บันทึกบริหาร 7: การให้โอกาส ความสุขของผู้บริหาร


จนถึงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก็นับเวลาที่อยู่ในตำแหน่งหัวหน้าภาควิชามาครบ 3 ปีเต็ม มีอะไรหลายๆ อย่างเกิดขึ้น และ หลายอย่างเหล่านี้  ทำให้เกิดความรู้สึกหลายๆ แบบ ปะปนกันไปตลอดเวลา

แต่เรื่องที่ทำให้รู้สึกมีความสุข และ รู้สึกชอบมากๆ ในการทำงานช่วง 3 ปีที่ผ่านมา คือการได้ให้โอกาสกับคนทำงาน..

ให้โอกาสเขาได้แสดงศักยภาพตนเองออกมา
ให้โอกาสเขาได้พัฒนาตนเอง
ให้โอกาสเขาได้สร้างผลงาน และ
ให้โอกาสเขาได้เผยแพร่ผลงานสู่สายตาสาธารณะ

เรื่องนี้รู้สึกมานานแล้ว แต่มันอยู่ในใจ ขอบคุณคุณโอ๋ที่กระตุกให้ได้ขุดเรื่องนี้มาเขียนบันทึก (หลังจากห่างหายจากบันทึกไปหลายวัน)

แต่การให้โอกาสอย่างเดียวนั้น ไม่เพียงพอ หากคำว่า ให้โอกาส คือการเพียงแค่อนุญาต  บอกข่าว หรือ เพียงกระจายโอกาสที่ลอยมาจากที่อื่นให้พวกเขา

แต่ต้องเป็นการให้โอกาสเชิงรุก หรือถึงขั้นที่จะต้อง “สร้างโอกาส” ให้เกิดขึ้นเองไปเลยในบางเรื่อง รวมไปถึงการสนับสนุนอย่างจริงจังให้เขาได้ใช้โอกาสนั้นด้วย

ตัวอย่างที่รูปธรรมที่ทำมา  คือการ “สร้าง” เวทีโครงการพัฒนางาน “Patho OTOP” ให้เกิดขึ้นในภาควิชาฯ และสนับสนุนจนกระทั่งเขาได้นำผลงานไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ  รวมทั้งได้รับรางวัลแห่งคุณค่ามาด้วย (ดังในบันทึกนี้)

หรืออีกตัวอย่างที่ได้ทำ คือเวทีใน “วารสารสายใยพยา-ธิ” วารสารของภาควิชา  ที่เป็นโอกาสให้หลายคนที่ไม่เคยเขียน ก็ได้เขียน หรือไม่เคยคิดเคยฝันว่าจะมีบทความตนเองในวารสาร ก็ได้มี  ดังที่คุณโอ๋เขียนไว้ในบันทึกนี้ 

การทำงานบริหารที่ผ่านมา ไม่ว่าคนอื่นจะมองว่าอย่างไร  มี หรือ ไม่มีผลงาน  ดี หรือ ไม่ดี  ก็ไม่เป็นไร...  
แต่ การได้สร้างและให้โอกาสคนทำงาน เป็นสิ่งที่ตนเองพอใจมากที่สุด และ ถือว่าบรรลุจุดมุ่งหมายหลัก ที่เข้ามาได้รับตำแหน่งนี้

 

หมายเลขบันทึก: 125389เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2007 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

 เข้ามาให้กำลังใจอาจารย์ค่ะ

 

  • การให้โอกาสเป็นเพียงการให้ตั๋วดูบอลเท่านั้นครับ เมื่อมีตั๋วแล้วจะเข้าไปดูบอลหรือเปล่า เป็นอีกเรื่อง เพียงแต่ถือได้ว่ามีใบผ่านทางในขณะที่อีกหลายๆคนต้องเข้าคิวรอซื้อตั๋ว  ส่วนผู้ที่ได้ตั๋วจะเข้าไปดูบอลหรือเปล่า คงขึ้นกับความชอบส่วนตัว ว่าชอบดูบอลมั้ย หรือสนใจบอลคู่ที่จะแข่งหรือเปล่า
  • น้ำหนักในเรื่องนี้ จึงขี้นกับเจ้าตัวครับ ที่จะใช้ตั๋วใบนั้นให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเองหรือไม่ หรือจะปล่อยทิ้งไปให้เป็นกระดาษเปล่า
  • ใน Otop 3 เราเตรียมคุณฟาที่มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยมาพอสมควร เพื่อให้คำแนะนำ ในการทำโครงการให้ออกมาในรูปแบบของงานวิจัย ที่สามารถส่งตีพิมพ์ได้ ดังนั้นน่าเสียดายครับ หากจะปล่อยให้เรื่องราวที่อยากทำ เป็นเพียงเรื่องราวเล็กๆที่อยากจะทำต่อไป โดยไม่ขยายเรื่องราวให้ใหญ่ขึ้น มีบทพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ มีการวิเคราะห์ผลทางสถิติที่น่าเชื่อถือ แล้วนำผลสรุปไปเขียนเผยแพร่เป็นเรื่องราวที่ตีพิมพ์ให้เป็นประโยชน์ต่อบุคคลอื่นต่อไป ผลพลอยได้จากการทำงานเชิงวิจัยนี้ จะเป็นผลงานของเจ้าตัวที่สามารถนำไปใช้ในการขอตำแหน่งชำนาญการได้

ยกมือเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณไมโตค่ะว่า "น้ำหนักในเรื่องนี้ ขึ้นกับเจ้าตัว"   การให้โอกาส หาก เขาไม่รับ ก็เหมือนตบมือข้างเดียว  

อาจารย์คะ

เห็นด้วยกับพี่ไมโตค่ะ

โอกาส เป็นสิ่งที่ทุกคนแสวงหา 

แต่บางครั้ง โอกาส มาถึงแต่ว่า บางคนก็ไม่ยอมคว้าโอกาสนั้นไว้ค่ะ

การบริหารจัดการสมัยใหม่มีอะไรให้เราเข้าไปเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองมากมาย  แต่ก็มีบุคลากรหลายรายที่ปฏิเสธโอกาสเช่นนั้น

อาจารย์อาจจะต้องหา โอกาส ที่จะกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และเปิดใจอีกเยอะแน่นอนค่ะ

เชียร์ ๆ ๆ  (เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของพยาธิ...อิอิอิ)

คุณสมพร  ขอบคุณค่ะ สำหรับความเห็น และ กำลังใจที่มีให้กับชาวพยา-ธิ มอ.  

คนเรามีหลากหลาย ตรงนี้รับทราบตลอดเวลา และคิดว่า เข้าใจสำหรับคนที่ปฏิเสธโอกาส  เขาก็คงมีเหตุผลของเขา  หน้าที่เรา คือ ทำสิ่งที่อยากทำให้ดีที่สุด เต็มที่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ แค่นี้ ก็ OK และ มีความสุขแล้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท