พายุ
นาง สุภาภรณ์ บุตรดีวงษ์ มีเงิน

แนวคิดหลักสนับสนุนการดำเนินงาน ตอนที่ 1


เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาคนอยู่ที่การทำให้คนมีคุณภาพและคุณธรรม

แนวคิดหลักสนับสนุนการดำเนินงาน
                        การดำเนินงานตามโครงการสร้างกระแสพัฒนาคนและสังคมในระดับจุลภาค (คนดีศรีแผ่นดิน) มีแนวคิดหลักในการสนับสนุนการดำเนินงานดังนี้ คือ

๑. แนวคิดการพัฒนาคนและสังคม

๒. แนวคิดการพัฒนาสังคม ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

๓. นโยบายรัฐบาลว่าด้วย การเสริมสร้างสังคมเข้มแข็ง

๔. กรอบแนวคิดของโครงการสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมในระดับจุลภาค

๑. แนวคิดการพัฒนาคนและสังคม

                        ดร.สัญญา สัญญาวิวัฒน์ ได้กล่าวถึงแนวคิดในการพัฒนาคนและสังคมในหนังสือทฤษฏี และกล ยุทธ์การพัฒนาสังคม (๒๕๔๖ : ๑๒๔ – ๑๒๙) ไว้เป็นต้นแบบในการพัฒนาสังคม ว่าควรเน้นการพัฒนาคน เป็น อันดับแรก เพราะคนเป็นหัวใจของสังคมการพัฒนาสังคมก็จำต้องพัฒนาคนเป็นหลัก หากคนได้รับการพัฒนาจน กลายเป็นคนที่พัฒนาแล้ว คนจะพัฒนาอย่างอื่นให้เจริญขึ้นตามที่เขาต้องการ ที่กล่าวเช่นนั้น แน่นอนละว่า ไม่ได้หมายความ ว่าสิ่งอื่นไม่สำคัญ หากมีความสำคัญเป็นรอง นอกจากนั้น การกล่าวเช่นนั้นไม่ได้หมาย ความว่าจะ มุ่งแต่พัฒนาคนในกระบวนการพัฒนาสังคมเอาการพัฒนาคนนำหน้า กระบวนการพัฒนาก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้นอีก ในทางปฏิบัติอาจใช้การพัฒนาสิ่งแวดล้อม คน หรือการพัฒนา วัตถุเป็นตัวนำ เป็นแบบฝึกหัดสำหรับการพัฒนาคนก็ได้ ขอเพียงให้ตระหนักว่า เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนา สังคมอยู่ที่การพัฒนาคน
                        เนื้อหาสาระของการพัฒนาคนจะแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนคือ ส่วนแรกจะเป็นเรื่องทั่วไป จะกล่าวถึง เป้าหมาย หลักการและวิธีการพัฒนาคนตามมาด้วยลักษณะของคนพัฒนาที่ต้องการและส่วนสุดท้ายจะกล่าว ถึงความ สัมพันธ์ ระหว่างคนกับสังคมทำให้ตระหนักว่าคนทำให้เกิดสังคม คนต้องพึ่งพาสังคม คนและสังคมจึงมี ความสำคัญ แก่กันและกัน
                        เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาคนอยู่ที่การทำให้คนมีคุณภาพและคุณธรรม คนมีคุณภาพ หมายถึง คนที่มี ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ ในวิชาชีพ สามารถหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ในวิชาสาธารณสุข จนสามารถ ดูแลงานเอง ครอบครัว ชุมชน ให้มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ในวิชาการเมืองจนปกครองตนเอง ครับครัว ชุมชน และสังคมได้ และในวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จนสามารถเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ใช้ และบำรุงรักษา เทคโนโลยีใหม่ ได้และปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ได้ คนที่มีคุณธรรม หมายถึง เป็นคนดี คิดดี และประพฤติดี ไม่เบียดเบียน ตนเองและผู้อื่นในสังคม และมี เมตตา กรุณา ต่อตนเองและผู้อื่น เป็นคนใฝ่รู้อยู่เสมอ รู้จักตนเอง เสียสละเพื่อส่วนรวม มองการณ์ไกล ไม่ประมาทและมีศีลธรรม เหตุที่คนพัฒนาจะต้องมีทั้งคุณภาพ และคุณธรรมก ็เพราะ หากมุ่งแต่คุณภาพ อย่างเดียว ไม่มีคุณธรรม จะชักนำคนให้มุ่งแต่ประโยชน์ตน ฝ่ายเดียวไม่เผื่อแผ่ผู้อื่น หรือทำให้เกิดความ เห็นแก่ ตัวอย่าง รุนแรงส่งผลให้เกิด ปัญหาสังคมขึ้นมากมาย สังคมยุ่งเหยิง ไม่มั่นคงและไม่มี ความสุข แต่การมีแต่คุณธรรม ความดีไม่คุณภาพ มนุษย์ ก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกได้ เพราะมนุษย์จะ ไม่รู้จักประกอบอาชีพ ไม่รู้จักรักษาสุขภาพ ไม่รู้จักปกครองตนเอง ไม่รู้จักพัฒนาตนเอง ไม่รู้จักสร้างสรรค์ เครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักร เครื่องกล ประเภทต่าง ๆ ทำให้ชีวิตไม่สะดวกสบายตามควร คนพัฒนาจะต้อง เป็นทั้งคนที่มีคุณภาพและคุณธรรม

หลักการ

หลักการรวมทั้งปัจจัยที่จะทำให้เกิดคนพัฒนาตามลักษณะที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อาจมีดังนี้เป็นอย่างน้อย
๑. หลักการประชาธิปไตยในการดำเนินการพัฒนา
๒. หลักช่วยกันคิดช่วยกันทำ
๓. หลักการทำงานเป็นกลุ่ม
๔. หลักการให้การศึกษา
๕. หลักการช่วยตนเองพึ่งตนเอง
๖. หลักการหาความรู้ความสามารถให้กับตนอยู่เสมอ
๗. หลักการวางโครงการทำงาน
๘. หลักการประเมินโครงการทำงาน
๙. หลักการสร้างเครือข่ายในการพัฒนาหรือการประสานงาน
๑๐. หลักการเริ่มงานพัฒนาจากสภาพที่เป็นอยู่ของประชาชน
๑๑. หลักความเป็นผู้นำ
๑๒. หลักคุณธรรม
                        หลักการต่าง ๆ ข้างต้นนั้นมีอยู่ไม่น้อยที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกัน เช่น หลักประชาธิปไตย ในการดำเนินการ หลักช่วยกันคิดช่วยกันทำ หลักการทำงานเป็นกลุ่ม แต่ก็ไม่เหมือนกันทุกอย่าง และยังสนับสนุน ซึ่งกันและกัน รวมทั้งยังรวมเอาหลักการที่คล้ายคลึงกัน เช่น การมีส่วนร่วมในการดำเนินการหลักการ PAR (Participatory Action Research) ซึ่งรวมเอาเรื่องการพัฒนาและการวิจัยเข้ามาอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นหลักการต่าง ๆ จึงเกี่ยวพันกัน และอาจ จัดกลุ่มได้หลายแบบเช่น PAR ดังที่ยกตัวอย่างมา BAN ซึ่งรวมงานหลาย อย่างเข้ามาไว้ด้วย กัน คือ B การสร้างความสมดุล (balancd) A การสร้างขีดความสามารถด้านต่างๆ (Ability) เช่น เทคโนโลยี เศรษฐกิจทรัพยากรธรรมชาติ จิตใจและสังคม รวมทั้งการจัดการ (management)กล่าวคือ ต้องไต่ไป พร้อม ๆ กัน อย่างสมดุล – N การสร้าง เครือข่าย (Networking) คือการมีเพื่อนพันธมิตร ดังนั้นจึงขอให้ผู้อ่าน หรือผู้ใช้หลักการ เหล่านี้จัดกลุ่ม หรือสร้างกลุ่มของหลักการเอาตามที่เห็นสะดวกและเป็นไปได้

        หลังจากที่รู้หลักการแล้วพรุ่งนี้มาดูกันนะคะว่าจะมีวิธีการอย่างไร และมาดูกันว่า มนุษย์ 4 มิติ กับ 3 ศาสตร์ เป็นอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 129645เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2007 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 04:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท