จุดเริ่มต้น CoP คณะวิทยาศาสตร์ (2) หลังการพูดคุย เริ่มมีความชัดเจนขึ้น


เราคงไม่มองเฉพาะจำนวนผู้ที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ นับเฉพาะหัวข้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพียงเพื่อให้ผ่านตัวชี้วัดของ ก.พ.ร.เท่านั้น แต่เราควรให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพ หรือ เรื่องคุณค่า ของสิ่งที่เราถ่ายทอดด้วย

บรรยากาศในการพูดคุยเริ่มต้นแบบสบาย ๆ เพราะทุกท่านที่มาในวันนี้ มีความตั้งใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

 เริ่มจาก

  •  รศ.ดร.นงเยาว์  สว่างเจริญ  ท่านรองคณบดีฝ่ายบริหาร CKO คณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวทักทายที่ประชุม พร้อมทั้งขอบคุณที่ทุกท่านเสียสละเวลามาในวันนี้   พร้อมกันนี้ได้กล่าวชี้แจง ให้ที่ประชุมทราบถึง ความเป็นมา วัตถุประสงค์ และความคาดหวัง ของการประชุมในครั้งนี้  สิ่งที่คาดหวังคือ จากการประชุมในวันนี้ คณะฯ คงจะได้ผู้ประสานงานหลัก เพื่อเป็นแกนนำในการจัดตั้ง CoP

           คณะฯ คาดหวังว่าการมีกลุ่ม CoP นี้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรมีการนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ซึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ อาจจะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหน่วยงาน, ระหว่างหน่วยงาน ทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ก็ได้  ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยได้จัดช่องทางในการร่วมแสดงความคิดเห็น นั่นคือผ่านทาง  share.psu.ac.th

           คณะฯ คาดหวังลึก ๆ ว่า เมื่อกลุ่มได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไประดับหนึ่งแล้ว มีการบอกเล่า ถ่ายทอดประสบการณ์ และมีการร่วมแสดงความคิดเห็น ผ่านทางพื้นที่ที่ได้มีการจัดสรรไว้แล้ว ท้ายสุดจะเกิดคลังความรู้ในเรื่องนั้น ๆ

 

           ก่อนที่จะลงรายละเอียดของการพูดคุย ดร.วิภาดา  เวทย์ประสิทธิ์  ได้ชวนคุยในเรื่องชุมชนแนวปฏิบัติ และบทบาทของคุณอำนวย

          โดย ดร.วิภาดา  ได้เกริ่นนำให้รู้จักถึงเครื่องมือ KM แต่ละตัว  ซึ่ง CoP ถือเป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง  ทั้งนี้ในการรวมกลุ่มกันของ CoP อาจจะรวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ หรือโดยสมัครใจก็ได้  ทั้งนี้ต้องมีความสนใจในเรื่องเดียวกัน

         นอกจากนี้ ดร.วิภาดา ยังได้ให้ข้อคิดว่า ในการรวมกลุ่มกันของ CoP นั้น เราไม่คาดหวังว่า คนที่เข้าร่วมจะต้องเป็นคนทั้ง 100% ขององค์กร  เพียงแค่มีแกนนำหลัก 5%  มีคนเข้ามา post กระทู้บ้าง 15%   ส่วนที่เหลือ อาจจะเพียงเข้ามาแวะเวียน อ่าน ดู แต่ไม่ได้แสดงความเห็น 

          แต่สิ่งหนึ่งที่จะทำให้ CoP นี้ เกิดขึ้นได้นั่นคือ ความยั่งยืน ความสม่ำเสมอ  ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญ คือ คุณอำนวย หรือ คุณ Fa ของเรานั่นเอง  ทั้งนี้ คุณอำนวย จะต้องทำหน้าที่ช่วยเหลือ นำทาง แต่มิใช่ควบคุม โดยท่านได้สรุปให้เห็นถึงทักษะที่จำเป็นของคุณอำนวย  ดังนี้
 
 กระตุ้นความคิด การสร้างบรรยากาศ  การนำการอภิปราย  การใช้คำถาม  การฟัง  การจับประเด็น สังเกต อ่านพฤติกรรมของผู้ร่วมประชุม ให้ข้อมูลย้อนกลับ สรุปความคิด การประนีประนอมแก้ไขข้อขัดแย้ง  ควบคุมการประชุมให้ดำเนินไปตามขั้นตอน

 ต่อจากนั้น คุณไพบูลย์  เตียวจำเริญ  หัวหน้าหน่วยสารบรรณ ผู้ซึ่งได้เข้าไปมีส่วนร่วมใน CoP สารบรรณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ได้มาเล่าให้ที่ประชุมทราบถึง ความเป็นมา เป็นไป กิจกรรมของชุมชนที่ได้มีการดำเนินการไปแล้ว ตลอดจนสิ่งที่คุณไพบูลย์ ได้รับจากการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนี้

 สิ่งหนึ่งที่คุณไพบูลย์ เล่า สะท้อนให้เราเห็นว่า ในการตั้ง CoP ต่าง ๆ นั้น  ถ้าขนาดของกลุ่มมีจำนวนเทอะทะมากเกินไป สุดท้ายในการรวมกลุ่มเพื่อนัดหมายทำกิจกรรมอะไรก็ตาม การมีส่วนร่วมก็จะทำได้ไม่เต็มที่  

 และในการทำกิจกรรมของกลุ่มแต่ละครั้ง บางครั้งหัวข้อที่ได้จากการพูดคุย หากใครมีปัญหา หรือคำถามอะไร จะเป็นลักษณะโยนคำถามเข้า ฟลอร์ แล้วที่ประชุมช่วยกันหาวิธีการที่ดีในเรื่องนั้น ๆ

 สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากการเข้าร่วมกลุ่ม CoP นี้ ผลที่ได้โดยตรงที่เกิดขึ้นกับตัวเองคือ  ได้เพื่อนร่วมงานเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีความกล้ามากขึ้นเวลาจะโทรปรึกษา หรือ ขอความเห็นในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับงาน  ซึ่งทุกคนก็จะเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกันในระดับหนึ่ง

 สิ่งที่เกิดผลต่องาน นั่นคือ  ถึงแม้จะเสร็จสิ้นกิจกรรมในแต่ละครั้งแล้ว  ก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทาง m2m  ในสิ่งที่ต่างฝ่ายต่างสนใจกันเป็นพิเศษ  มีการติดต่อมาเพื่อขอดูงาน และเรียนรู้งานกันมากขึ้น

 สิ่งที่คุณไพบูลย์เล่าให้ฟังนี้  ดิฉันคิดว่า ผู้เข้าร่วมประชุมในวันนั้น คงจะเห็นภาพของ CoP ชัดขึ้น

 หลังจากที่ดิฉันได้แนะนำให้ที่ประชุมได้รู้จักช่องทางในการที่เราจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็น

  •  ผ่านทางเวทีชุมชนใน ม.อ.
  •  ผ่านทางชุมชนบล็อกชาว ม.อ.
  •  ผ่านทางรวมบล็อกคนคณะวิทย์ ม.อ.
  •  และสุดท้าย นั่นคือ ผ่านทาง share.psu.ac.th

  ที่ประชุมได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ในการที่จะให้การกลุ่ม CoP ถ่ายทอดความรู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ นั้น เกิดประโยชน์สูงสุด
 มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

 ในการที่กลุ่ม CoP ต่าง ๆ จะเปิดบล็อก เพื่อถ่ายทอดความรู้ คนที่มีหน้าที่เขียนบันทึก จะต้องเป็นคนที่ทางกลุ่มมอบหมาย ซึ่งควรจะมี login พิเศษ สำหรับกลุ่ม CoP แต่ละกลุ่ม และข้อความซึ่งเกิดจากการพูดคุย หรือสิ่งที่ได้จากการประชุม ก่อนที่จะถ่ายทอดจะต้องผ่านการกรั่นกรองจากผู้ดูแล CoP นั้น ๆ และหากความรู้ใด ที่เกี่ยวข้องกับกฎ ระเบียบ แนวปฎิบัติ  ควรจะให้ผู้เกี่ยวข้อง/ผู้เชี่ยวชาญ ในเรื่องนั้น ๆ ได้ตรวจสอบก่อน เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งที่เราถ่ายทอด


 เราคงไม่มองเฉพาะจำนวนผู้ที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  หรือ นับเฉพาะหัวข้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพียงเพื่อให้ผ่านตัวชี้วัดของ ก.พ.ร.เท่านั้น  แต่เราควรให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพ หรือ เรื่องคุณค่า ของสิ่งที่เราถ่ายทอดด้วย


 และเพื่อให้ความรู้ที่เราถ่ายทอดนั้น ถูกค้นเจอได้ง่าย สิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรละเลยคือ การกำหนดคำหลัก หรือป้ายคำหลัก นั่นเอง
 
 ท้ายสุดของการพูดคุยในวันนั้น  คณะวิทยาศาสตร์ ได้ผู้ประสานหลักในการจัดตั้ง CoP คณะวิทยาศาสตร์ ดังนี้


1. ชมรมรักษ์สุขภาพ       
 ที่ปรึกษากลุ่ม   ผศ.นพ.วีรวัฒน์  มหัทธนตระกูล

2. CoP กลุ่มสำนักงานภาควิชา 
 แกนนำกลุ่ม    คุณรำไพ  จูฑาพร,คุณ มยุรี ราชยอด  และคุณสุดาวดี  โรจน์ศิริมนตรี
 

3. CoP เสาะหาข้อมูลประกันคุณภาพ
 ที่ปรึกษากลุ่ม   ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ
 แกนนำกลุ่ม     คุณเจนวดี  หิรัญรัตน์


4. CoP คลีนิคคอมฯ  
 ที่ปรึกษากลุ่ม   ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ
 แกนนำกลุ่ม ตัวแทนจากหน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

6. CoP พัสดุ  
 แกนนำกลุ่ม   คุณกาญจนา  สิงห์โต

7. ชมรมจรรโลงจิตใจ 
 แกนนำกลุ่ม  คุณสุธิดา  คุ่มเคี่ยม

            จากการพูดคุยกันในวันนั้น ดิฉันได้ข้อสรุปด้วยตัวเองว่า รูปแบบของ CoP คณะวิทยาศาสตร์ ในเบื้องต้นนั้น เป็นแบบจัดตั้งโดยความสมัครใจ

           ในฐานะผู้ที่ทำหน้าที่ประสานงานในเรื่องนี้ แอบหวังเล็ก ๆ ว่า ชาวคณะวิทยาศาสตร์ คงจะสมัครใจเข้าร่วมเป็นสมาชิก CoP กลุ่มต่าง ๆ ตามความสนใจ และท้ายสุด เกิด CoP กลุ่มต่าง ๆ เพิ่มขึ้น โดยความสมัครใจของท่านเอง

       ท่าน CKO ของเรา ท่านรับปากแล้วว่า สิ่งใดที่อยากให้คณะช่วยเหลือ เรายินดี  และท่านพร้อมที่จะอยู่เคียงข้าง และเป็นกำลังใจให้พวกเราทุกคน

     มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดประสบการณ์ร่วมกันเถอะคะ

หมายเลขบันทึก: 125540เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2007 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ถ้าต่อเนื่องและยั่งยืนจะดีมากเลยครับ
  • วันก่อนน้องแอบไปดูแล้ว
  • อาจารย์บางท่านเขียนได้ดีมากๆๆ
  • ขอบอก
  • มาให้กำลังใจครับ
  • ตามมาขอบคุณครับผม
  • ช่วงนี้งานยุ่งไหมครับ
  • คิดถึงหลานน้อย
  • ตัวใหญ่ๆๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท