ซากาต 3


ซากาต 3
โทษของผู้ที่ไม่จ่ายซะกาต1. ผู้ที่ไม่ยอมจ่ายซะกาตโดยที่ไม่ยอมรับ หรือปฏิเสธเรื่องการจ่ายซะกาตว่า ไม่เป็นเรื่องวายิบ (จำเป็น) ถือว่าผู้นั้นหมดสภาพจากการเป็นมุสลิม (ตกจากศาสนา) และจะถูกสังหารในฐานะผู้ปฏิเสธศรัทธา เว้นแต่ในกรณีที่เขาเพิ่งเข้ารับอิสลามใหม่ ซึ่งอนุโลมให้เพราะยังไม่ทราบดี 2. ผู้ใดที่ไม่ยอมจ่ายซะกาต เนื่องจากความตระหนี่ หรือห่วงแหนในทรัพย์สิน แต่เขายอมรับว่าการจ่ายซะกาตเป็นบทบัญญัติหนึ่งของอิสลาม โดยยังถือว่าเป็นเรื่องจำเป็น (วายิบ) ถือว่าผู้นั้นมีความผิด (บาป) ในการที่ไม่ยอมจ่ายซะกาต แต่ยังไม่ถึงกับตกจากศาสนา ซึ่งจำเป็น แก่ ผู้ปกครองที่จะต้องให้เขาจ่ายซะกาต ถ้าหากเขาไม่ยอมจ่ายอีกก็ให้ลงโทษเขาสถานหนัก และเขาจะต้องได้รับการลงโทษจากอัลลอฮฺ ในวันกียามะฮฺ การบริจาคทาน (ศอดาเกาะฮฺ)การบริจาคทาน (ทำทานสมัคใจ) นั้นเป็นสุนนะฮฺอย่างหนึ่ง ซึ่งควรกระทำในทุกๆ สภาวะ และในเดือนรอมฎอนเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะทำทานสมัคใจ ซึ่งผลบุญของมันนั้นจะทวีคูณ ดังที่อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานซูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮ อายะฮฺที่ 26[1] ความว่า อุปมาบรรดาผู้บริจาคทรัพย์ของพวกเขาในหนทางของอัลลอฮฺ นั้น ดังอุปมัยเมล็ดพืชเมล็ดหนึ่งที่งอกขึ้นเป็นเจ็ดรวงซึ่งแต่ละรวงนั้นมีร้อยเมล็ด และอัลลอฮฺ นั้นจะทรงเพิ่มพูนแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์นั้นผู้ทรงกว้างขวางผู้ทรงรอบรู้และควรแจกจ่าย ทานสมัคใจ ให้ทั่วถึง นอกจากนี้ ทานสมัคใจ ก็สามารถกระทำได้ในสภาวะที่กำลังเจ็บป่วย เดินทาง ที่มักกะฮ ที่มาดีนะฮฺ ในภาวะสงคราม ช่วงประกอบพิธีฮัจญ์ และในเวลาที่ประเสริฐ เช่น 10 วันแรกของเดือนแห่งการทำฮัจญ์         ในการบริจาคนั้นไม่ควรเปิดเผย และควรบริจาคในสิ่งที่ ดังที่อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานซูเราะฮฺ อัลอิมรอน อายะฮฺที่ 92 [2]ความว่า พวกเจ้าจะไม่ได้คุณธรรมเลย จนกว่าพวกเจ้าจะบริจาคจากสิ่งที่พวกเจ้าชอบ และสิ่งที่พวกเจ้าบริจาคไป แท้จริงอัลลอฮฺ ทรงรู้ในสิ่งนั้นดีสำหรับผู้ที่มีความจำ เป็นให้ปัจจัยยังชีพแก่ผู้ที่อยู่ภายใต้การคุ้มครอง โดยหากบริจาคจะทำให้เกิดความขัดสน ดังนั้น จึงไม่อนุญาตสำหรับบุคคลดังกล่าวให้ทำศอดาเกาะฮฺ         การบริจาคทานสมัคใจไม่กำหนดรูปแบบ และปริมาณ ซึ่งสามารถทำได้แม้มีปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ตาม ท่านรอสูล  ได้กล่าว ว่า ผู้ใดในหมู่พวกท่านสามารถที่จะปกป้องไฟนรก เขาก็จงบริจาค แม้เพียงซีกหนึ่งของผลอินทผลัม แล้วถ้าใครไม่มีก็จงพูดจาสุภาพเรียบร้อย (ก็ถือว่าเป็นการบริจาคทานแล้ว)” (บันทึกโดยอะฮหมัด และมุสลิม)  ประเภทของการบริจาคทาน (ศอดาเกาะฮฺ)         การบริจาคนั้นมิได้เจาะจงชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่โดยหลักทั่วไปแล้ว ความดีทุกอย่างนั้น ถือเป็นศอดาเกาะฮฺ ( การบริจาคทาน ) ท่านรอสูล ได้กล่าวว่า ทุกๆชีวิตนั้น จะถูกบันทึกแก่เขาให้มีการบริจาคทานทุกวัน ที่ดวงอาทิตย์ยังขึ้นอยู่ จากดังกล่าวนั้น การที่เขาให้ความเที่ยงธรรมในระหว่างคู่กรณี ก็ถือเป็นศอดาเกาะฮฺการยกของให้แก่เขาก็ถือเป็นศอดาเกาะฮฺการเอาสิ่งอันตรายออกจากทาง ก็ถือเป็นศอดาเกาะฮฺคำพูดที่ดีก็เป็นศอดาเกาะฮฺการเอาสิ่งของอันตรายออกจากดิน ก็ถือเป็นศอดาเกาะฮฺคำพูดที่ดีก็ถือเป็นศอดาเกาะฮฺทุกก้าวที่เดินไปละหมาดก็ถือเป็นศอดาเกาะฮฺ” (บันทึกโดยอะหมัด และคนอื่นๆ) คนที่มีสิทธิได้รับบริจาคมากที่สุดคือใคร          คนที่มีสิทธิได้รับบริจาคมากที่สุดคือ ลูกๆของผู้บริจาค ครอบครัวของเขา ญาติที่ใกล้ชิดของเขา โดยที่บุคคลเหล่านี้มีความจำเป็นต่อสิ่งที่บริจาค เพื่อเป็นค่าครองชีพของเขา และคนที่อยู่ในการดูแลของเขา ท่านรอสูล  ได้กล่าวว่า ถ้าปรากฏว่าคนหนึ่งในหมู่พวกท่านยากจน ก็จงเริ่มด้วยตัวของเขาก่อน ถ้ายังมีเหลือก็ให้แก่ลูกๆของเขา ถ้ายังมีเหลือก็ให้ญาติที่ใกล้ชิดของเขา หรือวงศ์ญาติที่ใกล้ชิด ถ้ายังมีเหลือก็ให้เอามายังที่นี้ ที่นั้นนอกจากนี้ท่านรอสูล ยังได้กล่าวว่าเจ้าจงบริจาคชายคนหนึ่งกล่าวว่า ฉันมีหนึ่งเหรียญทองท่านกล่าวว่า จงบริจาคเพื่อตัวเจ้าก่อนเขากล่าวว่า ฉันมีอีกเหรียญทองหนึ่งท่านกล่าวว่า จงบริจาคให้ภรรยาของเจ้าเขากล่าวว่า ฉันมีอีกเหรียญทองหนึ่งท่านกล่าวว่า จงบริจาคให้ลูกๆของท่านเขากล่าวว่า ฉันมีอีกเหรียญทองหนึ่งท่านกล่าวว่า จงบริจาคให้คนรับใช้ของเจ้าก่อนเขากล่าวว่า ฉันมีอีกเหรียญทองหนึ่งท่านกล่าวว่า เจ้าจงพิจารณาดูก็แล้วกันว่าจะให้ใคร                                                     (บันทึกโดยอบูดาวูด อันนาซาอี และอัลฮากิม)   การทำให้การบริจาค (ศอดาเกาะฮฺ )ไร้ผล ( เป็นโมฆะ )           การบริจาคนั้นขึ้นอยู่กับเจตนาที่ทำเพื่ออัลลอฮฺ  ซึ่งนับว่าเป็นความสำคัญมากเพราะการบริจาคที่สูญเปล่านั้นจะไม่ได้รับประโยชน์ใดๆเลย เช่น การบริจาคสิ่งที่หะรอม ( ต้องห้าม ) และภรรยาเอาทรัพย์สินสามีมาบริจาคโดยที่สามีไม่รู้ หรือไม่อนุญาต ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไร้ผล ดังที่อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ 264[3]ความว่า บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่าให้บรรดาทานของพวกเจ้าไร้ผล ด้วยการลำเลิก และการก่อความเดือดร้อน เช่นผู้ที่บริจาคทรัพย์ของเขาเพื่ออวดผู้คน การบริจาคทานให้แก่สัตว์           อิสลามเป็นศาสนาที่แสดงออกถึงความเมตตาต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ รวมทั้งสัตว์ท่านรอสูล ได้กล่าวว่า ขณะที่สุนัขตัวหนึ่งกำลังเดินวนเวียนอยู่รอบๆ สระความกระหายน้ำเกือบทำให้มันสิ้นชีวิตแล้วก็บังเอิญหญิงชั่วคนหนึ่งจากวงค์วานบนีอิสรออีลได้เห็นมันนางได้ถอดรองเท้าบู๊ตของนางแล้วเอาตักน้ำมาให้มันดื่ม นางก็ได้รับการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ เนื่องด้วยการกระทำอันนั้น” (บันทึกโดยบุคอรีย์ และมุสลิม) จะเห็นได้ว่าการทำทานให้สัตว์สามารถลบล้างไฟนรก และได้เข้าสวรรค์  เงื่อนไขของผู้ที่จ่ายซะกาต และทัรพย์สินที่ต้องจ่ายซากาต1. อิสลาม คือ ซะกาตเป็นหนึ่งในห้าของหลักการอิสลาม ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของมุสลิมที่จะต้องปฏิบัติ 2. เป็นเสรีชน คือ ซะกาตนั้นเป็นหน้าที่ของมุสลิมที่เป็นเสรีชนเท่านั้น เพราะเสรีชนนั้นสามารถครอบครองกรรมสิทธิในทรัพย์สินได้ในขณะเดียวกัน ศาสนาอิสลามไม่กำหนดให้ผู้เป็นทาสต้องจ่ายซะกาต 3. เป็นทรัพย์สินที่อนุมัติ คือ ทรัพย์สินที่ต้องจ่ายซะกาตนั้นต้องเป็นทรัพย์สินที่ฮาลาล และได้มาโดยสุจริต 4. ครบตามพิกัด คือ มีจำนวนครบตามปริมาณที่กำหนดในช่วงปลายปี 5. ครบรอบปี คือ หมายความว่า มีการครอบครองทรัพย์สินเป็นเวลา 1 ปี 6. เป็นทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้ หรือผลผลิต เช่น เงินสด ทั้งที่เก็บไว้เอง หรือฝากธนาคารและ เงินลงทุน เป็นต้น 7. เป็นกรรมสิทธิ์ที่สมบูรณ์ คือ ทรัพย์สินที่จะนำไปคิดคำนวณซะกาตนั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่เจ้าของผู้ออกซะกาตครอบครอง โดยสมบูรณ์เขามีสิทธิบริหารจัดการในทรัพย์สินนั้นไมว่าจะขายจะให้เช่าก็เป็นอำนาจของเขาเต็มที่ ดังนั้น เขาจึงต้องออกซะกาต 8. ทรัพย์สินที่ได้มาด้วยการค้าขาย และโดยการรับบริจาค จะถือเป็นทรัพย์สินทางธุรกิจที่จะต้องนำมาคำนวณซะกาต 9. มีการตั้งเจตนาเพื่อค้าขาย หรือประกอบธุรกิจ เงื่อนไขข้อนี้จะเป็นตัวกำหนดว่าจำเป็นต้องจ่ายซะกาตธุรกิจหรือไม่ โดยพิจารณาจากหลัก 2 ประการ ได้แก่ การตั้งเจตนาและการปฏิบัติ เงื่อนไขประเภทต่างๆ ในการบริจาคซะกาตการบริจาคซะกาตเงิน และทองมีเงื่อนไข 5 ประการ คือ 1.  เป็นมุสลิม 2.  เป็นเสรีชน 3.  เป็นผู้มีสิทธิโดยสมบูรณ์ 4.  ครบหนึ่งปี 5.  ครบพิกัดที่ศาสนากำหนด  การบริจาคซะกาตพืชผลทางการเกษตรมีเงื่อนไข 6 ประการคือ1.  เป็นมุสลิม 2. เป็นเสรีชน 3.  เป็นผู้มีสิทธิโดยสมบูรณ์ 4.  ครบหนึ่งปี 5.  เป็นอาหารหลัก 6.  ครบพิกัดที่ศาสนากำหนด  การบริจาคปศุสัตว์มีเงื่อนไข 5 ประการคือ1.  เป็นมุสลิม 2.  เป็นเสรีชน 3.  เป็นผู้มีสิทธิโดยสมบูรณ์ 4.  ครบหนึ่งปี 5.  เป็นสัตว์ที่เลี่ยงไว้ในทุ่งหญ้า การบริจาคซะกาตการค้ามีเงื่อนไข 7 ประการคือ1.  เป็นมุสลิม 2.  เป็นสินค้าที่ตั้งใจทำการค้า 3.  เป็นผู้มีสิทธิครอบครองสินค้าโดยสมบูรณ์ 4.  มีสิทธ์ทำการค้า 5.  ครบพิกัดที่ศาสนากำหนด 6.  มิได้มีเจตนาเป็นสินค้าที่เก็บไว้ใช้เอง 7.  ครบหนึ่งปี พิกัดของแต่ละประเภทซะกาตเงิน และทองคำ คือ ซะกาตนั้นจำเป็นต้องจ่ายในเร ื่อง ทองคำและเงินเท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นเหรียญทอง หรือเหรียญเงิน เป็นทองรูปพรรณ หรือเป็นแท่ง เมื่อครบจำนวนที่กำหนด ครบระยะเวลาหนึ่งปีโดยปราศจากหนี้สิน และความจำเป็นขั้นพื้นฐานแล้วจำเป็นจะต้องจ่ายซะกาต ตามพิกัดดังนี้ จำนวน หรือปริมาณทองที่ต้องจ่ายซะกาต : ทองคำนั้นต้องจ่ายเมื่อครบจำนวน 20 ดีนาร หรือ 20 มิสกอล และครบปีก็ต้องจ่ายในปริมาณ ของ 10 คือ ดีนาร หรือเท่ากับ 2.5 % และส่วนที่เกินจาก20 ดีนารขึ้นไปจะต้องจ่าย1/4 ของ 10 เหมือนกัน ท่านรอสูล ได้กล่าวว่า ไม่มีอะไร (ที่จะต้องจ่าย) สำหรับท่าน หมายถึงเรื่องทองคำ จนกว่าท่านจะมี 20 ดีนาร ถ้าปรากฏว่าท่านมี 20 ดีนาร และครบกำหนดหนึ่งปีเต็ม ในจำนวนนี้ให้ออก 1/2 ดีนาร ส่วนที่เกินไปจากนั้นก็ให้คำนวนไป เรื่องทรัพย์สินที่ต้องออกซะกาตนั้นยังไม่จำเป็นต้องจ่ายจนกว่าครบรอบปี” (บันทึกโดยอะฮหมัด อาบูดาวูด) จำนวน หรือปริมาณเงินที่ต้องจ่ายซะกาต : เงินนั้นต้องจ่ายซะกาตเมื่อมีปริมาณครบ 200 ดิรฮัม ก็ให้ออก1/4 ของ 10ห รือเท่ากับ 2.5 % คือ 5 ดีรฮัม ส่วนที่เกินไปก็คิดไปตามจำนวน เพราะไม่มีการอนุโลมให้ในเรื่องซะกาตทองคำ หรือเงิน เมื่อมีครบจำนวนแล้ว ท่านรอสูล ได้กล่าวว่า ความจริงฉันได้อโลมแก่พวกท่าน ที่เกี่ยวกับม้า และทาส พวกเจ้าจงน้ำมาซึ่งซะกาตริกเกาะฮฺ (เงิน) จากทุกๆ 40 ดิรฮัม ให้ออก 1 ดิรฮัม และใน 190 นั้นไม่ต้องเสียอะไรเลย แล้วเมื่อครบ 200 ดิรฮัมก็ต้องจ่าย 5 ดิรฮัม” (บันทึกโดยอัตติรมีซี)   ซะกาตการค้า คือ สิ้นค้าที่เอามาขายนั้นเป็นทรัพย์สินที่เอามาให้มีการเพิ่มพูน มันจึงเหมือนกับ 3 ประเภทที่ต้องจ่ายซะกาตโดยมติของนักวิชาการคือ ผลิตผลทางการเกษตร สัตว์สี่เท้า ทองคำ และเงิน ดังนั้นผู้ใดครอบครองสิ้นค้าครบจำนวน และครบรอบปี จะต้องออกซะกาต คือ 1/4ของ 10 หรือเท่ากับ 2.5 % ของราคา ซึ่งพ่อค้าจะต้องดำเนินการในทุกๆรอบปี   ซะกาตผลิตผลทางการเกษตร และผลไม้ คือ ดังที่อัลลอฮฺ  ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ 267 [4]ความว่าโอ้บรรดาผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย จงบริจาคส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ดีๆ ที่พวกเจ้าได้ขวนขวายมาได้ และส่วนหนึ่งจากสิ่งที่เราได้ให้มันออกมาจากพื้นดินแก่พวกเจ้าพิกัดทางการเกษตรที่ต้องบริจากซะกาตนั้นคือ 5 เอาซุก ซึ่งผู้ที่ทำการเพาะปลูกจะต้องจ่ายซะกาตจากผลผลิตทางการเกษตร แตกต่างกันดังนี้ หากรดน้ำโดยไม่ใช้เครื่องมือ คืออาศัยธรรมชาติจำเป็นจะต้องจ่ายซะกาต1/10 หรือ 10 % ถ้ารดน้ำโดยใช้เครื่องมือทุนแรง หรือซื้อน้ำก็จำเป็นต้องจ่ายซะกาตครึ่งหนึ่งของ 1/10 หรือ 5 % ท่านรอสูล ได้กล่าวว่าสิ่งเพาะปลูก และผลไม้ ไม่ต้องบริจาคซะกาตนอกจากจะมีจำนวนถึง 5 เอาซุก ” (บันทึกโดยมุสลิม) ซะกาตเกี่ยวกับปศุสัตว์ ซะกาตอูฐ คือ เมื่ออูฐครบจำนวน 5 ตัว เลี้ยงในทุ่งหญ้าที่ไม่เป็นที่ต้องห้าม และครบรอบปีจะต้องจ่ายแพะ หรือแกะอายุเกินหนึ่งปี จำนวนหนึ่งตัว เมื่ออูฐจำนวน 10ตัวก็ต้องจ่ายแพะ หรือแกะ จำนวน 2 ตัวเป็นต้น ส่วนผู้ที่มีเพียงอูฐ 4 ตัวก็ไม่ต้องจ่ายอะไรนอกเสียจากเจ้าของอูฐนั้นประสงค์ที่จะจ่าย   ซะกาตวัว คือ ต้องจ่ายซะกาตวัวเมื่อมีจำนวนครบ 30 ตัวเมื่อครบรอบปีให้จ่ายซะกาตเป็นลูกวัว (ตัวเมีย) อายุ 1 ปี จำนวน 1 ตัว หากครบ 40 ตัวเมื่อครบรอบปีให้จ่ายซะกาตเป็นลูกวัว (ตัวเมีย) อายุครบ 2 ปี จำนวน 1 ตัว เป็นต้น                 ซะกาต แพะ แกะ คือ เมื่อแพะครบ40 ตัวและครบ 1 ปีต้องจ่ายแกะ 1 ตัว ถ้าจำนวน 121 ตัวให้จ่ายแกะจำนวน 2 ตัว ไปจนกระทั่งถึง 200 ตัว ถ้าจำนวนถึง 201 ตัวให้จ่ายแกะจำนวน 3 ตัว ในการจ่ายซะกาตนั้น จะจ่ายเป็นแพะก็ได้ หรือแกะก็ได้เงื่อนไขผู้ที่จะทำหน้าที่จัดเก็บและจ่าย ซะกาต1. เป็นมุสลิม เนื่องจากซะกาตเป็นกิจการด้านศาสนาอิสลาม ดังนั้น ผู้จัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงต้องเป็นมุสลิม 2. เป็นผู้ที่บรรลุศาสนาภาวะและมีสติปัญญาสมบูรณ์ 3. เป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจในความซื่อสัตย์ สุจริต 4. มีความเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดเก็บซะกาต อัลกอรฎอวีย์อธิบายว่าผู้ทำหน้าที่รวบรวมซะกาตมีภารกิจ 2 ลักษณะ คือ 1. ผู้จัดเก็บซะกาตจากบรรดาผู้มีหน้าที่ต้องจ่ายซะกาตทั้งหลาย 2. ผู้ทำหน้าที่จัดสรรและแจกจ่ายซะกาตแก่ผู้มีสิทธิ ซึ่งผู้แจกจ่ายนั้นจะต้องคัดสรรผู้มีสิทธิแล้วจัดลำดับความจำเป็นพร้อมทั้งคำนวณปริมาณที่ผู้มีสิทธิรับซะกาตที่ แต่ละคนมีความจำเป็นต้องใช้ด้วย  


[1] ซูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮ อายะฮฺที่ 26

[2] ซูเราะฮฺ อัลอิมรอน อายะฮฺที่ 92

[3] ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ 264

[4] ซูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ 267

คำสำคัญ (Tags): #ซากาต
หมายเลขบันทึก: 129853เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท