จิตตปัญญาเวชศึกษา 22: บำราศนราดูร คนไทยหัวใจพระโพธิสัตว์


บำราศนราดูร คนไทยหัวใจพระโพธิสัตว์

เมื่อวันพุธที่ 5 กันยายน ผมมีประชุมมูลนิธิชีวันตารักษ์ (Hospice Foundation of Thailand) ที่กระทรวงสาธารณสุขตอนเช้า เสร็จแล้วก็พากันไป KM กันที่โรงพยาบาลบำราศนราดูร ซึ่งอยู่ติดๆกับกระทรวงนั่นเอง เรียกว่าได้เปิดหูเปิดตาทีเดียว

คุณนำพล เลขาฯมูลนิธิ กรุณาติดต่อกับพี่เปี่ยมสุข ที่ รพ.บำราศนราดูร และได้จัดสรรเวลามาสนทนาแลกเปลี่ยนกันกับสมาชิกมูลนิธิ พี่เปี่ยมสุขพาทีมอันประกอบด้วยคุณทองดี พยาบาล และเจ้าหน้าที่จิตวิทยา และทีมของบำราศฯมาให้ความรู้แก่พวกเรา

รพ.บำราศนราดูร ให้การดูแลผป. HIV infection หรือผู้ป่วยโรค AIDS มานานนับสิบๆปีแล้วตังแต่เริ่มแรก ตั้งแต่สมัยที่เรายังไม่มียา anti-viral เลย จนปัจจุบันที่มียาหลากหลายแขนง คนไข้ AIDS ไม่เพียงแต่ต้องประสบกับสภาวะโรคที่ขาดภูมิคุ้มกัน ยังต้องเจอปัญหาในมิติอื่นๆ ได้แก่ จิตสังคม และจิตวิญญาณด้วย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

และยังมีกลุ่มคนไข้เด็ก ที่ติดเชื้อมาจากมารดา เป็นคนไข้ที่เรียกว่าไร้เดียงสา แต่รับโรคมาโดยชะตากรรม ตั้งแต่ตนเองยังไม่รู้เดียงสา ไม่รู้เรื่องราว ยังพูดไม่ได้เสียด้วยซ้ำ กินยาทุกวัน จนโต ได้เรียนหนังสือ และพยาบาล หมอ เจ้าหน้าที่จิตวิทยาที่บำราศฯก็ต้อง breaking the bad news ว่าเด็กเองเป็นโรคอะไร และจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานนัก เพราะอะไร เป็นประเด็นปัญหาที่ทีม staff ของบำราศนราดูร เผชิญ ดูแล และเยียวยาทุกวัน

ในสภาพปัญหาที่ดูเหมือนจะหาทางออกยากเย็น สิ่งที่เราได้พบอบ่างหนึ่งก็คือ ความมุ่งมั่น และน้ำใจของทีมพี่เปี่ยมสุข เรื่องราวที่เล่า บรรยายโดยคุณพี่ทองดี น้องนักจิตวิทยา (ขออภัย จำชื่อไม่ได้) พี่เปี่ยมสุขยังพาพวกเราไปเจอกับทีมอาสาสมัคร ที่เป็น survivor มาได้ 16 ปีแล้ว ยัง active ขยันขันแข็ง และดูๆจะมีสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วๆไปเสียด้วยซ้ำ อาสาสมัครคนขยันของพี่เปี่ยมสุขบอกว่า ติดอารมณ์นี้มาจากการอุทิศตนของพี่เปี่ยมสุข และทีมงาน และเธอเชื่อว่า ที่ CD4 (เม็ดเลือดขาวที่เป็นเหยื่อถูกทำลายจาก virus AIDS) ของเธอขึ้นมาปกตินี่ ก็เพราะส่วนหนึ่งจากสภาวะจิตแห่งการเป็นผู้ให้ ให้ ให้ ทุกวันที่มาช่วยงานที่บำราศนราดูรนี่เอง

หลายคนในสาธารณสุข และโรงเรียนแพทย์ ได้ไปดูงานที่ไต้หวัน รพ.ฉือจี้ ทีทำงานด้วยใจรัก ด้วยใจที่ให้ เสมือนพระโพธิสัตว์ ผมคิดว่าที่บำราศนราดูร และอีกหลายๆที่ในเมืองไทย เช่น วัดพระบาทน้ำพุ ของหลวงพี่อลงกต หรือวัดคำประมง ของหลวงตา ที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ที่สกลนคร เราก็พอจะหา model คนไทย หัวใจพระโพธิสัตว์ได้ ไม่ยากจนเกิดไป ปัญญาของแพทย์ ของพยาบาล นั้น คงจะต้องดูที่ action field มากกว่าศึกษาจากตำรับ ตำรา

ณ ข้างกายคนไข้ผู้กำลังทุกข์ทรมาน ณ ข้างกาย อาสาสมัครผู้กำลังให้โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนือย จึงจะเป็นแปลงเพาะปลูกซึ่งจิตวิญญาณแห่งวิชาชีพได้ดีที่สุด

อนุโมทนาในงานของพี่เปี่ยมสุข และทีม และโรงพยาบาลบำราศนราดูร ด้วยคนครับ

คำสำคัญ (Tags): #บำราศนราดูร#aids
หมายเลขบันทึก: 126129เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2007 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 17:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท