เรื่องเล่า..คนคุณภาพ


แต่มันคือโอกาส คือประตูสู่การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดียิ่งๆขึ้น ผม

ในวันนี้ได้ ลปรร.กับคนทำงาน ห้องคลอด

 

 ในฐานะคนทำงานเพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพนั้น บางครั้งระหว่างการทำงาน ช่วงแรกๆที่เริ่มทำ ผมไม่กล้าที่จะพูดเรื่องคุณภาพ หรือ HA นัก เพราะว่าตนเองนั้นไม่ค่อยมีทักษะมากนัก เพราะเคยมีประสบการณ์ที่พูดเนื้อหาโดยตรง ปรากฏว่าทำๆไปแล้วคนไม่รู้เรื่องกัน แล้วอาจจะไม่อยากฟัง

 

   เมื่อเวลาผ่านไป ผมก็เริ่มเรียนรู้ที่จะสื่อสารกับคนทำงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยที่ไม่ให้เขารู้สึกว่าเรากำลังพูดเรื่อง HA วันนี้ก็เช่นกันได้แลกเปลี่ยนกับคุณพยาบาลที่ห้องคลอด

 

       เพราะว่าคนไข้น้อย ผมไปแต่เช้า ผมตั้งคำถามว่า...ในการทำงานและดูแลผู้ป่วยหลังคลอดมีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง

       ก็ได้รับการตอบกลับอย่างดี

           เจ้าหน้าที่ท่านนี้ได้เริ่มการสนทนาที่เกี่ยวกับงาน และการดูแลผู้ป่วยหลังคลอด และสิ่งที่ผมได้ยินได้ฟังและเข้าใจมีดังนี้คือ

 

                 เธอบอกว่าผู้ป่วยหลังคลอดส่วนมาก ไม่มีปัญหาอะไร เพราะว่าเป็นคลอดปกติ และมีแนวทางปฏิบัติที่ดี ชัดเจน

 

               แต่เธอเสริมว่าตอนนี้กำลังพัฒนาเรื่องการให้นมบุตร โดยทำหมอนเพื่อหญิงหลังคลอด เป็นหมอนที่ทำขึ้น    ถ้าให้อธิบายมันคล้ายๆกับหมอนรองคอตอนนั่งรถทัวร์    แต่อันนี้มันใหญ่กว่ามาก และใช้หนุนเวลาให้นมลูก

             เธอบอกว่ามันจะได้ไม่เมื่อยและไม่เจ็บ จริงๆแล้วเธอบอกว่าที่โรงพยาบาลอื่นๆเขาก็มีกันแล้ว แต่ที่นี่ไม่มี จึงคิดริเริ่มทำ

             เธอเสริมว่า การพัฒนางานของเธอนั้น เธอเพียงต้องการพัฒนาการดูและผู้ป่วยให้ดีขึ้น ให้ผู้ป่วยได้รับการบริการที่ดีและสะดวกสบายขึ้นขณะให้นมบุตร   เธอเสริมว่าไม่ได้คิดจะให้ผ่าน HA อะไรกับเขา

 

                    เมื่อผมได้ยินได้ฟังในสิ่งที่เธอเล่าและแสดงให้เห็นแล้ว ในฐานะพวกติดลมบนเรื่องพัฒนาคุณภาพเช่นผมแล้ว ผมรู้สึกปีติและดีใจอย่างมาก แม้ว่าคนที่พูดอาจจะไม่รู้สึกอะไร แม้ว่ามันจะดูเล็กน้อย

                  แต่มันคือโอกาส คือประตูสู่การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดียิ่งๆขึ้น ผมบอกกลับเธอไปว่า  เรื่องคุณภาพก็คือเรื่องที่เธอกำลังทำอยู่    คุณภาพพื้นฐานคือความปลอดภัย การหายป่วยของผู้รับบริการ  

 

                 แต่สิ่งที่เธอกำลังทำอยู่ มันมากกว่าคุณภาพพื้นฐาน คือสิ่งที่จะทำให้ผู้รับบริการ ยอมรับ ชื่นชมและพอใจมากยิ่งๆขึ้น

 

           สุดท้ายผมถามเธอว่า แล้วหมอนแบบนี้ไปเอามาจากไหนครับ... เธอบอกว่า เธอทำมันด้วยตัวของเธอเอง ...

 

       ขอบคุณมากครับ.... ขอบคุณแทนผู้ป่วย  และในฐานะคนพัฒนางานหนึ่งคน  ^_^ 

หมายเลขบันทึก: 120989เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2007 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตามมาชื่นชมครับคุณหมอ

คนทำงานมี 2 ประเภท

ประเภทแรก ต้องอาศัยทฤษฏีหรือการอบรม จึงจะรู้ว่าควรทำอย่างไร

ประเภทที่สอง อาศัยใจของตน ในการคิดเป็นผู้ให้อยู่เสมอ จึงเข้าใจในงานของตนและพัฒนางานของตนได้ดี โดยไม่ต้องอาศัยทฟษฏีใดใดหรือเข้ารับการอบรมใดใดเลย  และคนประเภทนี้กลายเป็นตัวตั้งที่นักวิชาการเอามาทำให้เกิดทฤษฏีครับ

ผมอ่านแล้วเกิดปีติสุขไปด้วย และดีใจที่สำนักงานคุณหมอมีคนประเภทที่สองครับ :)

        ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆแบบนี้ค่ะ

        อ่านแล้วใจเป็นสุขจังเลย

สวัสดีครับอาจารย์

  สวัสดีตอนสายๆครับ

  ขอบคุณมากครับที่เข้ามาสรุปประเด็นและให้ความรู้เพิ่มเติมครับ

  คนแบบนี้อาจจะมีมากครับ  แต่ว่าขาดพี่เลี้ยง  ขาดคนหนุน  หรือขาดบรรยากาศที่อำนวยครับ

  ได้รับกำลังใจจากท่านอาจารย์ผมจะพยามเรียนรู้และฝึกฝนตนเองต่อไปครับ

P
สวัสดีค่ะคุณหมอ
รู้สึกดีใจไปด้วยค่ะ ที่มีบุคคลากร ที่สามารถคิดพัฒนาอะไรได้เอง โดยไม่ต้องได้รับการสั่ง เพียงแต่ เราเข้าไปเปิดโอกาสให้เขา คอยเป็นพี่เลี้ยงให้ ก็จะเกิดการพัฒนาค่ะ
ดิฉันเคยมีช่างหลายประเภท หลายคน
แต่ไม่ได้มีความรู้ทางทฤษฏีมากนัก
เขามาเสนอว่า ที่เรามีปัญหาในเรื่อง ....นี่อยู่น่ะ เขาไปคิดหาวิธีออกมา จะมาปรึกษาว่า จะให้เขาทดลองทำดูไหม
ดิฉันดีใจ ดีใจที่เขามีใจช่วยเรา และใช้ความชำนาญไปคิดสร้างสรรค์งานมา ให้เกิดการพัฒนา
เลยยุให้คิดและทำเครื่องมือแบบใหม่มาลองดู ค่าใช้จ่ายไม่มาก
ปรากฏว่า ใช้ได้ดี ต่อมา มีการพัฒนาต่อยอดไปอีกค่ะ  ก็ใช้ต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆ
เรื่องทางด้านช่าง นี่ จะ ค่อนข้างชัดเจนเหมือนกัน
มันอยู่ที่คนมีหัว ประดิษฐ์ invent อะไรใหม่ๆ
 แต่ถ้าจะให้ดีมากๆๆขึ้นอีก ต้องมีวิศวกรมาคำนวณให้ด้วย เพราะช่างชำนาญงาน จะมีข้อด้อย ตรงคำนวณไม่เป็น  แต่คิดเป็นค่ะ
ช่างเก่งๆ ค่าตัวแพงค่ะ เพราะส่วนใหญ่copyฝีมือกันไม่ได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท