การจัดการความรู้ภูมิปัญญาโดยข้อมูลชุมชน


ภูมิปัญญา,ข้อมูลชุมชน
ชื่อเรื่อง                  การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเอง  กรณีศึกษา : บ้านบ่อลูกรัง  อำเภอวังนำเย็น   จังหวัดสระแก้ว    ชื่อผู้วิจัย                คณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตบ้านบ่อลูกรัง ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสระแก้วปี                             2550 การศึกษาวิจัย เรื่อง การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเองบ้านบ่อลูกรัง   อำเภอวังน้ำเย็น   จังหวัดสระแก้ว   ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1.) เพื่อศึกษาความเป็นมาของบ้านบ่อลูกรังและสภาพการจัดการความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นในอดีต      2.) เพื่อศึกษากระบวนการจัดทำข้อมูลชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาและการพัฒนาชุมชนแบบพึ่งพาตนเองของบ้านบ่อลูกรัง      3.)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของสมาชิกในชุมชนและความต้องการของสมาชิกในชุมชนที่มีต่อการพัฒนาข้อมูลชุมชน     ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม PAR (Participatory Action Research)โดยความร่วมมือกันระหว่างชุมชนบ่อลูกรังและศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสระแก้ว   กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา ในครั้งนี้  มี 2  กลุ่ม  คือ  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่  กลุ่มผู้นำชุมชน  กลุ่มภูมิปัญญา  กลุ่มผู้ปฏิบัติงานจัดทำข้อมูล  และ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป   ได้แก่ กลุ่มสมาชิกในชุมชน  กลุ่มเครือข่ายใช้ประโยชน์จากข้อมูล   รวมทั้งสิ้น   70   คน   เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่   แบบสัมภาษณ์เชิงลึก  และ แบบบันทึกข้อมูลการสัมภาษณ์จากการอภิปรายกลุ่มย่อย   วิเคราะห์ข้อมูลเอกสารด้วยการตีความ และเรียบเรียงตรวจสอบกับหลักฐานอื่น  ข้อมูลเชิงปริมาณ แจกแจงหาค่าความถี่  ค่าร้อยละ   ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การพรรณนาเชิงเนื้อหา และเปรียบเทียบเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลกับกรอบความคิด                ผลการศึกษาพบว่า     การจัดการความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่น  บ้านบ่อลูกรังมีการจัดการชุมชนของตนเองบนฐานความหลากหลายที่เป็นรากเหง้าเดิม   ความรู้ส่วนใหญ่เป็นความรู้ที่ติดตัวมาร่วมกันก่อตั้งเป็นชุมชนใหม่  ก่อให้เกิดเป็นความมั่งคั่งทางภูมิปัญญา  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่นทั้งการบอกเล่า   การสอนให้บุคคลในครอบครัว   หรือการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกลุ่มในชุมชน  จนกระทั้งได้มีการจัดการความรู้ภูมิปัญญาโดยการจัดทำข้อมูลชุมชนซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ของแกนนำชุมชนผ่านกระบวนการศึกษาดูงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  และนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงานมาสรุปเพื่อค้นหาคำตอบในการพัฒนาชุมชนของตนเอง   และจากการเปิดเวทีร่วมคิด  ร่วมวิเคราะห์  ได้พบคำตอบว่าก่อนการพัฒนาทุกกิจกรรม  ข้อมูล   คือเครื่องมือสำคัญของการดำเนินการ   กระบวนการจัดทำข้อมูลชุมชนบ้านบ่อลูกรังดำเนินการในรูปแบบ ของคณะกรรมการ  และ การประสานภาคีเครือข่ายเพื่อขอรับการสนับสนุนความรู้เรื่องการออกแบบเครื่องมือ  การเก็บรวบรวมข้อมูล   การแบ่งหมวดหมู่  ความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์  โดยข้อมูลชุมชนบ้านบ่อลูกรัง แบ่งเป็น  5  ด้าน  คือ  ด้านบริบทชุมชน  ด้านปราชญ์/ภูมิปัญญาท้องถิ่น   ด้านกลุ่มและองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน   ด้านองค์ความรู้ที่สามารถนำไปแก้ปัญหาในชุมชน   และด้านถอดบทเรียนกองทุนหมู่บ้าน   ซึ่งกระบวนเรียนรู้จากข้อมูลชุมชนเพื่อนำสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชนบ้านบ่อลูกรัง  คือ  การเปิดเวทีเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล   ค้นหาสาเหตุ  สืบค้นทุนในชุมชน  นำมา  สรุปเป็นข้อมูลสารสนเทศ  และกำหนดทิศทางการพัฒนาร่วมกันของสมาชิกในชุมชน ซึ่งผลจากการจัดทำข้อมูลชุมชนได้เพิ่มศักยภาพการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเองของชุมชน เกิดการเรียนรู้และนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ  เช่น การแก้ไขปัญหาที่ทำกินของหมู่บ้าน   ปัญหาหนี้นอกระบบ   ปัญหาการทำการเกษตรธรรมชาติ และอื่น ๆ     ส่วนความพึงพอใจและความต้องการของสมาชิกในชุมชนและเครือข่ายผู้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลชุมชน  พบว่า  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่ตรงกันว่ามีความพึงพอใจต่อการพัฒนาที่ใช้ข้อมูลชุมชนเป็นฐานของการแก้ไขปัญหา โดยต้องการให้มีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ  ให้ศูนย์ข้อมูลชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต  มีสื่อเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ  และมีระบบการเรียกใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ทันสมัย     
หมายเลขบันทึก: 131501เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2007 12:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท