มปาก ๓๒ ซี่ ใช้มือเหนี่ยวลำพวงมาลัยที่พุ่งออกจากปากและพวงมาลัยนี้ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของลายประดับทับหลัง

ลายหน้าราหูนี้มีนำนานว่าสมัยหนึ่ง พระศิวะประทับอยู่บนยอดเขาไกลาส ทรงบำเพ็ญสมาธิอยู่ มีอสูรมาท้าต่อสู้ พระองค์ทรงกริ้วจึงเกิดสัตว์ประหลาดพุ่งออกจากระหว่าพระนลาฎ ตัวดำ ขา แขนเรียวเล็ก กินทุกอย่างที่ขวางหน้า ในที่สุดไม่มีอะไรให้กินก็กินแขนขาตัวเอง พระศิวะเจ้าจึงให้ไปเฝ้าปราสาทไม่หนีไปรบกวนผู้อื่นจึงมีชื่อว่า หน้าราหู ภายหลังเรียกหน้ากาลซึ่งแปลว่า เวลา ความหมายก็ยังเหมือนเดิมคือกินทุกอย่างที่ขวางหน้า เพราะเวลาตัวเดียวนี้เราจึงแก่ ถ้าไม่อยากแก่ต้องอยู่เหนือกาลเวลา เมื่อศาสนิกชนเข้าสู่

ศาสนสถานจึงต้องจ้องมองภาพนี้และบริกรรมว่า กาโล ฆสติ ภูตานิสัพพาเนวสหัตตนา กาละ คือ เวลากลืนกินทุกอย่างพร้อมทั้งตัวของมันเอง เมื่อบริกรรมเสมอ ๆ เราก็จะรู้เท่าทันกาล และอยู่เหนือกาลในที่สุด

เราคงต้องหันมาสนใจศึกษาประเทศเพื่อนบ้านให้มากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท