การศึกษาสภาพการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ศบอ.ห้วยทับทัน


การศึกษาสภาพการจัดการศึกษา กศน.

 

               ผมได้ศึกษาวิจัยสภาพการดำเนินงานการจัดการศึกษานอกโรงเรียนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการจัดการศึกษานอกโรงเรียนของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอห้วยทับทัน  จังหวัดศรีสะเกษ ตามทฤษฎี ห่วงโซ่คุณค่า Value Chain Model ของ Michael E. Porter (1988 ในเรื่องของกิจกรรมหลัก ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้นำ ด้านผู้เรียนด้านกระบวนการในการจัดการเรียนการสอน ด้านบุคลากร ด้านความรู้ความสามารถและทักษะของบุคลากรทางการศึกษา และในเรื่องของกิจกรรมสนับสนุนใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ ด้านโครงสร้างของหน่วยงาน ด้านระบบงาน ด้านเทคโนโลยี และด้านงบประมาณ                    

                  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยบุคคล 4 กลุ่มคือกลุ่มบุคลากรทางการศึกษา ของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 8 คน กลุ่มผู้เรียนสายสามัญ จำนวน  667 คน กลุ่มผู้เรียนสายอาชีพ จำนวน 1,000  คน กลุ่มผู้เรียนตามอัธยาศัย จำนวน 640 คนรวม 2,307  คน                        

                    กลุ่มตัวอย่างคือ  กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา ของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 8  คน กลุ่มผู้เรียนสายสามัญ จำนวน 242  คน กลุ่มผู้เรียนสายอาชีพ จำนวน  278  คน และกลุ่มผู้เรียนตามอัธยาศัย จำนวน  242 คนรวมกลุ่มตัวอย่าง 770  คน                       

                  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง ประกอบด้วย ประเด็นกิจกรรมหลัก รวม 5 ด้าน คือ ด้านผู้นำ ด้านผู้เรียน ด้านกระบวนการในการจัดการเรียนการสอน ด้านบุคลากร ด้านความรู้ความสามารถและทักษะของบุคลากรทางการศึกษา และประเด็นกิจกรรมสนับสนุน ประกอบด้วย ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ ด้านโครงสร้างของหน่วยงาน ด้านกระบวนการ ด้านเทคโนโลยี และด้านงบประมาณ                     

                     การเก็บรวบรวมข้อมูล  ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2/2548 โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการวิจัย รวม 7 เดือน โดยเริ่มต้นตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.. 2548  ถึงเมษายน พ.. 2549                        

                        การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์  ใช้วิธีดำเนินการแบบอุปมาน (Inductive Method) และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของความเรียง                     

                          ผลการวิจัย พบว่า

                 1.   สภาพการดำเนินงานของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ตามความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษา ในกิจกรรมหลัก พบว่า

                       1.1    ด้านผู้นำ  ผู้นำมีคุณสมบัติในความเป็นผู้นำและเข้ากับชุมชนได้             

                      1.2    ด้านผู้เรียน  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า  ผู้เรียนมีทัศนคติต่อการเรียนในเชิงบวก

                      1.3   ด้านกระบวนการในการจัดการเรียนการสอน พบว่า ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ากระบวนการในการจัดการเรียนการสอนสามารถดำเนินไปได้ตามแผนการสอน และการจัดหาผู้สอนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับรายวิชาทำได้ค่อนข้างลำบาก

                     1.4    ด้านบุคลากร  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าผู้สอนมีความรับผิดชอบ มีทัศนคติที่ดีต่อการให้บริการ

                     1.5   ด้านความรู้ความสามารถและทักษะของบุคลากรทางการศึกษา ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ายังไม่มีแนวทางสร้างให้บุคลากรเกิดความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน 

                 2.   สภาพการดำเนินงานของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ตามความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษา ในกิจกรรมสนับสนุน พบว่า

                       2.1   ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ามีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจไว้ชัดเจน แต่ปฏิบัติได้ยากลำบาก และขอบเขตภารกิจของงานยังไม่ชัดเจน

                      2.2   ด้านโครงสร้างของหน่วยงาน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าโครงสร้างการปฏิบัติงานมีความชัดเจน  จำนวนบุคลากรทางการศึกษามีน้อยทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามโครงสร้างของหน่วยงาน 

                     2.3    ด้านระบบงาน ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ระบบงานดำเนินไปด้วยความยากลำบากเพราะบุคลากรทางการศึกษามีน้อย

                    2.4   ด้านเทคโนโลยี  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้พัฒนาผู้เรียนมีจำนวนไม่เพียงพอ งบการลงทุนเพื่อพัฒนางานมีน้อยมาก

                   2.5  ด้านงบประมาณ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่างบประมาณที่สนับสนุนการดำเนินงานมีไม่เพียงพอ                     

               3.   สภาพการดำเนินงานของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอห้วยทับทัน  จังหวัดศรีสะเกษ  ตามความคิดเห็นของผู้เรียนสายสามัญ ในกิจกรรมหลัก  พบว่า

                      3.1    ด้านผู้นำ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าผู้นำมีคุณสมบัติเข้ากับชุมชนได้

                      3.2    ด้านผู้เรียน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ผู้เรียนมีทัศนคติต่อการเรียนในเชิงบวก

                      3.3   ด้านกระบวนการในการจัดการเรียนการสอน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเป็นไปด้วยความราบรื่น

                      3.4    ด้านบุคลากร  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าผู้สอนมีความรับผิดชอบ มีทัศนคติที่ดีต่อการให้บริการ

                      3.5   ด้านความรู้ความสามารถและทักษะของบุคลากรทางการศึกษา  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าบุคลากรบุคลากรทางการศึกษามีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน 

                 4.   สภาพการดำเนินงานของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอห้วยทับทัน  จังหวัดศรีสะเกษ  ตามความคิดเห็นของผู้เรียนสายสามัญ ในกิจกรรมสนับสนุน พบว่า

                       4.1    ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าขอบเขตภารกิจของงานยังไม่ชัดเจน

                         4.2    ด้านโครงสร้างของหน่วยงาน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าโครงสร้างการปฏิบัติงานมีความชัดเจน

                          4.3   ด้านระบบงาน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าระบบงานดำเนินไปด้วยความยากลำบากเพราะบุคลากรทางการศึกษามีน้อย

                           4.4    ด้านเทคโนโลยี ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้พัฒนาผู้เรียนยังมีไม่เพียงพอ

                          4.5    ด้านงบประมาณ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่างบประมาณที่สนับสนุนการดำเนินงานมีไม่เพียงพอ                     

                  5.   สภาพการดำเนินงานของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอห้วยทับทัน  จังหวัดศรีสะเกษ  ตามความคิดเห็นของผู้เรียนสายอาชีพ ในกิจกรรมหลัก  พบว่า

                       5.1    ด้านผู้นำ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าผู้นำมีคุณสมบัติเข้ากับชุมชนได้

                       5.2    ด้านผู้เรียน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ผู้เรียนมีทัศนคติต่อการเรียนในเชิงบวก

                      5.3   ด้านกระบวนการในการจัดการเรียนการสอน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเป็นไปด้วยความราบรื่น

                       5.4    ด้านบุคลากร  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าผู้สอนมีความรับผิดชอบ มีทัศนคติที่ดีต่อการให้บริการ

                      5.5   ด้านความรู้ความสามารถและทักษะของบุคลากรทางการศึกษา ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าบุคลากรทางการศึกษามีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน 

                  6.   สภาพการดำเนินงานของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอห้วยทับทัน  จังหวัดศรีสะเกษ  ตามความคิดเห็นของผู้เรียนสายอาชีพ ในกิจกรรมสนับสนุน พบว่า

                         6.1   ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ามีการกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ชัดเจนแต่การปฏิบัติทำได้ยากลำบาก

                       6.2   ด้านโครงสร้างของหน่วยงาน  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าจำนวนบุคลากรมีน้อยทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามโครงสร้างของหน่วยงาน

                       6.3    ด้านระบบงาน  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นระบบงานดำเนินไปด้วยความยากลำบากเพราะบุคลากรทางการศึกษามีน้อย

                      6.4    ด้านเทคโนโลยี  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการให้บริการเกิดความรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์

                       6.5    ด้านงบประมาณ  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่างบประมาณที่สนับสนุนการดำเนินงานมีไม่เพียงพอ  

                7.   สภาพการดำเนินงานของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอห้วยทับทัน  จังหวัดศรีสะเกษ ตามความคิดเห็นของผู้เรียนตามอัธยาศัย ในกิจกรรมหลัก พบว่า

                         7.1    ด้านผู้นำ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าผู้นำมีขีดความสามารถสูงและเป็นคนดี

                       7.2    ด้านผู้เรียน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า  ผู้เรียนมีพัฒนาการในทางรับผิดชอบสูงขึ้น

                        7.3   ด้านกระบวนการในการจัดการเรียนการสอน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ากระบวนการในการจัดการเรียนการสอนสามารถดำเนินไปตามแผนการสอน

                         7.4    ด้านบุคลากร  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าผู้สอนมีความรับผิดชอบ มีทัศนคติที่ดีต่อการให้บริการ

                         7.5   ด้านความรู้ความสามารถและทักษะของบุคลากรทางการศึกษา ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าบุคลากรทางการศึกษามีความสามารถปฏิบัติงานตามสายงาน 

                   8.   สภาพการดำเนินงานของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอห้วยทับทัน  จังหวัดศรีสะเกษ ตามความคิดเห็นของผู้เรียนตามอัธยาศัย ในกิจกรรมสนับสนุน พบว่า

                        8.1   ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ามีการกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ชัดเจนแต่การปฏิบัติทำได้ยากลำบาก

                       8.2   ด้านโครงสร้างของหน่วยงาน  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าจำนวนบุคลากรบุคลากรทางการศึกษาทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามโครงสร้างของหน่วยงาน

                      8.3    ด้านระบบงาน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นระบบงานดำเนินไปด้วยความยากลำบากเพราะบุคลากรทางการศึกษามีน้อย

                     8.4    ด้านเทคโนโลยี ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้พัฒนาผู้เรียนมีจำนวนไม่เพียงพอ

                    8.5    ด้านงบประมาณ  ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่างบประมาณที่สนับสนุนการดำเนินงานมีไม่เพียงพอ

 

หมายเลขบันทึก: 121786เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2007 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ยอดเยี่ยมมาก สำหรับการเริ่มต้น พยายามต่อไปนะครับ ท่านผอ.   ดีใจครับ ที่ท่านมีความพยายามสร้างบล็อกของตัวเองได้สำเร็จ   จะเป็นกำลังใจให้ต่อไปครับ.............

สวัสดีครับ

      ผมอบรมรุ่น 5 ยินดีที่ได้รู้จัก ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท