คืนสู่รากเหง้า


ในอดีตกับปัจจุบัน

คืนสู่รากเหง้า
มื้อพิเศษสุดของงานวิจัยภูมิปัญญาท้องถิ่น การห่อข้าวมารับประทานอาหารกินข้าว และวิจัยถึงคุณค่าของการห่อข้าวมารับประทานร่วมกันทั้งห้องพร้อมทั้งอาจารย์ อร่อยมากเป็นการให้เห็นคุณค่าของการห่อข้าว และมาวิเคราะห์ถึงความเป็นมาของแต่ละครอบครัว ว่าแต่ละครอบครัวจะมีความอบอุ่นในครอบครัวมากน้อยเพียงใด โดยการวิจัยจากห่อข้าวของทุกคนในห้อง เป็นประสบการณ์และ แลกเปลียนเรียนรู้ร่วมกัน ไม่ที่ไหนที่วิเศษสุดเท่านี้อีกแล้ว ได้ทั้งความรู้ ได้ทั้งแนวคิดที่เป็นประสบการณ์อันจะนำไปสู้การบูรณาการ ซึ่งเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่
ในอดีตกับปัจจุบัน อย่างมีคุณค่า

 

Dd1

Dd2

 

 Dd7

 

Dd14

 ภาพนักศึกษา รุ่น 49 ปี 1/ 2550 ศูนเรียนรู้โรงเรียนบ้านเม็กดำ  อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ. มหาสารคาม เห็นแล้วอบอุ่นกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ไม่มีวันลืม

 

หมายเลขบันทึก: 130815เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2007 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

รู้ไหมละ  การกินข้าวห่อด้วยกัน นอกจากจะรู้ว่าบ้านใคร  มีอาหารการกินไม่อดอยาก คนนั้นแสดงว่า  มีหนองนำที่มีปลา  ห่อปลามา  กินตำมะละกอ ก็แสดงว่าบ้านนั้นมีสวน  มีมะละกอปลูกไว้ พร้อม พริก มะนาว ตามวิถีชีวิตแล้ว  คนไทยแท้จริงไม่อดอยาก  แต่หากว่าหลงบริโภคนิยม  หรือไม่ก็ชอบสบาย เลยพากันละเลยวิถีชีวิตแบบไทยๆ  ซี่งมีความผูกพันกันมาก ระหว่างครอบครัว กินข้าวต้องให้พ่อบ้านเริ่มต้นก่อนใช่ไหม สมัยก่อน  นอนก็ต้องให้เมียกราบ เดี๋ยวนี้หายากมาก  ที่อาจารย?มาสอนเรา ก็สอนวิชาห่อข้าวแล้วก็ร้องเพลววิสาหกิจ  ปริญญาชีวิต  มหาวิทยาลัยชีวิตนี่แหละ  เป็นวิชาร้องเพลงไปหมดเลย  แต่ว่าแต่ละเพลง  มันมีความรู้อยู่ในตัว ถ้าใครตั้งใจฟังดีๆ  ข้อสอบก็มีในนั้นแหละ  และการกินช้าวพร้อมกัน มันดีตรงหนึ่งตรงที่ว่ากระชับเวลาใช่ไหม  ในรูป พวกคุณนั่งกิน ส่วนพวกเราเดินกินออ้อมโต๊ะพาข้าวนะ รู้ไหมตอนแรกเราคิดว่าอาหารจะไม่พอกิน  ที่ไหนได้เหลือกิน  ฉะนั้นวิธีการนี้ ย่อมให้เรารู้ว่า  กินพร้อมกัน คอยดูแลกัน ไม่มีใครกินมาก ไม่มีใครกินน้อย  แต่จะอิ่มใจมากกว่า  บทเรียนบทนี่มีความหมายอย่างลึกซึ้งนะ อาจารย์ต้องมีเจตนา มาให้เราวิเคราะห์  แล้วท่านวิเคราะห์แบบไหนหละเข้าใจเจตนาที่ท่านสอนหรือไม่  คนเดินดิน หรือเปล่าหนอ  ขอบคุณเม็กดำ  9 ทุกคนนะ เพราะไม่รู้ว่าช่องนี้เป็นความสามารถของใคร  ว่าจะมาเรียนวิชาใส่ภาพด้วยอยู่  อำอำคำใหญ่จังเลย  ระวังก้างปลาติดคอนะ  เห็นกล้วยด้วย  ช่างเป็นวิถีชีวิตชาวบ้านจริงๆ  เราควรจะรักท้องถิ่นเรานะ  ไม่ใช่ทิ้งถิ่น  เรียนจบแล้วต้องมาพัฒนาถิ่นของตน  เห็นรูปนักศึกษามากมายเลย  ถ้าอยากเห็นรูปพวกเรากลุ่มว่าที่บัณฑิต  มาสอนการใส่ภาพให้ด้วยนะ

เรื่องรูปภาพให้ไปดูที่ในคำถามของท่าน นะครับ

เหมือนกันกับที่ประทายเลย คราวหลังพวกเรามาจัดกันเองบ้างนะครับ

เห็นด้วยนะครับจัดวันที่ 29 กย. ดีไหมครับ เพราะจะได้เห็นภาพสมาชิกทุกท่านของประทาย และคณะอาจารย์ด้วย เพราะวันเสาร์นี้ เป็น วิชาการจัดการความรู้พอดีเลยนะครับ !

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วประทับใจค่ะ

รู้สึกถึงความอบอุ่นฉันท์พี่น้อง พร้อมๆกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปด้วยค่ะ

สวัสดีครับ

  ต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้ตอบ พึ่งมาเปิดบล็อกของกลุ่มท่านวันนี้เอง  พอดีเมื่อวันที่ 29 กย ที่ผ่านมาของผมเป็นวิชาการบริหารฯสวัสดิการชุมชน แต่ผมไม่อยู่ไปกรุงเทพฯ เลยไม่ทันอ่านบล็อกของท่าน

  เอาอย่างนี้ดีมั๊ยครับ หลังสอบแล้ว ถ้าพอมีเวลาเรามาแลกเปลี่ยนกัน จัดเวทีแบบชาวบ้านๆ ผมอาจจะเชิญผู้นำชุมชน หรือผู้ที่สนใจมาร่วมกันแลกเปลี่ยน เอาไว้ให้ทางผมได้เตรียมตัวซักนิดหนึ่งก่อน เพราะช่วงนี้ เพื่อนๆเรากำลังสะสางงานเก่าที่ค้างคาให้เสร็จ เอาที่บ้านผมเลย ที่เคยจัดรับน้อง ( ตัวอย่างรูปรับน้องและโครงสร้างแบบเต็มๆ อยู่ในไฟล์อัลบั้มนะครับ ) หรือยังไงประสานทางโทรศัพธ์ก็ได้ 081-0712666  อัครชัยฯ ครับ  แต่ถ้าจะให้ดีก็ต้องให้ฝนซาแล้วก็จะดี เพราะผมกำลังจะทำห้องอบสมุนไพร โดยใช้ดินสร้างแบบบ้านดิน แต่ต้องรอฝนซาก่อน จะได้ลองมาอบสมุนไพรด้วย  ผมว่าถ้าเรามีกิจกรรมแบบนี้ร่วมกันและเผยแพร่ขยายออกไป จะทำให้เกิดการตื่นตัวเป็นวงกว้าง ในชุมชน หรือแม้แต่กลุ่มคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เขาจะได้หันมาสนใจให้ความสำคัญกับการศึกษาภาคประชาชนอย่างพวกเรามากขึ้น ตอนนั้นแหละที่ชุมชนของพวกเราจะได้มีโอกาสพัฒนาตัวเองอย่างยั่งยืนเสียที 

   ลองดูนะครับว่าช่วงไหนจะเหมาะ ผมก็จะหารือกับเพื่อนๆที่ประทายเช่นกัน

                        โชคดีครับ

                       อัครชัย ฯ กลุ่มที่ 1 ฯ

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท