การสร้างจิตสำนึกบุคลากร


หลักธรรมตามรอยพระยุคลบาท 10 ประการ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หน่วยที่ 2       การสร้างจิตสำนึกบุคลากร 1. ท่านได้นำพระบรมราโชวาทในเรื่องใดไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน และนำไปใช้ อย่างไรบ้าง หนังสือเป็นออมสิน
 หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
วันที่
25 พฤศจิกายน 2514การนำไปใช้                การดูแลงานห้องสมุดประชาชนที่อยู่ในความรับผิดชอบตั้งแต่เริ่มบรรจุ ปี 2527 จนถึงปัจจุบันนี้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่ชอบการอ่านหนังสือ ชอบเข้าห้องสมุด และพัฒนางานห้องสมุดให้เสมือนหนึ่งเป็นห้องสมุดออมสินที่มีทุกสิ่งทุกอย่างให้เรียนรู้ ดั่งเช่นพระบรมราโชวาทข้างต้น2. ท่านมีแนวทางในการปฏิบัติตนเองอย่างไร ในเรื่องต่อไปนี้ ขอให้รวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปเป็นกรณีตัวอย่าง                2.1 รู้จักตน : การรู้จักตน (Self awareness) คือ การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจน การรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง” 
                                         การรู้จักตน (อัตตัญญุตา) หมายถึง การพิจารณาเข้าใจตนเอง ได้แก่ การรู้จักฐานะที่ตนเองเป็นอยู่ การประพฤติตนให้เหมาะสมกับฐานะของตน การปฏิบัติหน้าที่เหมาะสมกับตำแหน่งของตนไม่ก้าวก่ายสิทธิและหน้าที่ของผู้อื่น” 
                2.2 รู้จักคน : องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนหลักการของคุณธรรมไว้หลายเรื่อง ที่จะช่วย ให้เป็น หัวหน้าคนที่นั้นทางพระพุทธศาสนาให้ประพฤติปฏับัติในหลักธรรมที่เรียกว่า พละ ๔ อันได้แก่
      ๑ พละปัญญา คือ ความฉลาด รอบรู้หน้าที่ดีจะต้องมีความรอบรู้ ซึ่งความรูในที่นี้ คงเป็นเรื่องของการรู้จักตน รู้จักคนรู้จักงาน
      - รู้จักตน คือ การที่หัวหน้าจะต้องรู้จักรจุดเด่นและจุดด้อยของตนเอง การรู้จักจุดเด่น จะส่วนช่วยตน นำจุดเด่นนั้นมาพัฒนาในงาน เมื่อทราบจุดด้อนก็นำมาปรับปรุงแก้ไข
      -  รู้จักคน หัวหน้าควรรู้ว่าลูกน้องของตนใครมีความสามารถด้านใด จะได้ใช้ให้ถูกงาน(Put the right man in the right job)
      -   รู้จักงาน คือ ความรอบู้ในงานและหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ
      ๒ วิริยพละ  คือ ความขยันหมั่นเพียรหัวหน้าควรขยันทำงานเพื่อเป็นตัวอย่าง ที่ดีให้กับ ลูกน้อง ไม่ควรแสดงความท้อแท้ควรแสดงให้เห็นว่าตนเองนั้นทุ่มเทในการทำงานอย่างจริงจัง
      ๓  อนวัชชพละ ความซื่อสัตย์ในการทำงาน หัวหน้างานควรปฏิบัติงานด้วยซื่อสัตย์สุจริต ไม่ควรทำงานแบบนอกลู่นอกทาง มุ่งประโยชน์ส่วนตัว ชีวิตคนเราเป็นเหมือนเรือหรือนาวา ชีวิต ที่แล่นไปในท้องมหาสมุทร เรือล่มอัปบางก่อนถึงจุดหมาย รู้รั่วให้น้ำทะเลไหลเข้าสู่ข้างใน เรือจะจมอย่างรวดเร็ว เหมือนหัวหน้าหลายที่เสียอนาคตเพราะถูกจับได้ว่าทุจริต
      ๔  สังคพละ คือความมีมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้บรรยากาศในการทำงานดี เรียกได้ว่าเป็นศิลปในการผูกใจคนเลยที่เดียว ซึ่งมีอยู่ ๔ ประการคือ
      - ทาน หมายถึงการให้คือ การมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่แก่ผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา อันได้แก่ อามิสทาน (ให้เงินทองหรือสิ่งของตามสมควร) วิทยาทาน (ให้ความรูการแนะนำ)  อัยทาน (ให้อภัยไม่อาฆาต ไม่จองเวร )
      - ปิยวาจา หมายถึงการพูดจาไพเราะอ่อนหวาน คือ การผูกใจด้วยการพูด ไม่พูจาเสียดสี หยาบคายโป้ปด หรือพูดสิ่งที่ทำให้คนอื่นไม่สบายใจ ถึงคราวจะต้องตำหนิก็ต้องตำหนิตักเตือน ด้วยความเมตตาและหวังดีอย่างแท้จริง
      - อัตถจริยา หมายถึง การทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น ช่วยเหลือตามป่วยไข้ ไปร่วมงานในโอกาสต่างๆ เป็นธุระเท่าจะทำได้ ไม่ใช่เห็นแก่ประโยชน์ ส่วนตัวทำเพื่อเองไปทั้งหมด หัวหน้าที่ดีจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ขององค์กร และลูกน้องก่อน เสมอ
      - สมานัตตตา หมายถึง การวางตนสม่ำเสมอ (วางตน พอดี) ไม่ทอดทิ้งเพื่อนร่วมงาน ทั้งหลาย ร่วมทุกข์รวมสุข กล้ารับผิดชอบ เพราะมีหัวหน้าบางคนรับแต่ชอบไม่กล้ารับผิด หน้า ที่ดีต้องปกป้องลูกน้องทำนองเพื่อนตาย ไม่ใช่ หนีเอาตัวรอด
      จะเห็นได้ว่าธรรมที่เรียกว่า พละ ๔ เป็นธรรมที่กำกับพฤติกรรมภายนอกที่แสดง ออกมา จากความรู้สึกที่แท้จริง ซึ่งเรียกว่าหัวหน้างานจะต้องพรหมวิหารประกอบด้วย ซึ้งมี ๔ ประการ คือ
      ๑ เมตตา ได้แก่ความรัก ความหวังดี ปรารถนาจะให้เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับ บัญชา และผู้เกี่ยวข้องมีความสุขสะดวกในการทำงาน รู้จักมองโลกในแง่ดี มองส่วนดีของ ผู้ร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อถึงคราวตำหนิก็ควรตำหนิด้วยความเมตตา ชี้ให้เขาเห็นถูก ผิด จะหยิบยื่นอะไรให้ก็ควรทำให้ด้วยความเมตตา
      ๒ กรุณา ได้แก่ ความสงสาร ความเห็นอกเห็นใจ ผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา หัวหน้า งานจะต้องเปิดใจกว้างรับฟังปัญหาของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งความกรุณาปราณีนั้นจะต้องอยู่ใน พื้นฐานเหตุผล
      ๓ มุทิตา ได้แก่ ความพลอยรู้สึกชื่อชมยินดีเมื่อเพื่อนร่วมงานหรือ ผู้ใต้บังคับบัญชา ได้ดิบได้ดี ไม่ควรอิจฉาลูกน้อง แต่ควรสนับสนุนเมื่อเขาได้ดี
      ๔ อุเบกขา ได้แก่ ความรู้สึกวางเฉยไม่มีความลำเอียง มีความยุติธรรมในการตันสินใจ อย่าเข้าข้างลูกน้องที่มีประโยชน์ต่อตน ควรมีความเป็นกลาง ไม่ควรอาฆาตจองเวร คือรู้จักให้ อภัยเมื่อเขาทำผิด ลงโทษแล้วก็แล้วกันไป
      จะเห็นได้ว่าการจะเป็นหัวหน้างานอย่างที่ลูกน้องต้องการนั้น คุณสามารถทำได้ตามหลัก ธรรมที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว คือสรุปให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้คือ
     ๑ คุณธรรม       ๒ มนุษยสัมพันธ์       ๓ ขยัน ซื่อสัตย์ในงาน
 3. ให้ท่านอภิปรายและยกตัวอย่างหลักธรรมที่ใช้ในการบริหารงาน
                หลักธรรมตามรอยพระยุคลบาท 10 ประการ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
              ปัจจุบันความเสื่อมโทรมทางด้านคุณธรรมจริยธรรมของคนในสังคมไทยมีมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวการณ์ดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นกับข้าราชการ ซึ่งเป็นเสมือนเสาหลักของสังคม ดังที่ปรากฏจากสถิติการกระทำความผิดวินัยของข้าราชการ และพฤติกรรมดังกล่าวปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนให้เห็นอยู่เป็นประจำ ความเชื่อถือศรัทธาของสังคมก็ลดลง เนื่องจากพฤติกรรมที่เป็นการทำลายตนเองของข้าราชการ บางรายก็ใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาประโยชน์ส่วนตนโดยมิชอบ  ให้อุดมการณ์ จิตสำนึกและศักดิ์ศรีของข้าราชการถูกทำลาย และหมดคุณค่าไปในที่สุด ไม่สามารถที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนในสังคมได้
              ดังนั้น การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ข้าราชการจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยยึดหลักธรรมตามรอยพระยุคลบาท 10 ประการ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นแบบอย่างในทุกด้าน มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต และเป็นเครื่องเตือนสติมิให้หลงระเริงไปกับสังคมวัตถุนิยมในปัจจุบัน  หลัก 10 ประการดังกล่าว สามารถนำไปใช้ได้กับประชาชนทุกคน ทุกอาชีพ พระองค์ท่านทรงประพฤติปฏิบัติให้พวกเราได้เห็นเป็นตัวอย่างเสมอมา ซึ่งหลัก 10 ประการ มีดังนี้ 
                1.  ทำงานอย่างผู้รู้จริง  และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์

                2.  มีความอดทน  มุ่งมั่น  ยึดธรรมะและความถูกต้อง
                3.  มีความอ่อนน้อมถ่อมตน  เรียบง่าย  และประหยัด
                4.  มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก
                5.  รับฟังความเห็นของผู้อื่น  เคารพความคิดที่แตกต่าง
                6.  มีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร
                7.  มีความสุจริตและความกตัญญู
                8.  พึ่งตนเอง  ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง
                9.  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
                10. รักประชาชน
 4. ให้ท่านยกกรณีตัวอย่าง บุคคล ที่ท่านชื่นชมศรัทธา จำนวน 1 ท่าน และบอกสิ่งที่ท่านประทับใจจนสามารถนำเป็นแบบอย่างในการบริหารงาน <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8"><div> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การทำงานให้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ คือสามารถในการใช้วิชาความรู้อย่างหนึ่ง สามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองประการนี้ต้องดำเนินคู่กันไป </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  และจำเป็นต้องกระทำด้วยความสุจริตกาย สุจริตใจ ด้วยความคิดความเห็นที่เป็นอิสระปราศจากอคติ และด้วยความถูกต้องตามเหตุตามผลด้วย จึงจะช่วยให้งานบรรลุจุดหมายและประโยชน์ที่พึงประสงค์โดยครบถ้วนแท้จริง </div></td></tr></tbody></table>                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชื่นชมและศรัทธา  สิ่งที่ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ประทับใจพระองค์ท่าน  5. ให้ท่านคิดคำขวัญในด้านการให้บริการที่ดีขององค์กรของท่านเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานศึกษาคำขวัญ  บริการดี บริการเด่น เน้นบริการ</p><div style="text-align: center">                </div>

คำสำคัญ (Tags): #หลักธรรมาภิบาล
หมายเลขบันทึก: 125234เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2007 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
มาต้อนรับและเป็นกำลังใจครับ
ยินดีต้อนรับสู่ Gotoknow ครับ พรุ่งนี้พบกันในการเขียนเว็บบล็อก ขอให้ใช้เวทีนี้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่กศน.ยุคใหม่ที่ใช้การจัดการความรู้เป็นฐานในการพัฒนาคนและองค์การสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กศน.ครับ
ต้องยกนิ้วให้ท่านผอ.เขียนblogได้ละเอียดมาก

ดีใจด้วยนะครับ ที่สามารถสร้างบล็อกของตัวเองได้สำเร็จ........หมั่นขยันบันทึกนะครับ..... จะเป็นกำลังใจให้.....

แพลนเน็ตรวมรุ่นที่ 1 - 6 ครับ  เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้เลยนะครับ  http://gotoknow.org/planet/rattaketict16 

ขอบคุณค่ะที่ให้กำลังใจ และให้คำสัญญาว่าจะไม่ทิ้ง Blog ที่ได้รับการอบรมในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าบางครั้งจะหาเวลาได้ค่อนข้างยาก แต่ก็มีเวลาแน่นอน คือวันละ 24 ชั่วโมง (เหมือนๆกันทุกคน)
link ที่น่าสนใจและควรเข้าไปเยี่ยมชมค่ะ
http://ccs.nfe.go.th

สวัสดีครับ

   ผมอบรมรุ่น 5 กำลังทดลอง ยินดีที่ได้รู้จักกัน ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท