โครงการ patho-OTOP 3 ของหน่วยเคมีคลินิก กลุ่ม 1


 ความสำคัญและที่มาของปัญหา
.   สิ่งส่งตรวจในหน่วยเคมีคลินิก แต่ละวัน ประมาณวันละ 800 1000 ราย ซึ่งมีจำนวนหนึ่ง(ประมาณ 10 ราย/วัน) มีการสั่งตรวจการทดสอบบางรายการเพิ่ม โดยใช้สิ่งส่งตรวจ(เลือด)อันเดิม
 พบปัญหาว่า ไม่สามารถทำการทดสอบเพิ่มให้ได้เนื่องจากสิ่งส่งตรวจทิ้งไว้นานกว่า 2 ชั่วโมงหลังจากเจาะเลือด
 
 
พบปัญหาว่า ไม่สามารถทำการทดสอบเพิ่มให้ได้เนื่องจากสิ่งส่งตรวจทิ้งไว้นานกว่า 2 ชั่วโมงหลังจากเจาะเลือด
วัตถุประสงค์
 
เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในเลือด หลังจากปั่นแยกและทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลาต่างๆกัน จนถึง 7 ชั่วโมง
 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
 
-ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในเลือดเมื่อตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง
-ผู้ป่วยไม่ต้องเจาะเลือดซ้ำ
-ลดเวลาการรอคอยผลของผู้ป่วย
 โครงการนี้คงใช้ระยะเวลานานพอสมควรเพราะต้องเลือกตัวอย่างให้ครอบคลุมที่สุด ตอนนี้ทีมงานกำลังวางแผนอยู่ครับ
หมายเลขบันทึก: 129162เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2007 07:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ระวังเรื่องการระเหยของตัวอย่างตรวจด้วย ถือเป็นปัจจัยใหญ่ตัวหนึ่งที่เรามักมองข้ามไป บางครั้งเรามองว่าตัวอย่างตรวจอยู่ในหลอดทดลองตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องคงไม่น่ามีอะไร แต่ถ้าตัวอย่างตรวจระเหยไป 10% ซึ่งเชื่อว่าให้ดูด้วยตาเปล่าเราก็ไม่รู้ว่าตัวอย่างตรวจหายไปแล้ว 10% ซึ่งอาจมีผลคลาดเคลื่อนไป 10% นี่ยังไม่รวม error อย่างอื่นอีกนะครับ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ใช้ตัวอย่างตรวจเสร็จก็ปิดฝาด้วยครับ
  • หรืออาจจะศึกษาเพิ่มเข้าไปด้วยว่า ตัวอย่างตรวจในหลอด ถ้าไม่ปิดฝา หรือตัวอย่างตรวจใน cup ถ้าไม่ปิดฝา ตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง จะมีการระเหยไปกี่% ที่อุณหภูมิต่างๆ และความชื้นต่างๆ ซึ่งอาจเป็นข้อเสนอแนะได้ว่า ในการทำงานปกติที่ไม่ค่อยได้ปิดฝาหลอดเก็บตัวอย่างตรวจ หรือตัวอย่างตรวจที่อยู่ในเครื่องนั้นตั้งไว้ได้ไม่เกินกี่ ชั่วโมง ก่อนที่จะปฏิเสธการเพิ่มการทดสอบ
  • สำหรับเรื่องการวิเคราะห์ให้ระวังปัจจัยที่เป็น confounding ด้วยครับ เพราะการตั้งตัวอย่างตรวจไว้ที่อุณหภูมิห้อง อาจไม่ใช่ปัจจัยหลักในการทำให้ผลการทดสอบเปลี่ยนแปลงไป โดยการตั้งที่อุณหภูมิห้องอาจสัมพันธ์กับการระเหยของตัวอย่างตรวจ หรือปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย ดังนั้นหากเก็บข้อมูลของปัจจัยต่างๆที่คาดว่าจะมีผลต่อค่าการทดสอบไว้ เราสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ครับว่า ปัจจัยใดเป็นปัจจัยหลักที่มีผลกระทบที่แท้จริง ในขณะที่ปัจจัยใดเป็นเพียง confounder
  • สนใจรายละเอียดปรึกษานักระบาดได้ครับ หรือลองหิ้วข้อมูลปัจจัยต่างๆที่สนใจไปนั่งคุยกับอาจารย์ปารมี หรืออาจารย์สมรมาศได้ครับ

 

 ขอบคุณพี่ mitochondria มากครับ ที่ช่วยเสนอแนะแนวทาง ครับ

เห็นด้วยกับความเห็นของคุณไมโตฯ ว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่อาจมีผลทำให้สารเคมีเปลี่ยนแปลงหลังวางทิ้งไว้..

 แต่คำถามวิจัยของนายดำในโครงการนี้ คือ ระดับสารเคมีเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ในตัวอย่างตรวจที่ปั่นทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง  เราคงไม่ต้องไปควบคุมปัจจัยที่อาจรบกวน  เพียงแต่หากผลการศึกษาออกมาว่า สารเคมีลดลง เราคงต้องพยายาม (ตั้งสมมุตฐาน)ว่าอะไร อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ระดับสารเคมีเปลี่ยนแปลงได้บ้างในส่วนการ discuss

แล้วหากจะพิสูจน์ว่า ปัจจัยอะไรเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว คงต้องทำการศึกษาอีกที

เรื่องจะปิดจุก tube ที่วางทิ้งไว้หรือไม่ น่าจะทำให้เหมือนสภาพจริงที่เราจะใช้งานจริง  

  • ลองเริ่มต้น ตามที่อาจารย์ปารมีแนะนำก่อนครับ โดยสุ่มตัวอย่างมาทำสัก 10 ราย วางไว้ตามสภาพที่เราทำงานจริงทุกอย่าง แล้วลองเปรียบเทียบค่า pair t test ดูครับว่าแตกต่างหรือไม่ ถ้าไม่แตกต่าง ทำต่อได้เลยครับ โดยเพิ่ม n เข้าไป แต่ถ้ามีค่าแตกต่าง ทีนี้อาจต้องมาพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย อยู่ที่ว่าสนใจปัจจัยอะไรบ้าง แล้วเก็บรายละเอียดปัจจัยเหล่านั้นไว้สำหรับการวิเคราะห์ผลด้วยครับ
  • การวัดการระเหย อาจใช้วิธีการชั่งน้ำหนักได้ครับ ว่าน้ำหนักหายไปมากน้อยเพียงใด
  • ผมห่วงเรื่อง confounding ครับ เพราะอาจทำให้การสรุปผล ไปกันคนละทิศ ก็เลยบอกไว้ก่อน เพื่อป้องกันเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่เริ่มออกแบบการทดลอง จะได้ไม่ต้องย้อนกลับมาทำงานเพิ่มครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท