ย้อนรอยเส้นทาง PhD ของโอ๋-อโณ (18): ระบบการสอบวัดมาตรฐานของเด็กประถม


ในเรื่องราวที่เล่าไว้ใน เรื่องเล่า"ย้อนรอย PhDฯ" ในวารสารสายใยพยา-ธิของภาควิชาเรา ตอนนี้ยังคงต่อเนื่องเรื่องระบบการเรียนของเด็กประถมต่อ ชอบตรงวิธีการที่เขาดูแลความรู้สึกของเด็กๆ ไม่มีการเครียดจากการสอบ การจัดอันดับ การเปรียบเทียบ ทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียนรู้ตามวัยและศักยภาพของตัวเขาเอง ไม่เทียบกับใครๆ


การสอบวัดมาตรฐาน

สำหรับการสอบก็มีบ้างเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่เป็นการสอบวัดมาตรฐานของทั้งรัฐ โดยมีข้อสอบมาตรฐานจากส่วนกลางวัดความรู้เด็กๆ 4 ด้านคือ  Mathematics, Reading, Writing และ Spelling และไม่ได้สอบประจำทุกชั้น เขามีเป็นปีๆ เช่นบางปีก็วัดระดับ Year 4 บางปีก็ Year 3 บางปีก็ Year 7 อะไรแบบนั้น เวลาได้สอบก็จะโชคดีที่ได้รู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหนเมื่อเทียบกับเด็กทั้งรัฐ เพราะเขาจะส่งคะแนนกลับมาโดยบอกคะแนนที่สอบได้ เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของรัฐและ mean ของทั้งรัฐ คะแนนเลขกับ Spelling ของพี่วั้นน้องเหน่นนั้น นำโด่งอยู่แถวๆเกิน 95% ทุกครั้งที่มีการสอบ (อยู่มา 5-6 ปี สอบสักแค่ ไม่เกิน 5 ครั้ง ปีละครั้งเท่านั้นเองค่ะ เหลือเชื่อไหม) และเขาจะไม่มีการจัดลำดับที่อะไรเลย ทุกคนเรียนไปเรื่อยๆ คุณครูเขามีเกณฑ์ของเขาเอง แล้วก็ดูว่าเด็กคนไหนมีอะไรต้องเสริม เด็กๆก็เลยเรียนแบบไม่รู้ตัว เรียนสบายๆ สิ่งที่เขาเน้นจะเป็นเรื่องการเคารพกฎกับการอยู่ร่วมกับคนอื่นและการหาความรู้จากแหล่งต่างๆมากกว่าไม่ใช่เรื่องทฤษฎี รวมทั้งเรื่องรอบๆตัว

สำหรับวิชาการมีการสอบอีกอย่างที่เป็นการสอบของทั้งประเทศ จัดทำโดยมหาวิทยาลัย New South Wales มีวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์แยกกัน ใครอยากสอบต้องเสียตังค์สมัคร แล้วคุณครูก็จัดการสถานที่ให้ สอบแล้วโรงเรียนจะส่งผลกลับไปที่มหาวิทยาลัย แล้วสักเดือนก็ได้ผลกลับมา มีเฉลยด้วยเรียบร้อยบอกสถิติว่าข้อนั้นวัดความรู้เรื่องอะไร เด็กตอบว่าอะไร มีคนตอบข้อไหนกี่คน ฯลฯ เด็กได้คะแนนเทียบกับ mean ทั้งประเทศเป็นเท่าไหร่ 

จะเห็นว่าระบบการเรียนของเค้าสบายมากเลยนะคะ ชั้นประถมนี่เด็กๆไม่ต้องแบกหนังสือมากมาย ในกระเป๋ามีแต่แฟ้มกับกระดาษ มีหนังสืออ่านเล่นๆกับหนังสือ Spelling การบ้านก็มีแต่ให้อ่านหนังสือ เสาร์อาทิตย์ก็ห้ามมีการบ้าน เขาให้เด็กพักผ่อน แต่ที่เห็นเด็กๆของเขาก็ฉลาดคิด โต้ตอบเก่ง อยากรู้อะไรก็มีหนังสือมากมายในห้องสมุดสารพัดเรื่อง เวลาเรียนเป็น theme เด็กๆก็จะไปหาหนังสืออ่านเอาเองเพิ่มเติม อย่างเรื่องอียิปต์โบราณ ไดโนเสาร์ ยานอวกาศ ฯลฯ เพราะฉะนั้นเขาจะรู้วิธีหาสิ่งที่ต้องการรู้มากกว่าการอัดๆความรู้เข้าไปหมดแบบบ้านเรา คงบอกยากนะคะว่าแบบไหนดีกว่ากัน ถ้าเด็กขยันช่างคิดก็คงดี แต่เด็กขี้เกียจก็คงไม่ค่อยได้อะไร แต่ระบบการศึกษาของเขาไม่เคยปิด ทำให้คนที่อยากกลับเข้ามาเรียนก็จะทำได้เสมอไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่


หมายเลขบันทึก: 126678เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 สิงหาคม 2014 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ พี่โอ๋-อโณ

  • อ่านบันทึกของพี่โอ๋แล้วอยากให้การศึกษาเมืองไทยทำได้อย่างนี้จังค่ะ  เด็กๆ คงมีความสุขน่าดูเลย......
  • แถวบ้านนอก....หากกระเป๋าไม่มีหนังสือ ถือว่า  จน ค่ะ  
  • เด็กบ้านนอก...ต่างจาก เด็กเมืองนอก น่าดูเลยนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ 

คุณครูหญ้าบัวลองแวะไปอ่านวิธีการที่คุณครูและโรงเรียนเขาทำให้เด็กอยากทำดีกันที่บันทึกนี้ด้วยไหมคะ เผื่อเอาไปปรับใช้กับเด็กๆ แล้วเขียนเล่าในบล็อกบ้างนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท