อ้วนเร็วผอมเร็ว อาจเสี่ยงซึมเศร้า


ผลการศึกษาพบว่า โรคที่ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ที่สุดได้แก่ เบาหวานกับโรคซึมเศร้า

ท่านอาจารย์สมนาถ ชัตเตอจี (Somnath Chatterji) และคณะ แห่งองค์การอนามัยโลกทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 240,000 คนจากประเทศต่างๆ 60 ประเทศ

ผลการสำรวจพบว่า โรคที่คนทั่วโลกเป็นกันบ่อยมากได้แก่ โรคซึมเศร้า เส้นเลือดหัวใจอุดตัน ข้ออักเสบ เบาหวาน และหอบหืด

เมื่อขอให้กลุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตว่า เป็นโรคอะไรทำให้คุณภาพแย่ที่สุด

ผลการศึกษาพบว่า โรคที่ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ที่สุดได้แก่ เบาหวานกับโรคซึมเศร้า

พวกเราคงจะคิดว่า คนทั่วโลกเป็นโรคซึมเศร้ากันน้อย ทว่า... ท่านอาจารย์สมนาถและคณะพบว่า คนทั่วโลกเป็นโรคซึมเศร้ากันถึงร้อยละ 9-23

ข่าวดีคือ โรคซึมเศร้าส่วนใหญ่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาค่อนข้างดี ข่าวร้ายคือ คนที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่ค่อยรู้ว่า ตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า หลายคนเป็นแล้วก็ไม่ยอมรักษา

โรงพยาบาลคุณภาพแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปางมีแบบทอสอบให้เจ้าหน้าที่ทำแบบทดสอบว่า เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าหรือไม่ ปรากฏว่า คุณหมอใหญ่หมอน้อยเป็นโรคซึมเศร้ากันมากกว่าที่คิด

พวกเราที่รู้สึกหดหู่บ่อย น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากในเวลาสั้นๆ รู้สึกว่าชีวิตไม่ค่อยมีค่า สมาธิหดหายไปเรื่อยๆ น่าจะลองปรึกษาโรงพยาบาลใกล้บ้าน ขอทำแบบทดสอบความเสี่ยงโรคซึมเศร้าดู

กรมสุขภาพจิตแนะนำให้สังเกตสัญญาณอันตรายของโรคซึมเศร้า 12 ข้อได้แก่

  1. รู้สึกหมดหวัง หมดกำลังใจ
  2. เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลดลงมากกว่า 5% ใน 1 เดือน หรือทานอาหารมากกว่าปกติ
  3. นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ
  4. รู้สึกกังวล กระสับกระส่าย กระวนกระวาย
  5. รู้สึกเบื่อ หรือสนใจน้อยลงในกิจกรรมที่เคยชอบ
  6. มองโลกแง่ร้าย หงุดหงิด รำคาญ อารมณ์เสียง่ายกับคนรอบข้าง
  7. ความต้องการทางเพศลดลง
  8. อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
  9. รู้สึกตนเองล้มเหลว ไร้ค่า หรือรู้สึกผิด
  10. สมาธิลด ความจำไม่ดี
  11. มีอาการเหมือนป่วยทางกายเรื้อรัง โดยหาสาเหตุไม่พบ เช่น ปวดหัว ปวดเรื้อรังตามที่ต่างๆ ฯลฯ
  12. คิดอยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย

ถ้ามีอาการ 5 ข้อจาก 12 ข้อนี้นานตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป... ท่านว่า เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่าน หรือจิตแพทย์

เพราะโรคซึมเศร้าตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามากทีเดียว

 

ทีนี้ถ้าไม่เป็นโรคซึมเศร้า... การทำตัวให้มีคุณค่าเป็นประจำ เช่น บริจาคเลือด ออกกำลัง ใส่ใจสุขภาพ ฯลฯ มีส่วนช่วยป้องกันชีวิต "เศร้าๆ แบบเซ็งๆ" ได้เช่นกัน...

<p>ข่าวประกาศ...                                                  </p>

ข่าวประกาศ...                                                  

  • ผู้เขียนจำเป็นต้องปิดส่วนแสดงความคิดเห็นไปพลางก่อน เนื่องจากไม่มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงใช้
  • ตอนนี้ผู้เขียนต้องขับรถไปขอใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วต่ำที่โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี (ADSL เหมือนกัน แต่เส้นเดียวแบ่งใช้ทั้งโรงพยาบาล) ห่างออกไปคราวละ 7 กิโลเมตร
  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" มีนโยบายที่จะไม่ตอบปัญหาสุขภาพ เนื่องจากผู้เขียนมีงานมาก อินเตอร์เน็ตลำปางช้า+หลุดบ่อย และใช้เวลาเตรียมเขียนเรื่องใหม่+แก้ไขคำหลัก (keywords) ย้อนหลัง

ขอแนะนำ...                                                    

    แหล่งที่มา:                                      

</span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></font></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></font></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span><ul>

  • Many thanks to BBC > Depression leads to worst health > [ Click ] > September 7, 2007.
  • Many thanks to Reuters > MIchael Kahn > Depression more damaging than some chronic illness > [ Click ] > September 6, 2007.
  • ขอขอบพระคุณ > แกะรอย 12 สัญญาณอันตรายก่อนถึงนาที "ปลิดชีวิต" > ไทยรัฐ. 11 กันยายน 2550. หน้า 15.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สำหรับการเอื้อเฟื้อทุกสิ่งทุกอย่างในการประชุม km เชียงใหม่ > 13-15 สิงหาคม 2550.
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ และทีม IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 7 กันยายน 2550 > 10 กันยายน 2550.
  • </ul>

    หมายเลขบันทึก: 126068เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2007 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท