แฉเบื้องหลังบทความ 'โลโก้ 7-ELEVEn'


 

ในที่สุดปริศนาเกี่ยวกับบทความ โลโก้ 7-ELEVEn ที่เคยบันทึกไว้ก็ถูกเฉลย

โดย ผู้เขียน คือ คุณแทนไท ประเสริฐกุล

เบื้องหลังจะเป็นอย่างไรนั้น โปรดอ่านจากข้อความข้างล่างนี้

และลิงค์ไปยังบทความต้นกำเนิด

ทุกสิ่งทุกอย่างมีที่มา-ที่ไปของมันจริงๆ ครับ [รวมทั้งบทความนี้ด้วย ;-) ]


 

พี่ชิวครับ

 

ผมแทนไทนะครับ

คืออยากจะบอกว่า ไอ้ forward mail ที่พี่ได้เนี่ย มันเอามาจากบทความที่ผมเขียนเองแหละครับ

เพียงแต่ที่น่าเศร้าใจคือ มันดันตัดเอามาแต่ช่วงต้น  ยังเล่าไม่ทันจบ.. จริงๆ เวอร์ชั่นเต็มคือผมต้องการเล่าว่า ไอ้ที่เค้าบอกว่าตัว n เป็นเรื่องฮวงจุ้ยเนี่ย จริงๆ แล้วเป็นเรื่องโม้

เฉลยที่มาที่แท้จริงของ n เล็ก มันมีเขียนต่อไปอีก แต่เค้าดันตัดมาแค่นี้ มันก็เลยทำให้คนอ่านเข้าใจผิดกันยิ่งเข้าไปใหญ่

ยังไงขอมาชี้แจงไว้ ณ ที่นี้นะครับ

สำหรับคนที่ต้องการอ่านบทความเต็มๆ จริงๆ ขอให้ตามไปอ่านได้ที่

 

http://www.onopen.com/2007/02/1904

 

บทความชื่อ "เหา หมา กอริลล่อย" มีทั้งหมด 3 ตอน ธีมที่เขียนคือ ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีที่มา มีเรื่องราวน่าสนใจนอกเหนือจากที่มา 7-Eleven อีกเยอะแยะมากมาย ไหนๆ มาแก้ไขชี้แจงแล้ว ก็ขออนุญาตโปรโมทไปด้วยในตัวเลยละกันนะครับ

ขอบคุณครับ


หมายเลขบันทึก: 127914เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2007 03:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะอาจารย์บัญชา

ด้วยความระลึกถึงยิ่งค่ะอาจารย์ และรู้สึกประทับใจในบันทึกนี้อย่างมาก   เพราะทำให้ได้เห็นจริงอีกครั้งว่า "การสื่อสาร" หลากสาร หลายครั้ง จากหลายแหล่ง (มาจากต่างทิศทาง  ต่างต้นกำเนิดสาร)  จะทำให้เราเข้าใจ "ที่มาที่ไป" หรืออย่างน้อยก็ "เข้าใกล้" ที่มาที่ไปแท้ๆของสิ่งนั้น หรือเรื่องนั้นๆมากขึ้น

.....และทำให้เรารู้เท่าทันการสื่อสารมากขึ้นด้วย....

ดิฉันกำลังสนใจเรื่องการ "ฉุกใจคิด" อย่างยิ่งค่ะอาจารย์  เด็กๆที่ราชภัฏที่ดิฉันอยู่  เรียนวิชา "การคิดและการตัดสินใจ"(Thinking and Decision Making) ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักคิด มีความคิดสร้างสรรค์ รู้ระเบียบวิธีการคิด เทคนิควิธีในการตัดสินใจและนำไปแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

ดิฉันนึกสนุกๆว่าบางทีก็ต้องฝึกเด็กๆให้เจอภาวะไร้ระเบียบบ่อยๆ  จะได้เรียนรู้การคิดและการตัดสินใจ และลงมือทำจริงอย่างมีคุณภาพในภาวะโกลาหลได้ 

แล้วก็นึกสนุกต่อไปว่า   แรกๆนั้นเมื่อมองอย่างเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง ห้องเรียน คือพื้นที่(หรือภาวะ)ที่ถูกจัดให้เข้าระเบียบ  ดังนั้นวิธีคิดต่างๆในห้องเรียน ก็ต้องเป็นระบบ ครบถ้วนตามระเบียบ  มีความรู้แบบ"เข้าแถว" มาให้อย่างเรียบร้อย จัดลำดับดูดี 

ดิฉันสงสัยว่าเรา   จะปลูกฝังเด็กๆให้จัดความรู้แบบเข้าแถวมานานเกินไป  แถมไม่ค่อยตอบคำถามที่เด็กสงสัย  แต่ฝึกให้ตอบตามวิชาที่ผู้ใหญ่จัดมาให้สงสัย : )  ความรู้แบบที่ใช้แก้ปัญหาชีวิตจึงมาเป็นลำดับท้ายๆ  (ความรู้แบบวิจัย) เพราะคิดว่าเด็กๆยังเล็กนัก 

แต่เมื่อเกิดการเรียนรู้  (ทางหนึ่งจากกระแสชุมชน ชาวบ้าน และปราชญ์ชาวบ้าน   นอกเหนือจากการค้นพบในการศึกษากระแสหลัก)  ว่าการฝึกแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem base) ดูจะได้ผลที่สุดในเวลานี้  จึงเป็นโชคดีอย่างมหาศาลของเด็กๆทั้งประถมและมัธยมที่ได้เรียนการทำโครงงาน  และได้ตั้งโจทย์เอง  แถมยังได้ฝึกการทำงานเป็นทีมอีกต่างหาก   ในเบื้องต้นคุณครูจะเหน็ดเหนื่อยสาหัสกว่าเดิมที่จะต้องฝึกตัวเองให้เป็นวิทยากรกระบวนการ   แต่คาดว่าเมื่อชินแล้วจะสนุกกว่าแบบเดิมเยอะ

เมื่อส่งไม้ต่อมือมาถึงอุดมศึกษา  หลายวิชาก็มีวิธีเรียนคล้ายกันนี้  ดิฉันก็เลยรู้สึกมีความหวังอย่างสนุกสนานว่าเมื่อเด็กๆได้เรียนรู้ระเบียบวิธีการคิดมาเป็นลำดับอย่างต่อเนื่องแล้วนี้   ก็ต้องแถมเรื่อง "ฉุกใจคิด " เข้าไปอีกเรื่อง    เพราะมีอีกหลายเรื่องในชีวิตที่เดินตามลำดับขั้นบันไดไม่ได้  และไม่มีคำตอบสำเร็จรูปอีกต่างหาก   เด็กๆต้องหาคำตอบเฉพาะตัวเอาเอง  และคำตอบเฉพาะตัวนั้น  ต้อง "คิดเอง คิดทัน คิดถูก  และทำถูก" ในแวบนั้นด้วย  จึงจะรอดพ้นผ่านภาวะโกลาหลนั้นไปได้เป็นช่วงๆ

ดิฉันจึงประทับใจบันทึก เขียนไว้..ให้ลูกอ่าน บันทึกนี้
ของอาจารย์มากนะคะ  เพราะจากหนังสือที่อาจารย์แนะนำ  เพียงข้อความเดียวที่อาจารย์เลือกมาเล่าให้ฟัง  ก็ทำให้ดิฉันได้คิด  และคิดต่อไปได้อีกตั้งหลายเรื่อง  และลงมือทำอย่างสบายใจไปตลอดชีพ : )

ขอบพระคุณอาจารย์บัญชามากๆอีกครั้งนะคะ 

  • ตามไปอ่านงานเต็มๆ ของคุณแทนไทแล้วคะอาจารย์
  • ขอชื่นชมนะคะ..ที่มีเกร็ดดีๆที่เป็นแง่คิดให้ผู้อ่านได้ต่อยอดความรู้ออกไปได้อีกด้วย..ขอบคุณคะ

สวัสดีครับ อาจารย์ดอกไม้ทะเล

         ยินดีที่บันทึกสั้นๆ บางอันเป็นประโยชน์นะครับ

ช่วงนี้ผมไม่ค่อยได้เข้ามาใน G2K เท่าไร เพราะกำลังซ่อม-ต่อเติมบ้านอยู่ วันนี้ต้องหยุดงานอีกแล้ว

         บล็อก เขียนไว้ให้ลูกอ่าน นี่ ผมยังมีประเด็นอีกจำนวนหนึ่ง ไว้จะหาโอกาสเขียนเพิ่มเติมครับ

สวัสดีครับ คุณ Naree

          ต้องขอบคุณคุณแทนไทเขานะครับ เป็นนักเขียนรุ่นใหม่ที่น่าจับตามากจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท