ป่าชายเลน


มัคคุเทศก์น้อยในป่าชายเลน

 

ป่าชายเลน-เพชรในตมแห่งชายทะเล
           แนวชายฝั่งทะเลของประเทศไทย 2815  กิโลเมตร  เป็นบริเวณที่ทรัพยากรธรรมชาติที่มีความหลากหลายด้านนิเวศวิทยา  และมีคุณค่ามหาศาล  จึงทำให้เป็นบริเวณที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้มีการนำทรัพยากรมาใช้อย่างฟุ่มเฟือยและขาดความระมัดระวัง  และไม่คำนึงถึงความสามารถในการรองรับธรรมชาติ  จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ทั้งในด้านปัญหาความเสื่อมโทรมของตัวทรัพยากรและปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ทรัพยากร
    สังคมไม้บางชนิดที่รวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มเหล่านั้น  เราเรียกว่าป่าชายเลน(Mangroves) ซึ่งเป็นป่าไม้ชนิดหนึ่งที่ถูกมองข้ามความสำคัญมานาน  จนในระยะไม่กี่ปีมานี้เองเริ่มมีการตื่นตัวและตระหนักในคุณค่ามหาศาลของมัน  เพราะป่าชายเลนให้คุณค่าแก่เรายิ่งกว่าขนนมห่อใบจาก  หลังคามุงจาก  หรือถ่านไม้ชั้นหนึ่งหรือถ่านไม้โกงกางมากนัก
 ป่าชายเลน  เป็นสังคมของพืชพรรณไม้ที่ทนความเค็ม  กับสังคมของสัตว์นานาชนิดในบริเวณชายทะเล  ปากอ่าว  และปากแม่น้ำ  ตลอดจนชายฝั่งทะเลในบริเวณพื้นที่แนวเส้นศูนย์สูตร  เช่น  ไทย  มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  อเมริกาใต้  แอฟริกา  ฯลฯ  ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นเขตที่มีน้ำทะเลท่วมถึง    จึงเกิดบริเวณน้ำกร่อยที่ซึ่งมีน้ำจืดและน้ำเค็มรุกล้ำเข้ามาผสม  ปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเลในแต่ละฤดู  ตลอดจนการขึ้นลงของน้ำทะเล  จะเป็นรอยต่อของน้ำจืดและน้ำทะเล  จึงทำให้ป่าชายเลนเป็นป่าไม้ที่มีความซับซ้อนและอุดมสมบูรณ์มาก  ในขณะที่มีชนิดและจำนวนพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์น้อยกว่าป่าแบบอื่น
     สังคมพืชบริเวณป่าชายเลน  จำเป็นต้องมีการปรับตัวให้อยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างไปจากสังคมพืชชนิดอื่น  พืชเหล่านี้จำเป็นต้องปรับตัวทั้งระบบราก  ลำต้น  ใบ  ดอกและผล  ให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ในลักษณะพิเศษ  ใบจะมีต่อมขับเกลือ  เพื่อควบคุมระดับความเข้มข้นของเกลือในพืช  เซลล์ผิวใบจะมีผนังหนาเป็นแผ่นมัน  ใบด้านล่างจะมีขนเป็นจำนวนมากทำให้ปากใบกลับชูสูงขึ้น  ขนจะช่วยอุ้มน้ำและเก็บความชื้นบริเวณนั้นไว้  ทำให้ลดการคายน้ำลง  ใบจะมีลักษณะอวบน้ำซึ่งช่วยเก็บรักษาปริมาณน้ำไว้  ส่วนรากจะมีระบบหายใจในลักษณะต่างๆกัน  บางชนิดเช่นโกงกาง  จะมีรากค้ำจุนเพื่อต้านลมพายุและคลื่น  บางชนิดจะมีรากพูพอนเพื่อช่วยค้ำยัน  นอกจากใบแสมและโกงกางที่ยังไม่เจริญเติบโตไม่ถึงพื้นดินจะเป็นแบบรากอากาศ  (aerial  roots) หน้าที่สำคัญของระบบรากแบบต่างๆดังกล่าวนี้  นอกจากจะช่วยค้ำจุนแล้วยังช่วยรับออกซิเจนจากบรรยากาศโดยตรง    เนื่องจากใต้ผิวดินลงไปมีอากาศไม่เพียงพอ 

      นอกจากนี้  รากหายใจของแสมยังสามารถสังเคราะห์แสงได้ด้วย  ผลจะมีเมล็ดงอกออกมาตั้งแต่ยังติดอยู่บนต้น  เช่น  โกงกาง  โดยจะมีลักษณะปลายแหลมยาวเหมือนฝัก  เมื่อแก่เต็มที่ก็จะหล่นปักเลนหรือลอยตามน้ำไป   มีต่อ

 

คำสำคัญ (Tags): #ป่าชายเลน
หมายเลขบันทึก: 124010เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2007 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท