ศูนย์วิจัยพุทธศาสตร์แห่งประเทศไทย


การวิจัยคือการแสวงหาสัจจะ
 

ศูนย์วิจัยพุทธศาสตร์แห่งประเทศไทย

THAI BUDDHIST WISDOM RESERCH CENTER

 

"The religion of the future will be a cosmic religion. It should transcend a personal God and avoid dogmas and theology. Covering both the natural and the spiritual, it should be based on a religious sense arising from the experience of all things, natural and spiritual, as a meaningful unity.
Buddhism answers this description. If there is any religion that would cope with modern scientific needs, it would be Buddhism."

(May 19th, 1939, Albert Einstein’s speech on "Science and Religion" in Princeton, New Jersey, U.S.A.)

   เมื่อนาๆประเทศทั่วโลกต่างใช้วิธีแสวงหาคำตอบต่อปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) เชื่อและยอมรับในสิ่งที่วิทยาศาสตร์ค้นพบ จนกว่าจะมีทฤษฎีหรือการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ใหม่ที่จะมา ลบล้างสิ่งที่ค้นพบเดิม ดังนั้น การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก็คือการแสวงหาสัจจะหรือความจริงในขั้นต้น

Hado water 

Projecting Thoughts on to Water

Performed in Japan at Dr. Masaru Emoto's Laboratory

 

ดร.มาซารุ แล็ป

 

 

Message from water : dr.Masaru Emoto

   ในปัจจุบันเราก็ต่างพบความจริงหรือสัจจะข้อหนึ่งที่ว่าลัทธิบริโภคนิยมมิอาจทำให้มนุษย์พบกับความสุขความเจริญที่แท้จริงของชีวิต อีกทั้งยังนำมาซึ่งความเสื่อมทรามของศีลธรรมจริยธรรม ความเกรงชั่วกลัวบาปที่มีในหลักธรรมคำสั่งสอนของศาสนาในผู้คนมีน้อยลงจนนำมาซึ่งวิกฤตของชาติ คงถึงเวลาแล้วที่จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือการวิจัยมาช่วยเสริมให้หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาแด่นชัดและปรากฏเชิงประจักษ์เป็นที่ยอมรับของคนในชาติและอารยะประเทศ อันจะนำมาซึ่งการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนโดยปราศจาคข้อสงสัย เป็นการเชื่อที่เหนือศรัทธาเพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาของเหตุและผลหรือศาสนาแห่งวิทยาศาสตร์

ดร.ควอนตัม

   อย่างไรก็ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก็เป็นเพียงการแสวงหาสัจจะขั้นต้น ดังเช่นที่ได้รับชมในวีดีทัศน์ เมื่อวิวัฒนาการมาถึงขั้นที่ไม่สามารถหาคำตอบให้กับสิ่งที่ตัววิทยาศาสตร์เองค้นพบได้ ความจริงขั้นปลายที่เหนือวิทยาศาสตร์ขึ้นไป (Meta physic)หากถูกปูพื้นหรือสร้างเหตุสร้างปัจจัยไว้ด้วยความจริงขั้นต้นแล้ว สัจจะธรรมของชีวิตที่บุคคลนั้นๆแสวงหาก็จะตามมาเอง อันจะนำไปสู่การพ้นทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตที่ชาวพุทธทุกคนพึงจะมี


การวิจัยคือกระบวนการแสวงหาสัจจะ (Truth Seeking)

   การวิจัยนั้นเกิดขึ้นเมื่อเราเกิดปริศนาคาใจ หรือเกิดความสงสัย ที่เรียกว่าปัญหานำการวิจัย (Problem Statement) นักวิจัยจะต้องแสวงหา คำตอบ ของปัญหานั้น และจะต้องเป็นคำตอบที่แท้จริง ,ถูกต้องหรือใกล้เคียงความจริงให้มากที่สุด คำถามจะเป็นตัวเปิดกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ การแสวงหาคำตอบเพื่อจะแก้ปัญหานั้นก็คือการดับทุกข์นั่นเองซึ่งตรงกับ อริยะสัจสี่ อันเป็นวิถีทางให้เข้าถึงสัจจะ ที่เริ่มต้นด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดังนั้นเราจึงต้องรู้จักทุกข์หรือปัญหาให้กระจ่างแจ้งเสียก่อน เราจึงจะแก้ปัญหาหรือดับทุกข์ใดๆ ที่นับวันจะสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นของโลกใบนี้ได้


การวิจัยพุทธศาสตร์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

    กระบวนการแสวงหาคำตอบต่อปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) นั้นก็เริ่มด้วยการใช้เหตุใช้ผล (Rationalism)ร่วมกับวิธีการหาความรู้เชิงประจักษ์ (Empiricalism)ทั้งสองวิธีนี้สามารถหาความจริงได้ในขั้นต้นเท่านั้นเพราะการใช้เหตุผล บางครั้งก็มิอาจได้ความจริงเสมอไป เช่นการตัดสินคดีความของศาลเป็นต้น ส่วนการหาความรู้เชิงประจักษ์นั้น ก็มีความผิดพลาดเบี่ยงเบนได้โดยง่าย เพราะตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งก็คือมนุษย์นั่นเอง

มนุษย์ทำหน้าที่เป็นผู้เก็บข้อมูล ตัวอย่างเช่น เมื่อเอามือจุ่มลงไปในอ่างน้ำร้อน แล้วย้ายมาจุ่มในอ่างน้ำเย็น เราจะรู้สึกเย็นมากกว่าปกติ และที่สำคัญหากมนุษย์ไม่มีสัจจะในการเก็บข้อมูลแล้ว เราจะหาความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลไม่ได้เลยดังนั้นการวิจัยพุทธศาสตร์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จึงจำเป็นต้องนำเครื่องมือสำคัญตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเข้ามาช่วย เครื่องมือสำคัญชิ้นนั้นก็คือ โยนิโสมนสิการและใช้สัจจะเพื่อการแสวงหาสัจจะ

โยนิโสมนสิการกับการวิจัยพุทธศาสตร์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์


 

         Play

จากหนึ่งไปสู่สรรพสิ่ง
สรรพสิ่งล้วนเป็นหนึ่ง
สรรพสิ่งเกิดจากต้นตอเดียวกัน
หลากธรรมล้วนมาจากศาสดาเดียวกัน

สรรพสิ่งเท่าเทียม
ล้วนมีธรรมะ
มีใจไร้ใจ
ร่วมสร้างปัญญา

   เราสามารถนำหลักธรรมในพระไตรปิฎกมาประยุกต์กับทุกๆเรื่องได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งขั้นความจริงเบื้องต้น และขั้นปรมัถ ดังเช่นคำพูดของท่านอาจารย์ระพี สาคริกที่ว่า พยายามเข้าใจให้ลึกๆขึ้น แล้วมันจะไปเจอกันเอง ซึ่งก็หมายความว่าสรรพสิ่งล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน ส่วนที่ปรากฏต่างๆกัน เช่น หู หาง ขา ลำตัวของช้าง เป็นส่วนของช้างตัวเดียวกัน ถ้าตาไม่บอดก็จะรู้ว่าส่วนต่างนั้นเป็นของช้างตัวเดียวกัน เราจึงสามารถทำการวิจัยพุทธศาสตร์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และในทางตรงกันข้ามกัน สิ่งที่ปรากฏในโลกใบนี้ล้วนแต่เป็นสิ่งหลอกลวง ทั้งสื่อในยุคโลกาภิวัตน์(วิบัติ)และการเมืองที่ทุจริต หากเราไม่รู้เท่าทันธรรมดาไม่โยนิโสมนสิการแล้วละก็ เราจะไม่ได้สัจจะหรือความจริงของสิ่งนั้นๆ


ทำไมเราจึงต้องช่วยกันผลักดันให้มี ศูนย์วิจัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เกิดขึ้น


   หลังวิกฤติเศรษฐกิจได้เกิดขึ้นกับประเทศไทยไม่นาน ภาวะวิกฤติทางคุณธรรมจริยธรรมของคนในชาติก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและนับวันก็มีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น จนรัฐบาลจำเป็นต้องประกาศเรื่องคุณธรรมนำการพัฒนาเป็นวาระแห่งชาติ ให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ถือปฎิบัติที่จะส่งเสริมให้เกิดคุณธรรมจริยธรรมเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทุกด้าน แต่ก็น่าแปลกใจที่เจ้าหน้าที่รัฐมีความเห็นว่าจะบัญญัติพระพุทธศาสนาไว้ในใจเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุผลแบบการตัดสินคดีความ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ทราบว่าการใช้เหตุใช้ผล (Rationalism)นั้น ไม่ทำให้ได้ความจริงเสมอไป เพราะคำว่าศาสนาในหัวใจนั้น เป็นคำพูดที่เอ่ยอ้างแบบปรมัถ เช่นเดียวกับที่พระเกจิอาจารย์ท่านพูดว่า ดีแต่ไม่เอา หรือ ไม่ต้องเป็นคนดีมันหรอก เพราะเป็นแล้วทุกข์ ทุกข์เพราะคนไม่ดีมีเยอะกว่าคนดี อย่าไปเป็นอะไรมันเลย พระอรหันต์ก็อย่าเป็น คนดีก็อย่าเป็น ลองให้ปถุชนอย่างเราๆท่านๆ ดีก็ไม่เอาหรือเป็นคนดีก็ไม่ต้องเป็นดูสิ สังคมจะเป็นเช่นไร? เราคงมีแต่โจรผู้ร้ายและคนคดโกงกันเต็มบ้านเต็มเมือง


    หากเราเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์จากคนที่มีความเห็นว่า "ให้บัญญัติไว้ในใจ" อย่างมีสัจจะแล้วจะพบว่า คนเหล่านี้จะไม่มีอาชีพเป็นพระ ไม่เคยเข้าวัดปฏิบัติธรรม ไม่เคยแม้จะตั้งใจถือศีลห้าศีลแปดในวันอุโบสถ ไม่เคยแม้จะหยิบพระไตรปิฎกซึงเป็นขุมปัญญาของชาวพุทธเราขึ้นมาอ่าน และหากเป็นพระก็ไม่ใช่พระนักพัฒนาอย่างแน่นอน เราอาจจะสรุปได้ว่าประชากรกลุ่มตัวอย่างของการเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์นี้ เป็นพุทธเฉพาะในสำเนาทะเบียนบ้านเท่านั้น ในเมื่อมีเหตุเช่นนี้ ก็ย่อมมีผลเป็นอวิชาหรือความไม่รู้ เป็นอโยนิโสมนสิการและส่งผลให้เกิดมิฉาทิฐิตามมา เปรียบเสมือนพวกที่ถือมีดถือหอกไว้คอยทำร้ายพระพุทธเจ้า เป็นดั่งช้างสารที่ดิ้นในบ่อโคลนดูด

ลักษณะความเห็นผิดเช่นนี้มีอันตรายต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งเพราะความมั่นคงของพระพุทธศาสนามีส่วนสัมพันธ์อย่างที่ไม่อาจจะแยกออกจากการสนับสนุนของฝ่ายบริหารบ้านเมืองได้ไม่ว่ายุคสมัยใดก็ตาม แม้ว่าเงื่อนไขต่างๆ ภายในสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม ทั้งนี้เพราะโครงสร้างของพระพุทธศาสนาไม่มีลักษณะเป็นศาสนจักรที่พร้อมจะพิทักษ์รักษาป้องกันตนเองได้ในทุกกรณีนั่นเอง (ศาสนาอื่น นักบวชสามารถถืออาวุธทำสงครามศาสนาได้)

ลองหันไปมองศาสนาอื่นดูบ้างเราจะพบว่า ศาสนาของเขา อยู่รอดและขยายศาสนจักรได้ครอบคลุมเกือบทั่วโลก เพราะหลักศาสนาและการปฏิบัติเป็นในลักษณะเชิงบังคับ พูดอย่างหยาบก็คือ คุณจะใจไม่ใจ ไม่รู้ แต่คุณต้องทำตามอย่างเคร่งครัด วิถีปฏิบัติจะทำให้แทรกซึมเข้าไปในใจเอง เพราะเขาออกแบบข้อบัญญัติในศาสนาไว้ในเบื้องต้นเพื่อการคงอยู่และขยายของศาสนจักรนั่นเอง  หากมองดูกฏหมายไทยเราพบว่าเริ่มมีกฏหมายหลายฉบับที่บังคับให้รัฐต้องจ่ายเงินหรือสนับสนุนโดยตรง เช่นหากรัฐไม่จ่ายเงินสนับสนุนผู้ไปแสวงบุญ ถือว่าผิดกฏหมาย 

   อย่างไรก็ตาม ในเมื่อสถานการณ์บ้านเมืองยังไม่สุกงอมพอที่จะบรรจุพระพุทธศาสนาในรัฐธรรมนูญได้ อีกทั้งการเมืองยังไม่สะอาด(ทุกยุคทุกสมัย) รัฐยังออกกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญที่ว่า กฏหมายจะต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยความดีงามตามศีลธรรมจริยธรรมของสังคม เช่นกฎหมายสุราชุมชน และหวยบนดิน เป็นต้น (ด้วยเหตุและผลเช่นการพิจารณาคดีในศาล) การนำศาสนาพุทธไปบรรจุในรัฐธรรมนูญก็คงเป็นกรอบที่จะบังคับและช่วยให้กฏหมายเป็นไปเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคมไม่ได้เท่าใดนัก


   หากเราทำการเก็บข้อมูลต่อไปอีก ก็จะพบว่า เรากำลังสูญเสียความเป็นไทย เป็นโรคไทยพุทธปมด้อย หรือTBS (Thai Buddhist Syndrome) เช่น หากเรากำหนดโจทย์จำลองสถานการณ์ในการทำวิจัยว่า เจ้านายในหลายๆหน่วยงานทั้งหน่วยงานของรัฐและองกรค์ธุรกิจ กำหนดให้พนักงานและลูกน้องต้องใส่ชุดไทยมาทำงาน พนักงานเหล่านั้นจะคิดไม่ออกว่า ชุดไทยคือชุดอะไร ใช้เวลาในการหาชุดไทยที่ใส่แล้วเหมาะสมกับตนไปหลายวัน รวมทั้งจะใส่ชุดไทยออกจากบ้าน ก็จะเกิดอาการขาดความมั่นใจไปทันที


   หากเราทำโจทย์ออกแบบสอบถามสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาธรรมะ และยังมีวิถีชีวิตที่ยังใกล้ชิดอยู่กับวัด เราจะพบว่าผู้คนรอบข้างเริ่มมองว่า คนที่เข้าวัดคือคนที่มีปัญหาชีวิต มีความผิดปกติ และทำตัวแปลกแยกจากสังคม หากทำการเก็บสถิติการตักบาตรทำบุญตอนเช้า ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้มาก็คือ แทบจะไม่มีคนหนุ่มสาวมาใส่บาตร วีถีชีวิตแบบพุทธหลายๆอย่างถูกถอดออกจากสังคมไทยทั่งที่โดยจงใจและไม่จงใจให้เกิด ข้อมูลเชิงลึกของคนที่ทำงานด้านพระพุทธศาสนาในภาพใหญ่ของสังคมจะพบว่า หากจะทำอะไรที่บ่งบอกว่าเราเป็นชาวพุทธ หรือมีคำว่าพุทธปรากฏอยู่ จะถูกเพ่งเล็งและมองว่าจะทำให้เกิดความแตกแยก นี่คือโรคไทยพุทธปมด้อย โรคติดต่อร้ายแรง โรคหนึ่งของสังคมเราในปัจจุบัน


   ตัวอย่างหนึ่งที่ควรทำการวิจัยอย่างยิ่งคือ ประเพณีถือศีลห้าก่อนแต่งงานของคนไทย ที่สูญหายไป หากเราศึกษาทางพุทธศาสตร์และอยากทราบว่า การที่รักษาศีลปฎิบัติธรรมก่อนการแต่งงาน จะทำให้ดวงจิตของลูกที่จะมาเกิดในท้องของมารดาเป็นจิตที่สะอาดจริงไหม ลูกว่านอนสอนง่ายและมีจิตใจที่ดีไหม? เปรียบเทียบกับข้อมูลเชิงประจักษ์กับกลุ่มของผู้ที่แต่งงานโดยไม่ได้ถือศีลปฎิบัติธรรม มนุษเดรัจฉาโน กับมนุษยเปโต จะมาเกิดสร้างความเดือดร้อนให้พ่อแม่ต้องกลุ้มใจหรือเปล่า? หรือการรักษาศีลปฎิบัติธรรมก่อนการแต่งงานจะช่วยลดสถิติการหย่าร้างได้ไหม? ถ้าลดได้ลดได้กี่เปอร์เซนต์ ระบุออกมาเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สามารถจับต้องได้โดยใช้กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เมื่อได้ผลของการวิจัยที่ถูกต้องแม่นยำน่าเชื่อถือ คนก็จะถือปฏิบัตติโดยปราศจาคข้อสงสัย ซึ่งก็ถือว่าปลายทางของการวิจัยสามารถแก้ปัญหาของประเด็นวิจัยนั้นๆได้


ตัวอย่างงานวิจัยการตายแล้วเกิดของทีมงาน ดร.เอียน สตีเวนสัน

   ในเมื่อเราได้พิสูจน์เชิงประจักษ์แล้วว่าการบรรจุศาสนาไว้ในหัวใจอย่างเดียวไม่เพียงพอเสียแล้วสำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน ส่วนจะบรรจุในรัฐธรรมนูญ ก็เป็นไปไม่ได้ เราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีกระบวนการ ที่จะกู้ชาติให้พ้นจากการวิกกฤติ พ้นจากการตกเป็นทาสของกิเลสตัณหา บ้าบริโภคนิยม และศูนย์วิจัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยกอบกู้สถานะการณ์นี้ได้ เมื่อเรามีของดีอยู่กับตัวแล้ว เราก็ต้องหันมากินเกลือกันบ้าง เพราะเรากินแต่ด่างกันมานานแล้ว ขุมทรัพย์ในพระไตรปิฎกและหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีมากมาย เรามาช่วยกันทำผลักดันให้สิ่งดีๆนี้เกิดขึ้นและทำให้ความดีประจักษ์แก่สายตาชาวโลกกันเถอะครับ เพราะหากว่าดีก็ไม่เอา ส่วนในใจก็ไม่จริงเกรงว่าวิกฤติถัดไปที่จะเกิดขึ้นถัดจากวิกฤติเศรษฐกิจและวิกฤติคุณธรรม ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมในโลกปัจจุบันนี้จะเป็นวิกฤติที่ยากจะรับมือ

หมายเลขบันทึก: 130962เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2007 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีจ้ะน้องแมน

มาทักทาย เพราะเห็นหายไปนาน  สบายดีนะจ๊ะ ?

ศูนย์วิจัยทางพุทธศาสตร์ก็น่าสนใจจ้ะ ถ้าทำให้คนมองว่าพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่เป็นวิทยาศาสตร์และเกิดความเชื่อถือ..เพียงแต่ ่พี่อยากจะขอเพิ่มสักนิดว่า วิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถตอบคำถามทุกอย่างได้และวิถีแห่งพุทธศาสนาก็เป็นวิีถีึแห่งการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความจริงอันเป็นสัจจะอยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องมีการพิสูจน์โดยแนวทางใดๆเพิ่มเติมอีก  เพียงแต่ " ปฏิบัติ " ด้วยตนเองจนเข้าถึงซึ่งแก่นแท้ของพุทธคำตอบมากมายจะเกิดขึ้นในตัวของเราเอง โดยไม่ต้องแสวงหาแต่อย่างใด..ศรัทธาที่บริสุทธิ์ต่อหลักความจริงที่บริสุทธิ์จะทำให้เราเข้าสู่ " วิถีแห่งพุทธะ " ได้ดีกว่าการเข้ามาด้วยความเชื่อในสิ่งที่พิสูจน์ด้วยวิถีทางโลกหรือเปล่าจ๊ะ

บันทึกของน้องแมนทำให้พี่คิดไปได้เยอะแยะเลยน่ะจ้ะ..ขอบใจมากๆเลยนะจ๊ะ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท