ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน


บทที่  7

ความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

จุดประสงค์การเรียนรู้

ผู้เรียนสามารถบอกการดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้

การดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

1.  ให้นายจ้างดำเนินการใช้  การบริการ  และการจัดการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  ดังนี้ 

  1.1  ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วย  นั่งร้าน  เขตก่อสร้าง  และลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราว

  1.2  ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร  ไฟฟ้า  หม้อน้ำ สารเคมีอันตราย  ภาวะแวดล้อม   ภาวะแวดล้อม (สารเคมี)   ภาวะแวดล้อม (ประดาน้ำ)   ปั้นจั่น  และการตอกเสาเข็ม 

  1.3  ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง

  1.4  ความปลอดภัยในการทำงานในสถานที่อับอากาศ  และสถานที่อันตรายจากการตกจากที่สูง  วัสดุกระเด็น  ตกหล่น  และการพังทลาย  

  1.5  การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง

2.  นายจ้างต้องจัดทำคู่มือหรือเอกสารที่เป็นประโยชน์  วิธีการใช้  และวิธีการบำรุง

รักษาอุปกรณ์  อย่างเป็นข้อความเป็นภาษาไทย 

3.  นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง  ซึ่งเป็นการตรวจร่างกายและสภาวะทางจิตใจตามวิธีทางการแพทย์  เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสมและผลกระทบต่อสุขภาพของลูกจ้าง  อันอาจเกิดจากการทำงาน

การทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของลูกจ้าง 

ให้นายจ้างดำเนินการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย จุลชีวันเป็นพิษ  หรือสารชีวภาพอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด  กัมมันตภาพรังสี  ความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน ความกดดัน บรรยากาศ  แสง  เสียง  หรือสภาพแวดล้อมที่อาจเป็นอันตราย ดังนี้

1.  แพทย์ที่สามารถตรวจสุขภาพตามกฎกระทรวงฉบับนี้  ต้องเป็นแพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1  ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

2.  ตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรกให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน  และครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

3.  ในกรณีที่ต้องตรวจสุขภาพตามระยะเวลาอื่น  ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างตามระยะเวลานั้น 

หากนายจ้างเปลี่ยนงานของลูกจ้าง  โดยที่งานนั้นมีอันตรายแตกต่างไปจากเดิม   นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพทุกครั้งให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนงาน

  ลูกจ้างที่หยุดงาน 3 วันติดต่อกัน  เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยไม่ว่ากรณีใดๆ  นายจ้างอาจขอความเห็นจากแพทย์  หรือจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างก่อนให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานอีกก็ได้

4.  จัดให้มีสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงตามแบบที่อธิบดีกำหนด  และบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างในสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้าง  ตามผลการตรวจของแพทย์ทุกครั้งที่มีการตรวจ

5.  แจ้งผลการตรวจสุขภาพให้แก่ลูกจ้าง  ดังนี้

 

กรณีผลการตรวจสุขภาพ

           แจ้งภายใน(วัน)นับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ

ผิดปกติ

3

ปกติ

7

 

6.  จัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันทีที่พบความผิดปกติของลูกจ้าง  หรือลูกจ้างมีอาการ  หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน  และหาสาเหตุของความผิดปกติเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน

อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล  หมายถึง  สิ่งที่สวมใส่ลงบนอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายๆ  ส่วนของร่างกายรวมกัน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะส่วนนั้นๆ  ไม่ให้ต้องประสบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงาน  อุปกรณ์ดังกล่าว  ได้แก่


อุปกรณ์ป้องกัน

ตัวอย่าง

ศีรษะ

หมวกแข็ง

หู

ที่ครอบหูลดเสียง

ใบหน้าและตา 

กระบังหน้า  แว่นตา

ระบบหายใจ 

หน้ากากกันสารเคมีต่างๆ

ลำตัว

เอี๊ยม  เสื้อชนิดพิเศษ

มือและแขน 

ถุงมือ  ปลอกแขนป้องกันความร้อน

เท้า

รองเท้าหัวเหล็ก  รองเท้ายาง

ตกจากที่สูง 

เข็มขัดนิรภัย  และสายช่วยชีวิต

พิเศษเฉพาะงาน 

เครื่องช่วยหายใจ  โลชั่นทาผิวหนัง

การเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

1.  เหมาะสมกับสภาพของอันตราย

2.  เหมาะสมกับร่างกายของผู้ใช้

3.  ได้มาตรฐาน

4.  น้ำหนักเบาและสวมใส่สบาย

5.  ใช้ง่ายไม่ยุ่งยาก

6.  บำรุงรักษาง่าย

7.  ทนทาน

การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

1.  เหมาะสมกับสภาพของงาน

2.  เหมาะสมกับร่างกาย

3.  สวมใส่อย่างถูกวิธี

4.  ทำความสะอาดหลังใช้งานทุกวัน

5.  เก็บรักษาอย่างถูกต้อง

 6.  ไม่ควรเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลเอง  เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายลดลง

 7.  ควรเก็บเป็นของส่วนตัว

ข้อควรระวังในการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

1.   ใช้ในระหว่างที่ยังไม่สามารถแก้ไขจุดที่เป็นอันตรายด้วยวิธีอื่น เช่น การแก้ไขจุดอันตรายด้วยวิธีทางวิศวกรรม  ซึ่งเป็นการใช้ชั่วคราว

2.   ใช้ควบคู่กับการป้องกันด้วยวิธีอื่น  เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

3.   ใช้กับการทำงานระยะสั้น ๆ  หรือในกรณีฉุกเฉิน

4.   ต้องมีแผน  การเลือก  การใช้  และการบำรุงรักษาที่ดี

หมายเลขบันทึก: 128137เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2007 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยในการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักรกลต่างๆ ถ้าคุณมีขอความกรุณาช่วยส่งมาตามอีเมลนี้ด้วยครับ จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

ได้อ่านแล้ว  ดีมากได้ความรู้เพิ่มเติม

อ่านแล้วทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท